พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงของสัญญา, การแก้ไขแบบแปลน, สัญญาค้ำประกันที่ไม่ใช่เงินมัดจำ, และการโต้แย้งคำสั่งศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลภายหลังเวลาที่โจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างโรงเรียนเป็นสัญญาจ้างทำของ แม้ตามแบบแปลนท้ายสัญญาจะแสดงว่าเป็นรูปอาคาร 4 ห้องเรียน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารแบบแปลนนั้นได้ว่า คู่สัญญามีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
โจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงเรียนให้จำเลย โดยมีธนาคาร ก. ทำสัญญาค้ำประกันต่อจำเลยว่า เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือปฏิบัติผิดสัญญาซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากโจทก์ได้แล้ว ธนาคาร ก.จะยอมชำระเงินแทนโจทก์ให้แก่จำเลยภายในวงเงินที่ค้ำประกันทันที โดยธนาคาร ก. มิได้วางเงินสดตามสัญญาค้ำประกันไว้ต่อจำเลย สัญญาค้ำประกันนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นมัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาโดยโจทก์ผิดสัญญา