พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8839/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงอายุความถือเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์แก้ไขเดือนในใบส่งของเพื่อไม่ให้คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้วนำมาฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายและใช้อ้างเป็นพยานในคดี เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระราคาค่าสินค้าตามใบส่งของดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การบังคับชำระหนี้เมื่อโอนทรัพย์สินแล้ว และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 7 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จึงไม่เกิดขึ้น
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
จำเลยที่ 2 อ้างว่าที่ดินพิพาทราคาเพียงไร่ละ 200,000 บาทเท่านั้น ราคาที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไร่ละ 900,000 บาท ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระราคาที่ดินที่เหลือเป็นจำนวนเงินถึง 13,492,500 บาท แต่สัญญาจะซื้อจะขายระบุจำนวนเงินส่วนที่เหลือและกำหนดเวลาชำระกันไว้ชัดเจนแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการอ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคแรก (ข) จึงรับฟังไม่ได้
โจทก์ทั้งสองฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท ให้ที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมอากรแทนโจทก์ทั้งสอง หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่ยอมไปจดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสองให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 9,191,764 บาท พร้อมดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 3 และที่ 7 ไม่สามารถไปจดทะเบียนโอนที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองได้ ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระราคาที่ดินแทนเป็นเงิน 36,225,000 บาท ตามราคาที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด กับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองด้วย ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้ประสงค์เพียงแต่จะได้ค่าปรับจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่ประสงค์จะได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ทั้งสองด้วย หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกลับมาเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ขอให้ใช้ราคาแทน ดังนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ทั้งสองโอนที่ดินให้ตามสัญญาแล้ว แต่ฝ่ายจำเลยไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบข้ออ้างการระงับหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การ ต่อสู้อ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกันและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในชั้นพิจารณาจำเลย ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยานและเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยไม่ได้ ซื้อที่ดินแปลงที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกัน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าว ติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีดังกล่าวเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้ว เพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าวและตกลง ซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4422/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การแต่งตั้งทนายความ, ข้อบกพร่องเอกสาร, การแก้ไขเอกสาร, การดำเนินคดีแทน
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. เป็นผู้ฟ้องคดีแทน และระบุชื่อคู่ความว่า "นางดี พานิชเจริญ โดย บ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์" แต่ปรากฏในใบแต่งทนายความที่ยื่นพร้อมคำฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้แต่งให้ ว. เป็นทนายความด้วยตนเองและ ว. เป็นผู้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายฟ้อง โจทก์จึงเป็นผู้ฟ้องคดีเองมิได้มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีนี้หรือไม่
ใบแต่งทนายความของโจทก์มีผู้ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียวไม่เสมอกับลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง มีผลทำให้การแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทนายความผู้นั้นยังไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจทำได้หลายประการ เช่น ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความ ในใบแต่งทนายความหรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่ความตายและมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความแทนโจทก์ด้วย
ใบแต่งทนายความของโจทก์มีผู้ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียวไม่เสมอกับลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง มีผลทำให้การแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทนายความผู้นั้นยังไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจทำได้หลายประการ เช่น ให้โจทก์ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความ ในใบแต่งทนายความหรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นในการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่ความตายและมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความแทนโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างความถูกต้องของสัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญากู้ยืมไม่ใช่สัญญาซื้อขายนั้นไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้องจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสำเนาเอกสารด้วยภาพถ่ายตนเอง ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารหรือใช้เอกสารปลอม หากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยนำภาพถ่ายของตนมาปิดทับลงในสำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตขับรถของตนแม้เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจและบุคคลทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นต้นฉบับเอกสารที่แท้จริงแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและแม้จะได้นำไปใช้ก็ไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารชำระหนี้ที่ไม่ตรงกับข้อฟ้อง ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานการชำระหนี้ได้ และการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารเป็นข้อห้าม
เอกสารการชำระหนี้ของจำเลยแม้จะมีโจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วกลับได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเนื่องในกรณีที่จำเลยค้ำประกันหนี้รายที่ฉ. เป็นผู้กู้เงินไปจากโจทก์เท่ากับว่าจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับอื่นไม่ใช่ชำระหนี้ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจะรับฟังเป็นหลักฐานการใช้เงินรายนี้ไม่ได้และจำเลยจะนำสืบว่าเงินที่ชำระแทนฉ. กับเงินที่โจทก์กู้โจทก์ตามฟ้องเป็นหนี้รายเดียวกันก็เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการต่อสู้คดี
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่า อาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใด คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารโดยพยานบุคคล
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยลงชื่อในฐานะพยานการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยลงชื่อในฐานะเป็นคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาเท่ากับเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)