คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขข้อผิดพลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคา/ค่าขาดประโยชน์เป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด
ตามสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379แต่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์เรียกร้องว่าเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์พึงได้รับตามข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดลงโดยวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเป็นเงิน 60,000 บาทแต่ในคำพิพากษาตอนต่อมาเมื่อนำไปรวมกับค่าขาดราคากลับระบุค่าขาดประโยชน์คือ45,000 บาท เห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินที่ระบุในตอนหลังนี้พิมพ์ผิดพลาดไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 143 เมื่อข้อผิดพลาดเล็กน้อยดังกล่าวปรากฏแก่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขโดยถูกต้องได้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และเพิ่งหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิพากษา
จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000 บาท แต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 288,000 บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จนายหน้า การขาดนัดยื่นคำให้การ และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิพากษา
จำเลยที่3ขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยที่3จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่1และที่2ชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่3 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000บาทแต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน288,000บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดศาลอุทธรณ์พิพากษายืนศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีและการเรียกร้องหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังปิดบัญชี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์พลั้งเผลอนำเช็คไปหักทอนบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น เมื่อโจทก์ทราบข้อผิดพลาด แม้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยขอปิดบัญชีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิแก้ไขให้ถูกต้อง โดยนำเช็คฉบับนั้นไปหักทอนจากบัญชีของจำเลยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย เมื่อโจทก์ปรับปรุงบัญชีใหม่แล้ว จำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้หนี้ดังกล่าวแม้โจทก์จะยอมให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดในอุทธรณ์ ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ต้องทำภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์โจทก์ และสั่งให้แก้ไขข้อผิดพลาดภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 232 ผู้อุทธรณ์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 10 วัน ตามมาตรา 234.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อผิดพลาดในคำพิพากษา: ยื่นคำร้องในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยในพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 นั้น เมื่อพิจารณาตามเนื้อหาหรือความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก และวรรคสามแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่กรณีที่จะต้องทำเป็นคำร้องขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 171

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลมีอำนาจเฉพาะแก้ไขข้อผิดพลาดในคำพิพากษาเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ให้อำนาจศาลเพิ่มเติมแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น มิได้ให้อำนาจศาลกระทำเช่นนั้นในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว
คำขอของคู่ความในชั้นฎีกาในเรื่องที่มิได้กล่าวอ้างมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยบังคับให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำพิพากษาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน ศาลล่างมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อให้การบังคับคดีถูกต้อง
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด การที่ศาลล่างทั้งสองแปลตีความคำพิพากษาว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา นั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน: การตีความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายและแก้ไขข้อผิดพลาดในการจดทะเบียน
ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยมีเนื้อที่ทั้งแปลง 25 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วน เนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ในราคา 5,093,600 บาท และจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว เมื่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี ว่าจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด ซึ่งการแปลและตีความคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่มีใจความว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้นถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนและเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนทั้งการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้น และไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลล่างทั้งสองก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดและผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืน และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการบรรยายฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย แม้โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225