พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง, การแก้คำฟ้อง, และอำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์
ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำเบิกความของพยานโจทก์แตกต่างกันเป็นพิรุธไม่น่าเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นคดีอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องร้อง โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย แม้ในคำฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของ ศ.ไม่ได้กล่าวถึงจำเลยลักทรัพย์ของว. ซึ่งเป็นผู้เสียหายแต่เมื่อโจทก์ขอแก้คำฟ้องและศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วว่า สิ่งของที่ลักเป็นของ ว.ซึ่งอยู่ในความครอบครองของศ.ตรงกับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำฟ้องในคดีลักทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหา
ในเรื่องลักทรัพย์ โจทก์สืบพยานไปได้ 2 ปากได้ร้องขอแก้โคเป็นกระบือ. เมื่อไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้แล้ว. โจทก์ขอแก้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำฟ้องระบุนามสกุลเจ้าทรัพย์: ศาลอนุญาตแก้ได้หากไม่ทำให้จำเลยหลงตัว
ฟ้องระบุนามสกุลเจ้าทรัพย์+ "สารภู" เมื่อสืบพะยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว โจทก์ขอแก้นามสกุลเป็น "สารรูป" ดังนี้ไม่ทำให้จำเลยหลงตัวเจ้าทรัพย์-แต่อย่างไร โจทก์อำนาจแก้ได้