คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขฟ้องแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้ง, สิทธิครอบครอง, ประทานบัตรทำเหมืองแร่, ความเสียหายจากการกระบวนการชั่วคราว, การแก้ไขฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองที่พิพาทของโจทก์และขอให้เพิกถอนประทานบัตรการทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยที่ 2 จำเลยฟ้องแย้งโดย ฟ้องแย้งเดิมก่อนที่จำเลยจะขอแก้ไขจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ขาดกำไรสุทธิจากการทำเหมืองแร่ในที่พิพาทวันละ 15,000 บาท โดยอ้างว่าโจทก์แกล้งร้องคัดค้านการออกประทานบัตรของจำเลยที่ 2แกล้งฟ้องคดีนี้ และแกล้งนำเอาสำเนาคำฟ้องไปยื่นร้องคัดค้านการออกประทานบัตรดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณีอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 แต่ปัญหาว่าที่พิพาทโจทก์ที่ 1 หรือจำเลยที่ 2มีสิทธิครอบครองโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ในขณะฟ้องแย้งทั้งสิทธิทำเหมืองแร่ในที่พิพาทของจำเลยที่ 2 ก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของทางราชการจำเลยยังไม่มีสิทธิโดย สมบูรณ์ที่จะเข้าทำเหมืองแร่ในที่พิพาทการที่โจทก์กระทำการดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งยังไม่มีอยู่ในขณะฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นฟ้องที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่แก้ไขขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทตามที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง ให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงานและทำให้ที่ดินมีสภาพเหมือนเดิม และให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะได้เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ในที่พิพาท ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2521จำเลยขอแก้ไขฟ้องแย้งและได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อวันที่ 13ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นภายหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในที่พิพาทในขณะที่ขอแก้ไขฟ้องแย้ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของโจทก์ในที่พิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยแล้ว ทั้งการที่จำเลยแก้ไขฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท ห้ามโจทก์และบริวารเกี่ยวข้องและให้โจทก์รื้อถอนเรือนแถวที่พักของคนงานนั้น ถือได้ว่าเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนดังกล่าวแต่ที่จำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยวันละ 15,000บาทนั้น จำเลยอ้างในฟ้องแย้งที่แก้ไขว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประทานบัตรเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2521 จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิและอำนาจที่จะทำเหมืองแร่ในที่พิพาทได้แต่โจทก์ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำการใด ๆ ในที่พิพาทตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2521 จำเลยที่ 2 จึงไม่สามารถทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรได้ ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหายซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งและออกหมายห้ามตามคำขอในเหตุฉุกเฉินในวันเดียวกันนั้น แต่มูลหนี้ตามฟ้องแย้งเกี่ยวกับค่าเสียหายของจำเลยนี้เกิดจากกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่เรียกว่าวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายคือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งต่างหากจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ชอบที่จะฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหากตามมาตรา 177 วรรคสาม