พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การหลังรับสารภาพ: ศาลมีดุลยพินิจพิจารณาเหตุผลความสมควรและเจตนาประวิงคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง กฎหมายให้โอกาสแก่จำเลยที่จะขอแก้คำให้การได้ก่อนศาลพิพากษาในเมื่อมีเหตุอันสมควร แม้กระนั้นกฎหมายก็ยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพขณะมีทนายความคอยให้คำปรึกษาแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันแถลงถึงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่จะปฏิบัติต่อกันให้ศาลทราบ ตลอดจนขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว หากจำเลยทั้งสองผิดนัดหรือชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว คู่ความจะขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเพื่อมีคำพิพากษาหรือถอนฟ้องนั้น เป็นการรับสารภาพด้วยความสมัครใจของจำเลยทั้งสองมิได้เกิดขึ้นโดยความสำคัญผิดแต่อย่างใด และการที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้คำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีก โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งค้นพบพยานหลักฐานซึ่งจะนำมาอ้างปฏิเสธความรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้นั้น เห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและอำนาจดุลพินิจศาล
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้ เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตแก้คำให้การเพื่อประวิงคดี ศาลใช้ดุลพินิจได้ตามกฎหมาย
คดีอาญานั้นแม้จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การซึ่งถือเป็น สิทธิของจำเลยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพ ตามฟ้องโจทก์ทุกประการแล้ว แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตน กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้องนั้น ส่วนการขอแก้คำให้การของจำเลยนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองจำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรมิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีเท่านั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและเจตนาประวิงคดี
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถ ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควรครบถ้วนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควร หากมิได้อ้างเหตุ ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลยจำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการแก้คำให้การจากรับสารภาพเป็นปฏิเสธ หากมีเหตุผลสมควรและยังไม่ได้ปรึกษาทนายความ
ในตอนแรกที่ศาลชั้นต้นประทับฟ้อง จำเลยทั้งสองแถลงขอสู้คดีขอให้การในวันพิจารณาและจะหาทนายความเอง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้จดคำให้การไว้ว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ว่าได้กระทำผิดตามฟ้องทุกประการ ต่อมาทนายความจำเลยทั้งสองได้มาถึงศาลและยื่นใบแต่งทนายความพร้อมกับแถลงว่าที่มาศาลช้าเพราะไม่สบาย ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเองแต่ต้องเลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ก่อนถึงวันนัด 1 วันจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิม และขอให้การใหม่ว่ามิได้กระทำความผิด คำร้องของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการขอแก้คำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพ เป็นให้การปฏิเสธ และเหตุผลที่จำเลยทั้งสองอ้างก็เป็นเหตุผลที่อาจเป็นไปได้ และน่าเชื่อว่าขณะที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพนั้นยังมิได้ปรึกษากับทนายความประกอบกับในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่จะให้การต่อสู้ว่าอย่างไรหรือไม่ให้การเลยก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้จำเลยทั้งสามแก้คำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การจากรับสารภาพเป็นปฏิเสธ: เหตุผลความเข้าใจผิดและการปรึกษาทนายความ
ในตอนแรกที่ศาลชั้นต้นประทับฟ้อง จำเลยทั้งสองแถลงขอสู้คดี ขอให้การในวันพิจารณาและจะหาทนายความเอง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองมิได้ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้จดคำให้การไว้ว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ว่าได้กระทำผิดตามฟ้องทุกประการ ต่อมาทนายความจำเลยทั้งสองได้มาถึงศาลและยื่นใบแต่งทนายความพร้อมกับแถลงว่าที่มาศาลช้าเพราะไม่สบาย ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเองแต่ต้องเลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ก่อนถึงวันนัด 1 วันจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิม และขอให้การใหม่ว่ามิได้กระทำความผิด คำร้องของจำเลยทั้งสองเช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการขอแก้คำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพ เป็นให้การปฏิเสธ และเหตุผลที่จำเลยทั้งสองอ้างก็เป็นเหตุผลที่อาจเป็นไปได้ และน่าเชื่อว่าขณะที่จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพนั้นยังมิได้ปรึกษากับทนายความ ประกอบกับในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่จะให้การต่อสู้ว่าอย่างไรหรือไม่ให้การเลยก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคหนึ่ง เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้จำเลยทั้งสามแก้คำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การหลังรับสารภาพ: เหตุผลอันควร & การพิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม และเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายฉบับ ข้อเท็จจริงแต่ละกรรมพัวพันกัน แม้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโจทก์ก็ยังอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยไม่ครบถ้วนทุกกระทงความผิด ลักษณะของความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นดังนี้ การที่จำเลยขอแก้คำให้การสารภาพเป็นปฏิเสธ โดยอ้างว่าให้การรับสารภาพไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ถือได้ว่ามีเหตุอันควร เมื่อจำเลยขอแก้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้แก้คำให้การจากรับสารภาพเป็นปฏิเสธ หากมีเหตุอันควรและก่อนมีคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม และเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายฉบับ ข้อเท็จจริงแต่ละกรรมพัวพันกันแม้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโจทก์ก็ยังอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยไม่ครบถ้วนทุกกระทงความผิดลักษณะของความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นดังนี้ การที่จำเลยขอแก้คำให้การสารภาพเป็นปฏิเสธ โดยอ้างว่าให้การรับสารภาพไปโดยเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง ถือได้ว่ามีเหตุอันควร เมื่อจำเลยขอแก้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาจึงสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การได้