พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งวันแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อพิสูจน์อำนาจฟ้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12-13/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนทางวินัย - อำนาจดุลยพินิจ - การละเว้นการตรวจสอบหลักฐาน - การแจ้งข้อกล่าวหา
การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเชื่อรายงานและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนที่ตนตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่าผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของโจทก์ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือไม่โดยละเว้นการตรวจดูหลักฐานต่าง ๆ ด้วยตนเองก็ดี ไม่เสาะหา ความจริงจากผู้อื่นก็ดี ไม่ทักท้วงการสอบสวนที่มีแต่รายงานชี้แจงแทน บันทึกการสอบสวนก็ดี จะฟังว่าผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยไม่สุจริตและกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่
เมื่อกรณีของโจทก์ไม่ใช่เรื่องกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบ และไม่ได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย จึงหาใช่เป็นการปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่
เมื่อกรณีของโจทก์ไม่ใช่เรื่องกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบ และไม่ได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย จึงหาใช่เป็นการปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14570/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อกล่าวหาและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหา
แม้บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุแต่เพียงข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร แต่จำเลยก็แสดงท่าทางและนำชี้จุดที่มีการติดตามไล่ยิงผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีคำอธิบายใต้ภาพอธิบายเหตุการณ์และจำเลยลงลายมือชื่อรับรองไว้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นอย่างดี และหลังจากนั้นก็มีการแจ้งข้อกล่าวหาพยายามฆ่าผู้อื่นแก่จำเลย จึงถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปยังสถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนก่อน แล้วจึงแจ้งข้อกล่าวหาให้จำเลยทราบก็ไม่ทำให้การสอบสวนในคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาที่จงใจปกปิดภูมิลำเนา การฟ้องคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหา
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2555 ที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ กำหนดวิธีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาไว้หลายวิธี โดยข้อ 37 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "เมื่อองค์คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า จากทางไต่สวนข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานพอที่จะสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการอันมีมูลความผิด ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนมีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบและแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ..." วรรคสองกำหนดว่า "ในการแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนจัดทำเป็นบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุการกระทำและพฤติการณ์ทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียด... ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดี... โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบการแจ้งข้อกล่าวหาไว้เป็นหลักฐานด้วย" ข้อ 38 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนดนัดหรือปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับหนังสือตามข้อ 37 ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการหรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจริง..." วรรคสองกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาหรือไม่ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้มีการปิดประกาศหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาไว้โดยเปิดเผยยังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. และภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา..." ลักษณะการแจ้งข้อกล่าวหาตามระเบียบดังกล่าวพอจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ การมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง ซึ่งปกติต้องส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา การส่งบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น มุ่งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาเพื่อประโยชน์ในการชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา โดยแจ้งไปยังภูมิลำเนาและที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน ซึ่งเป็นสถานที่อยู่สำคัญที่ผู้ถูกกล่าวหาน่าจะได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหา ส่วนการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การไต่สวนให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ กรณีที่ไม่อาจแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ด้วยวิธีอื่น คดีนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาครบทั้งสองลักษณะ สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง การส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น จำเลยที่ 2 จงใจปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลบเลี่ยงมิให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถติดตามดำเนินคดีแก่ตนได้ เจ้าของบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากทะเบียนบ้านแล้วไปเพิ่มชื่อจำเลยที่ 2 ในทะเบียนบ้านของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ย่อมทำให้ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 ได้ ถือได้ว่าการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีอื่นไม่อาจกระทำได้ ต้องนำการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ตามข้อ 38 วรรคสอง มาใช้บังคับ เมื่อการปิดประกาศดังกล่าวกระทำโดยชอบ การสอบสวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง