พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง และการแก้ไขจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ได้รับอันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย มีประเด็นตรงกับประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คหลังสลักหลัง ผู้สลักหลังรับผิดชอบเฉพาะจำนวนเงินเดิมที่สลักหลังเท่านั้น
เช็คพิพาทได้ถูกแก้ไขตัวเลขและตัวหนังสือที่เขียนไว้ในช่องระบุจำนวนเงินให้มีจำนวนเงินสูงขึ้นหลังจากที่จำเลยได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คแล้ว โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ไม่ประจักษ์ จำเลยในฐานะผู้สลักหลังย่อมมีความรับผิดเพียงจำนวนเงินเดิมในขณะที่จำเลยสลักหลังเช็คเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คหลังสลักหลัง แม้ไม่มีประจักษ์ ผู้สลักหลังรับผิดชอบเฉพาะจำนวนเงินเดิม
เช็คพิพาทได้ถูกแก้ไขตัวเลขและตัวหนังสือที่เขียนไว้ในช่องระบุจำนวนเงินให้มีจำนวนเงินสูงขึ้นหลังจากที่จำเลยได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คแล้ว โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วย แต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ไม่ประจักษ์ จำเลยในฐานะผู้สลักหลังย่อมมีความรับผิดเพียงจำนวนเงินเดิมในขณะที่จำเลยสลักหลังเช็คเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทแก้ไขจำนวนเงิน ผู้ทรงโดยชอบมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะจำนวนเดิม การรับเงินเกินถือเป็นรับโดยปราศจากมูล
เช็คพิพาทถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญเกี่ยวกับจำนวนเงินให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ประจักษ์ และผู้สั่งจ่ายไม่รู้เห็นยินยอมด้วยจำเลยที่ 1 ผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินจากผู้สั่งจ่ายได้เพียงจำนวนเงินเดิมอันเป็นคำสั่งของผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987,1007 วรรคสองส่วนเงินจำนวนที่เกินไปจากนั้นเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
ขณะที่จำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารโจทก์ การแก้ไขจำนวนเงินไม่ประจักษ์ และธนาคารโจทก์เชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีตามจำนวนที่มีการแก้ไข ธนาคารโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 รับไปตามอำเภอใจ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ
ขณะที่จำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารโจทก์ การแก้ไขจำนวนเงินไม่ประจักษ์ และธนาคารโจทก์เชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีตามจำนวนที่มีการแก้ไข ธนาคารโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 รับไปตามอำเภอใจ จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขจำนวนเงิน – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว. ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์กรณี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นสิทธิ) ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นข้อสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว. เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขจำนวนเงินที่ฟ้องร้อง แม้คู่ความสละประเด็นอื่น
แม้โจทก์จำเลยจะตั้งประเด็นให้ศาลวินิจฉัยโดยเฉพาะ และต่างแถลงว่าประเด็นอื่นหากมีขอสละก็ตาม ศาลย่อมมีอำนาจที่จะยกค่าภาคหลวงที่โจทก์คิดเกินขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับมูลหนี้และอำนาจฟ้องในส่วนที่เรียกร้องเกินมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีการแก้ไขจำนวนเงิน ศาลพิจารณาจากจำนวนเงินที่ตกลงกันแต่แรก
โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ยืมที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ระบุว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิดแม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นเป็น 120,000 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน แต่ก็ไม่ทำให้หลักฐานกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์ต้องเสียไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เท่าที่กู้ไปจริง