คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งข้อมูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.บำนาญกลับรับราชการใหม่ สิทธิรับเงินบำนาญ/ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลง การแจ้งข้อมูลสำคัญต่อหน่วยงาน
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2500 มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า "ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้ว ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือน รวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิมต้องลดบำนาญลงในระหว่าง ที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญ ไม่สูงกว่าเดือนเดิม" ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับเงินเดือน ในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิม เมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือน ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน 290 บาท สำหรับเงินช่วย ค่าครองชีพข้าราชการบำนาญจำนวน 63,460 บาท ที่จำเลยรับไป จากโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2533 นั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญพ.ศ. 2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2523 และเป็น หน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับ เข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มและเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลในการทำประกันชีวิตโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ถือเสมือนการแจ้งโดยผู้เอาประกันภัยเอง และการบอกล้างนิติกรรม
โจทก์ให้ถ้อยคำต่อจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ภ. อายุ 4 ปีเศษ ดังนี้ การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1570 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7043/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลในสัญญาประกันชีวิตโดยผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลผูกพันเสมือนผู้เยาว์ให้ถ้อยคำเอง และประเด็นข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ให้ถ้อยคำต่อจำเลยในฐานะโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ภ.อายุ 4 ปีเศษ ดังนี้ การแจ้งของโจทก์จึงเป็นการแจ้งแทนบุตรผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1570 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเวนคืนและแจ้งข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา9เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาวพ.ศ.2517มาตรา4บัญญัติไว้ว่าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้นกรุงเทพมหานครจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบตามมาตรา9ค.เมื่อจำเลยที่1มิได้แจ้งจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหากจำเลยที่1ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขายเจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืนโจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่2ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ.ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้นโจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่2ไม่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อจึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จำเลยที่2มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้นคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการหน่วงเหนี่ยวกักขัง: การแจ้งข้อมูลตำรวจให้คนร้ายเข้าใจผิด ไม่ถือเป็นความช่วยเหลือ
จำเลยมิได้ทำหน้าที่สอดส่องความเคลื่อนไหวของเจ้าพนักงานตำรวจแล้วแจ้งให้คนร้ายทราบ แต่ในระหว่างที่พวกคนร้ายจับตัวผู้เสียหายไปกักขังไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ เจ้าพนักงานตำรวจได้ติดตามไปช่วยเหลือผู้เสียหายและจับกุมคนร้าย ขณะที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบกำลังค้นหาตัวผู้เสียหายอยู่นั้น จำเลยได้ขี่รถจักรยานไปที่บ้านร้างแล้วตะโกนบอกตำรวจนอกเครื่องแบบคนหนึ่งว่ามีตำรวจมา 2 คันรถ เพราะจำเลยเข้าใจว่าตำรวจคนนั้นเป็นคนร้ายนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่คนร้าย กระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่ อันจะเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลพฤติการณ์หลอกลวงของบุคคลให้ธนาคารทราบเพื่อป้องกันความเสียหาย ไม่เป็นหมิ่นประมาท
จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการ ได้แจ้งข่าวการประชุมของสมาคมธนาคารไทย จำเลยที่ 1 ตามมติของที่ประชุม โดยทำเป็นหนังสือเวียนลับเฉพาะถึงสมาชิก แจ้งให้ทราบถึงพฤติการณ์ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ไปขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารสมาชิกแล้วไม่มาติดต่อขอรับเอกสารไปรับของทำให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหาย โดยในหนังสือเวียนได้ระบุชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวซึ่งมีชื่อโจทก์รวมอยู่ด้วย เพื่อมิให้ธนาคารสมาชิกได้รับความเสียหายดังที่มีมาอีก เช่นนี้ ถือได้ว่าการแจ้งข่าวดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อประโยชน์ผู้อื่น: ผู้เสียหายต้องได้รับการเสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้จัดการโรงเรียนและเป็นผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารพิเศษจำเลยได้แจ้งข้อความอันจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จแก่เจ้าหน้าที่กรมการรักษาดินแดน โดยได้บันทึกรับรองในใบสมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารของผู้มีชื่อ 4 ราย ว่าผู้มีชื่อทั้งสี่กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงการกระทำของจำเลยอาจทำให้กรมการรักษาดินแดน ป. เจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรียนดังกล่าวร่วมกับจำเลยและประชาชนเสียหายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ดังนี้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องมิได้พาดพิงถึงตัว ป. หรือกรรมสิทธิ์ในโรงเรียนซึ่ง ป. เป็น เจ้าของร่วม ในประการที่จะทำให้ ป. เสียหาย ป. จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้ว่าคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษที่จำเลยคาดหมายได้จากการแจ้งข้อมูลสัญญา
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว. แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น. โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่สามโดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่สามในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์. ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท. โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว. ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์. โจทก์ถูกบุคคลที่สามปรับ 40,000บาท. จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง.
of 2