พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร - ลักทรัพย์ - ตัวการร่วม - อำนาจศาล - แก้ไขบท - จำเลยไม่ฎีกา
ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 พาเอาไปเสียซึ่งรองเท้าของกลางที่จำเลยที่ 1 ลักเอามาซุกซ่อนไว้ข้างโกดังเก็บสินค้าในโรงงานของผู้เสียหายแล้วนำไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เพื่อแบ่งปันกันในภายหลัง ทั้งนี้โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 โดยไม่ปรับบทมาตรา 83 มานั้น ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 3 เสียใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขปรับบทตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์รองเท้าของกลางด้วย ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างในเวลากลางคืนตามลำพัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) และ มาตรา 83 อีก ปัญหาข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังเป็นที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์รองเท้าของกลางด้วย ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างในเวลากลางคืนตามลำพัง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) และ มาตรา 83 อีก ปัญหาข้อนี้แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 พ้นจากความผิดตามบทมาตราดังกล่าวได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนของเยาวชน: การพิจารณาโทษและการแก้ไขบทมาตราโดยศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย (ขณะกระทำความผิดอายุ 17 ปีเศษ)มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 83, 288, 289 (4) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตามป.อ. มาตรา 91 รวมลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำ 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนรวมกับการลงโทษจำคุกทางอาญาต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมีความผิดในฐานพาอาวุธปืน ฯ ตาม ป.อ.มาตรา 371 อีกบทหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทและโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นบทหนักกว่าเดิมได้หรือไม่ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา290วรรคแรกจำคุก4ปีศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288อีกบทหนึ่งให้ลงโทษตามมาตรา288ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก20ปีโดยแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมากจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,83ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่2กับพวกทำร้ายผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าจึงลงโทษตามมาตรา290วรรคแรกหากศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังว่าจำเลยที่2ทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่าก็ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา288,83ตามฟ้องเพียงบทเดียวจะพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288,83อีกบทหนึ่งและลงโทษตามบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้