คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การพิสูจน์ความผิด และการแก้ไขคำสั่งศาลที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ จึงไม่อาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม ป.อ. มาตรา 49 มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิดภายใน 2 ปี นับแต่วันพ้นโทษตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983-3985/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจแก้ไขวิธีการชั่วคราวได้เสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงและเป็นประโยชน์แก่คู่ความที่อาจชนะคดี
การกำหนดเงื่อนไขในวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่มีกฎหมายจำกัดให้ศาลกำหนดเงื่อนไขได้เฉพาะตามที่คู่ความร้องขอ เมื่อศาลเห็นว่าวิธีการชั่วคราวเดิมก่อให้เกิดปัญหาแก่คู่ความในการปฏิบัติตามคำสั่งของศาล รวมทั้งมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจนทำให้เป็นปัญหาในการพิจารณาเนื้อหาแห่งคดี ศาลชอบที่จะแก้ไขโดยกำหนดวิธีการชั่วคราวใหม่ได้ตามเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายที่จะชนะคดีต่อไป โดยไม่จำต้องรอให้คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาอีกหรือต้องทำการไต่สวนใหม่ ส่วนที่ศาลอายัดข้อสันนิษฐานของกฎหมายมากำหนดให้แต่ละฝ่ายต่างเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ตนมีชื่อเป็นผู้ครอบครองในหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่แก้ไขใหม่นั้นก็เป็นเพียงการยกเหตุผลประกอบดุลพินิจเพื่อให้เห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะกำหนดเงื่อนไขให้เป็นไปเช่นนั้น มิได้เป็นการชี้ขาดตัดสินคดี จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และที่ศาลกำหนดเงื่อนไขในวิธีการชั่วคราวที่แก้ไขใหม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเข้าทำประโยชน์ในสวนยางพาราพิพาทแทนฝ่ายที่ผิดเงื่อนไขการวางเงินหรือขัดขวางการทำประโยชน์โดยไม่ต้องนำรายได้ส่วนที่เข้าทำประโยชน์แทนการมาวางศาล ก็เป็นไปเพื่อให้ข้อกำหนดที่ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายนำเงินมาวางศาลสัมฤทธิ์ผลอันเป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี จึงเป็นการชอบที่จะกำหนดเงื่อนไขนี้ไว้ได้ คำสั่งของศาลที่กำหนดวิธีการชั่วคราวขึ้นใหม่นี้จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสามและมาตรา 262 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ: การพิจารณาข้อจำกัดสิทธิและการแก้ไขคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 (1) ประกอบมาตรา 90/12 (4) เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/79 แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26
ผู้ร้องอ้างว่า ลูกหนี้ผิดสัญญา จึงฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา 90/12 (4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นในการฟื้นฟูกิจการ คดีนี้เมื่อมูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและลูกหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13 (1) ศาลฎีกาเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิม
ขณะเกิดเหตุจำเลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏแก่ศาลฎีกาว่า จำเลยอายุเกิน 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาของศาลล่างได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้ ตามมาตรา 74 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวเมื่อจำเลยเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝาก ศาลชอบที่จะแก้ไขเพื่อให้คำสั่งสัมฤทธิ์ผล
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากประจำหลายบัญชี แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากไปยังธนาคาร จำเลยถอนเงินจากบัญชีและปิดบัญชีดังกล่าวทั้งหมดแล้วนำเงินฝากไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำใหม่ที่ธนาคารอื่นนั้นเมื่อการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของธนาคารซึ่งปิดบัญชีแล้วเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ทำให้ศาลชั้นต้นสั่งไปโดยหลงผิด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริงเพื่อให้คำสั่งนั้นสัมฤทธิผลในทางปฏิบัติได้โดยโจทก์ทั้งสามหาจำต้องยื่นคำร้องขอให้คุ้มครองชั่วคราวอีกครั้งหนึ่งไม่ทั้งศาลชั้นต้นก็ไม่จำต้องไต่สวนแต่ประการใดอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลาย: การสะดุดหยุดของอายุความจากการทวงหนี้และการแก้ไขคำสั่งศาล
ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง เจ้าหนี้และลูกหนี้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่และมีคำสั่งให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้าน คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้องและมีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามคือต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน ซึ่งผู้คัดค้านได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบแล้ว ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสาม เป็นคดีนี้ มาตราดังกล่าวบัญญัติให้ศาลพิจารณาจนเป็นที่พอใจว่าผู้ร้องเป็นหนี้หรือไม่ การที่ศาลจะพิจารณาจนเป็นที่พอใจได้นั้น ผู้ร้องสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าไม่ได้เป็นหนี้ได้ ทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใด
ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งมีอายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538และผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจกระทำได้ โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/14(5) แล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองเสียก่อน จึงจะถือว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินฉบับลงวันที่ 26 มีนาคม 2533 และผู้ร้องได้รับแล้ว ยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ความเห็นของผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งนี้ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้รายที่ 33 และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองอายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้บังคับไม่ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลผู้ร้องสอด: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนของราคาที่ดินพิพาท
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเชิดหรือรู้อยู่แล้วให้พระอธิการ ช.บุตรจำเลย ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้ เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยและรับเงินมัดจำส่วนของจำเลยจำนวน 220,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยรับเงินส่วนที่เหลือ 5,893,250 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน30,000,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยเชิดหรือรู้แล้วยอมให้ผู้ร้องสอดเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือรับเงินมัดจำจากโจทก์ จำเลยไม่ได้ขายที่ดินของจำเลยให้แก่บุคคลใดเลย ดังนั้นที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 อ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพียงคนเดียว ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินมัดจำกับโจทก์ในนามของตนเองไม่เกี่ยวกับจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการขัดกับข้ออ้างของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อโจทก์และต่อจำเลย มิใช่เป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ฝ่ายเดียวดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้อง สำหรับทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้องนั้น โดยในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม 6,113,250 บาท และในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วยผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท แต่ปรากฏว่าผู้ร้องสอดได้ชำระค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์จำนวนเพียง 220,000 บาท ยังชำระค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องเป็นจำนวนถึง 35,893,250 บาทและสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดและให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องจำนวน 35,893,250 บาท โดยให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจำนวนเงินไม่ตรงกัน ศาลใช้จำนวนเงินตามตัวอักษร และแก้ไขคำสั่งค่าทนายความ
จำเลยเป็นผู้เขียนจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่เขียนจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน เมื่อศาลไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงต้องถือเอาจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342-2343/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ในคดีประนีประนอมยอมความ: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นเรื่องตีความข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในตาราง 1(2) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคือ 200 บาท
of 3