คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความ, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และการดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายจำกัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อหา/จำนวนทุนทรัพย์/จำเลยเดิม ไม่สามารถเพิ่ม/เปลี่ยนตัวจำเลยได้
การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 โดยจะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลยโดยการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (2) คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการแก้ไขโดยเปลี่ยนตัวจำเลยซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-อายุความ: การซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การแก้ไขคำฟ้อง และการเริ่มนับอายุความ
แม้คำฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจำพวกฟิล์มจากโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องแล้วว่า เป็นสินค้าจำพวกแผ่นรองพิมพ์เพื่อให้ตรงกับที่ระบุในสัญญาซื้อขาย แม้จะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่ระบุในสัญญาซื้อขายท้ายคำฟ้อง จึงหาทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดไม่คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายและแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ สินค้าที่ซื้อขาย ใบแจ้งหนี้ทางการค้าและการส่งสินค้าให้แก่จำเลย จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การซื้อขายสินค้าดังกล่าวตกลงชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันที่ลงในใบตราส่ง คือนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 จำเลยจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 หากจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากจำเลยได้นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 จึงยังอยู่ในระยะเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775-6776/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต่างกรรมต่างวาระในคดีแรงงาน ต้องไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าถูกจำเลยเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือโจทก์ทั้งสองถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือเหตุที่เลิกจ้างนั้นไม่มีอยู่จริง ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดและคืนเงินประกัน ซึ่งค่าเสียหายจากการละเมิดนั้นเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ทั้งสองขอเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยจงใจกลั่นแกล้งร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกแก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย สภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่ามีสิทธิเหนือจำเลยคือจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงว่าโจทก์ทั้งสองยักยอกทรัพย์ ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจากการร้องทุกข์นั้นทำให้โจทก์ทั้งสองถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่สามารถประกอบอาชีพในระหว่างถูกจับกุม แม้ว่าตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจะเป็นเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดเช่นกัน แต่เป็นการกระทำละเมิดเนื่องจากการร้องทุกข์และฟ้องคดีอาญา ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องเดิม คำฟ้องภายหลังตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องจึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลาย: ศาลต้องอนุญาตหากเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยในการระบุวันถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 แทนที่จะเป็นวันที่ 27 กันยายน 2546 โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการตายของ ศ. ที่ระบุว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 มาท้ายคำฟ้องด้วย เห็นได้ว่า การพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ถือได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย โจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี เนื่องจากเป็นการแก้ไขคำฟ้องก่อนมีคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์ก่อนอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ลดจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้น ยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ ดังนี้ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จะฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบมาตรา 246 และ 247 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: การแก้ไขข้อบกพร่องในหนังสือมอบอำนาจก่อนจำเลยให้การ และผลของการแก้ไข
แม้สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่แนบมาพร้อมคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องจำเลยเรื่องตั๋วเงิน ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงการชำระหนี้ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นการระบุข้อหาผิดพลาดซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อยไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป ทั้งโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การว่า สำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าวนั้นพิมพ์ผิดพลาด และขอส่งฉบับที่ถูกต้องแทนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาต จึงถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วและมีผลเสมือนสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่นี้เป็นเอกสารที่โจทก์ได้แนบมาพร้อมคำฟ้องตั้งแต่ต้น จึงถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ พ. ฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเรื่องเดียวกันซ้ำในศาลต่างกัน เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์คดีนี้ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นเพียงซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีซ้ำเรื่องเดียวกัน แม้มีการแก้ไขคำฟ้องคดีก่อน ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ในกรณีที่โจทก์คดีนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย โดยชำระเงินจองและผ่อนชำระราคาไปแล้ว ขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ได้ชำระไปตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารรายเดียวกันอีก จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาโจทก์ในคดีก่อนจะขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอตัดรายชื่อโจทก์คดีนี้จากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8431/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีอาญา และผลต่อการต่อสู้คดีของจำเลย หากข้อแตกต่างไม่ใช่สาระสำคัญ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม มีสาระสำคัญว่า ถ้าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้อง เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าแตกต่างกับข้อสาระสำคัญ ดังนั้น แม้ว่าทางพิจารณาจะปรากฏว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แตกต่างจากฟ้องที่ว่าเหตุเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ก็ถือว่าข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่ข้อที่เป็นสาระสำคัญ อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าเหตุเกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 แล้ว จำเลยซึ่งได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องแล้วก็ยังคงให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้แต่ประการใด
of 19