คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขไม่ได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเดิมแก้ไขไม่ได้ ต้องรอคำพิพากษาศาลสูงกว่า การฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งเดิมในคดีเดิมเป็นเรื่องข้อปลีกย่อย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้จัดการมรดกของล. เป็นโมฆะนั้นตามกฎหมายคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีจะถูกศาลพิพากษาเป็นโมฆะไม่ได้เว้นแต่จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียโดยคำพิพากษาของศาลในลำดับที่สูงกว่าและที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่าใบแต่งทนายความและกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งคำเบิกความของพยานก็รบฟังไม่ได้นั้นก็เป็นกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาดก็ดีเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ในคดีของศาลชั้นต้นจึงมีผลเช่นเดียวกับการขอให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นโมฆะเช่นกันส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่1เป็นโมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นการจะพิพากษาให้บังคับตามคำขอนี้ได้จะต้องให้ศาลพิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นตกเป็นโมฆะเสียก่อนเมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ขอให้ศาลพิพากษาในข้อที่ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ฎีกาของโจทก์ซึ่งล้วนกล่าวอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาจึงเป็นข้อปลีกย่อยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและเมื่อคำฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจจะพิพากษาให้ได้เช่นนี้ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารต่อเติมผิดกฎหมาย หากแก้ไขไม่ได้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมได้ทันที และจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าการดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยถึงแม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การต่อเติมอาคารพิพาทของจำเลยทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว และอาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนหรือร้องต่อศาลบังคับให้มีการรื้อถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต: เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้หากแก้ไขไม่ได้
เมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอน หรือร้องต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรกและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องมีเหตุอาคารผิดกฎหมาย หรือแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต้องเป็นไปตามก.ม.ควบคุมอาคาร โดยต้องมีเหตุผิดก.ม.กระทรวง/ข้อบัญญัติท้องถิ่น และแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไปซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลงและยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาต จึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อได้ แม้เลยเวลาสั่งระงับ
จำเลยกอ่สร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เมื่ออาคารพิพาทได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้น แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทเกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะต้องรื้อถอนอาคารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่อาจแก้ไขได้
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตาม การสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่สมบูรณ์หลังพ้นกำหนด การมอบอำนาจแก้ไม่ได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมีทนาย+ชื่อในท้ายอุทธรณ์แต่ผู้เดียวศาลจึงสั่งไม่รับผิดอุทธรณ์ ต่อ+จำเลยได้ทำใบมอบอำนาจให้ทนายมีอำนาจทำการแทนได้ทุกอย่างตาม ม.62 แห่งประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง แต่เป็นเวลาเกินกำหนดอายุอุทธรณ์เสียแล้วดังนี้ ไม่ทำให้อุทธรณ์นั้นกลับสมบูรณ์ดีขึ้น ชั้นคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ผู้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ความเจ็บป่วยและเหตุผลอื่นต้องเป็นเหตุที่เกินกว่าจะแก้ไขได้
เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความไม่สามารถมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้
ข้ออ้างตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อไปหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจึงทำให้เกิดอาการเครียดส่งผลให้โรคความดันโลหิตสูงกำเริบ และด้วยความพลั้งเผลอจึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดนั้น ปรากฏว่าทนายจำเลยสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ อาการป่วยของทนายจำเลยจึงไม่มีถึงขนาดที่จะทำให้ไม่สามารถทำคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปยื่นได้ทันก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ข้ออ้างของทนายจำเลยมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัย