พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4007/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ฝากรับเงินธนาณัติ - แก้ไขระเบียบไปรษณีย์ - การแจ้งผู้ฝาก - การโอนเงินเป็นสิทธิของจำเลย
ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 ข้อ 238 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางส่งธนาณัติคืนให้แก่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางเพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ฝากส่งเมื่อผู้รับไม่ไปติดต่อขอรับเงินธนาณัติภายในกำหนดตามข้อ 235.1 และเมื่อที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางได้รับธนาณัติคืนแล้ว ตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยระเบียบการสื่อสารแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 61 ว่าด้วย บริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ พ.ศ.2526 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9 พ.ศ.2535) ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2535 ข้อ 3 กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางตรวจสอบแบบ ธน.31 ท่อนที่ 1 ซึ่งได้รับคืนกับแบบ ธน.1 ของธนาณัตินั้นและแยกเก็บไว้เพื่อรอการติดต่อขอรับเงินคืนจากผู้ฝากเท่านั้น ทั้งไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ก็มิได้กำหนดให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางจะต้องแจ้งให้ผู้ฝากทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ฝากที่จะต้องไปติดต่อขอรับเงินคืนภายในกำหนดเวลาตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 235 เมื่อโจทก์ไม่ได้ไปติดต่อขอรับเงินคืนในกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงดำเนินการประกาศโฆษณากำหนดระยะเวลาให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนและโอนเงินธนาณัติที่โจทก์ฝากส่งเป็นของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ไม่ไปติดต่อขอรับเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ฉบับที่ 61 ข้อ 236 และไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2539 ข้อ 204 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขระเบียบเงินบำนาญกระทบสิทธิลูกจ้างเดิม นายจ้างต้องไม่ตัดสิทธิเดิม
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 บัญญัติห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ดังนั้น จำเลยจะแก้ไขระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินบำนาญ ให้แก่ลูกจ้างให้กระทบกระเทือนเป็นที่เสียหายแก่สิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ได้
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขระเบียบการจ่ายบำนาญที่กระทบสิทธิลูกจ้างเดิม นายจ้างต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 บัญญัติห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ดังนั้น จำเลยจะแก้ไขระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินบำนาญให้แก่ลูกจ้างให้กระทบกระเทือนเป็นที่เสียหายแก่สิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ได้
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ