พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ การไม่แจ้งถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่ง
แม้ท้ายคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยจะมีหมายเหตุข้อความว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้จำเลยทราบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้เป็นความผิดของจำเลย ทำให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเสียสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมจะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และ 142 (5) กรณีมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินชำระหนี้และการเพิกถอนการบังคับคดี: ศาลต้องแจ้งคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยทราบชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้จำเลยวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 58 ออกไป 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งคำร้องดังกล่าววันที่ 13 สิงหาคม 2545 อนุญาตให้จำเลยวางเงินภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เนื่องจากศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องแต่ได้มีคำสั่งภายหลังต่อมาอีก 4 วัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันที่ 10 กันยายน 2545 ว่าจำเลยมิได้นำเงินมาวางศาลภายในวันที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ชอบ
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งฟื้นฟูกิจการไปยังภูมิลำเนาเจ้าหนี้ต่างชาติที่ถูกต้อง เพื่อให้เจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด
เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดส่งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอคำขอรับชำระหนี้ไปยังห้องชุดซึ่งเจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญาเช่าและเดินทางกลับประเทศมาเลเซียแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทราบตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/24 วรรคสอง คดีมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีฎีกาและการแจ้งคำสั่ง การเพิกเฉยถือเป็นการทิ้งฟ้อง
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยและมีคำสั่งว่า หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้นำค่าธรรมเนียมมาชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันมีคำสั่งมิฉะนั้นถือว่าจำเลยไม่ติดใจฎีกา เมื่อทราบคำสั่งแล้ว จำเลยยื่นคำแถลงขอวางค่าธรรมเนียมต่อศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา หมายนัดให้โจทก์แก้ฎีกาและคัดค้านคำสั่งขอทุเลาการบังคับภายใน 15 วัน ให้จำเลยจัดการนำส่งภายใน 7 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด กรณีดังกล่าวแม้ในคำแถลงที่จำเลยขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลจะมีหมายเหตุว่า จำเลยรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกาของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำแถลง จะถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่ให้จำเลยจัดการนำส่งสำเนาฎีกาหมายนัดให้โจทก์แก้ฎีกาและคัดค้านคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้วมิได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งศาล จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอนาถาและการทิ้งฎีกา: การแจ้งคำสั่งรับฎีกาและการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้และสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง และจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดี อันเป็นการทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาและการแจ้งคำสั่งศาล: จำเลยไม่ทราบคำสั่ง จึงไม่ถือเป็นการทิ้งฎีกา
แม้ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาได้ และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในภายหลัง ซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงนามทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและให้จำเลยที่ 1 นำส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์เพื่อแก้ฎีกา ทั้งไม่ปรากฏว่ามีหมายแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบคำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วันนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),247ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของศาลในการแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้โจทก์ยื่นคำร้องขยายเวลาครั้งที่สองได้
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์แถลงขอคัดสำเนาในวันรุ่งขึ้นต่อมาอีก 1 เดือนโจทก์ยื่นคำร้องว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแต่กำหนดวันให้น้อยกว่าที่โจทก์ขอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ เหตุที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของโจทก์ หากแต่เกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่สองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7469/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์: เริ่มนับเมื่อได้รับแจ้งคำสั่งจริง
ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับสำนวนคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ พ.ศ. 2541 ข้อ 23 กำหนดว่า "เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งแก่ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยเร็ว" การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้แล้ว หากยังไม่ได้แจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ จะถือว่าผู้มีส่วนได้เสียทราบคำสั่งในวันนั้นและเริ่มนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/32 วรรคสาม หาได้ไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทราบโดยได้ส่งสำเนาคำสั่งคำขอรับชำระหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังเจ้าหนี้ คำสั่งดังกล่าวมีบุคคลอื่นรับไว้แทนเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้ทราบคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ในวันดังกล่าว การนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2544 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องคัดค้านในวันที่ 29 มกราคม 2544 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 14 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งรับอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: จำเลยไม่ทราบคำสั่งจึงไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์หลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน และในการสั่งรับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งให้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ ทั้งศาลชั้นต้นยังให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ภายใน 15 วันนับแต่วันสั่ง (แม้ตอนท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว) เมื่อจำเลยยังไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่จำเลยมิได้นำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาลและการปฏิบัติตามคำสั่ง กรณีไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสอง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมศาลและเงินที่จะต้องชำระ มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้น ถือว่าไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป แต่คู่ความไม่ไปศาลในวันที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการอ่านและให้ถือว่าได้อ่านคำสั่งให้คู่ความฟังโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสอง เช่นนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำสั่งศาลที่ให้นำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาล ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งสั่งในคราวเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมและเงินที่จะต้องชำระมาวางศาลทราบอีก