พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์ที่ส่งศาลต้องเกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีโดยตรง การแจ้งหายสมุดฝากเพื่อเบิกเงินไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 185
คำว่า "ทรัพย์หรือเอกสารใด" ที่ได้ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลให้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185 นั้นหมายถึงสิ่งที่จะต้องส่งหรือรักษาไว้เพื่อวินิจฉัยประเด็นในการพิจารณาคดีเท่านั้น สมุดฝากเงินออมสินที่จำเลยได้นำไปมอบให้ศาลยึดไว้เป็นหลักทรัพย์ประกันตัวจำเลยอื่นในคดีอาญา มิใช่เป็นทรัพย์หรือเอกสารที่จะเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย จึงไม่เป็นทรัพย์หรือเอกสารที่ได้ส่งศาล หรือที่ศาลให้รักษาไว้ในการพิจารณาคดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าสมุดฝากเงินออมสินดังกล่าวสูญหายไป แล้วนำหลักฐานการแจ้งหายไปเบิกเงินปิดบัญชีสมุดหายเลิกฝากและได้เงินตามจำนวนที่ฝากไป โดยที่ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องก็ยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประกันอันจะถือว่ามีข้อพิพาทกันอีกส่วนหนึ่งในคดีเช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 185 คำรับสารภาพของจำเลยในคดีอาญาเป็นเพียงรับว่าได้กระทำการตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น การกระทำตามฟ้องจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณา เมื่อเห็นว่าการกระทำของจำเลยในข้อหาใดไม่เป็นความผิดแล้ว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แคชเชียร์เช็ค: ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่จ่ายเงินให้ผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้มีการแจ้งหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991 (3) ซึ่งบัญญัติว่าธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่ในกรณีที่ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจธนาคารไม่จำต้องจ่ายเงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้าสั่งจ่ายมาเบิกเงินแก่ตน จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คผู้ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินจากธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบธนาคารจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันตนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ทรง ธนาคารจำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรา 991(3) มายกเว้นความรับผิดต่อผู้ทรงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แคชเชียร์เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค แม้มีการแจ้งหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 991(3) ซึ่งบัญญัติว่าธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเว้นแต่ในกรณีที่ได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายนั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจธนาคารไม่จำต้องจ่ายเงินตามเช็คซึ่งผู้เคยค้าสั่งจ่ายมาเบิกเงินแก่ตน จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ธนาคารซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คผู้ที่นำเช็คมาเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คพิพาทเป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบธนาคารจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันตนเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่ผู้ทรงธนาคารจำเลยที่ 1 จะอ้างมาตรา 991(3) มายกเว้นความรับผิดต่อผู้ทรงหาได้ไม่