คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้าเนื่องจากไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีและไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามกำหนด
โจทก์เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมโดยไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสาขาจังหวัดระนองตามบทบัญญัติมาตรา 85/7 วรรคหนึ่ง แห่ง ป. รัษฎากร และโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่งจะต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานสาขาจังหวัดระนองรวมกับสำนักงานใหญ่จังหวัดสงขลาตามมาตรา 83 วรรคสี่ แห่ง ป. รัษฎากร แต่อย่างใด โจทก์จึงอ้างว่าได้ยื่นเสียภาษีที่สำนักงานใหญ่จังหวัดสงขลาแล้วไม่ได้ อีกทั้งโจทก์ไม่ได้ยื่นชำระภาษีของเดือนภาษีที่ถูกประเมิน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสาขาจังหวัดระนองตั้งอยู่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 88/6 (1) (ค) เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภายในกำหนดเวลา 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสัญญา และการแจ้งเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินกำหนดไว้ 2 อัตรา คิดอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา และอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อตามสัญญาดอกเบี้ยสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยสูงสุดไม่ผิดเงื่อนไข แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาประสงค์จะให้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาโดยกำหนดเป็นค่าเสียหายล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยเปลี่ยนแปลงหลังฟ้องคดี การส่งหมายไปยังภูมิลำเนาเดิมยังถือว่าชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลง
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครในชั้นบังคับคดีก็ปรากฏตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนในสำนวนของกรมบังคับคดีก็ระบุว่าจำเลยมีภูมิลำเนาดังกล่าวแม้ว่าต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 869 ซอยรัชดานิเวศน์ ถนนประชาอุทิศแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยและในการดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดมา จำเลยยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เลขที่ 66 ถนนเทียมร่วมมิตร จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ สถานที่นั้น ดังนั้นเมื่อมีการส่งหมายเรียกหมายนัด และเอกสารต่าง ๆ ที่ภูมิลำเนาดังกล่าวไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการส่งโดยชอบและจำเลยได้รับโดยชอบแล้ว จำเลยจะยกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ของจำเลยโดยที่จำเลยไม่ได้แจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลทราบมาเป็นข้ออ้างว่าไม่ได้รับหมายแจ้งวันขายทอดตลาดที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินหลังสละสิทธิ: ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคา/วิธีการชำระเงินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ.และ ซ.เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ60,000 บาท ผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783จำนวน 20 ไร่เศษ ในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาทแล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ.และ ซ.จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ.และ ซ.จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ.และซ.ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษจึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นา ดังนี้ ฟ.และ ซ.จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ.และ ซ.ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมในฐานะผู้เช่าผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์หลังมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาแล้ว ถือเป็นการส่งหมายที่ไม่ชอบ
ทนายโจทก์ได้ย้ายไปจากภูมิลำเนาเดิมแล้วก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนั้นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายโจทก์ตามภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์โดยวิธีปิดหมายจึงเป็นการไม่ชอบย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีไปยังที่อยู่จดทะเบียน แม้เป็นบ้านร้าง ก็ถือว่าชอบแล้ว หากจำเลยไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่34/5ซอยสุวิทย์2ถนนเพชรเกษมแขวงหนองค้างพลูเขตหนองแขม กรุงเทพมหานครเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใดจึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยดังนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยณสถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าวโดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตามก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่าในการส่งคำบังคับหมายบังคับคดีและประกาศต่างๆให้จำเลยเจ้าหนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใดจึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเปลี่ยนแปลงวันประชุมผู้ถือหุ้น: การแจ้งครั้งแรกมีผล แม้การแจ้งเปลี่ยนแปลงมีระยะเวลาน้อยกว่าที่กำหนด
หนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นที่ได้ออกในคราวแรกนั้น ได้กำหนดระเบียบวาระการประชุม วันเวลาและสถานที่ประชุมโดยได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกินกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้วแม้ต่อมาจะได้มีการเลื่อนวันประชุมออกไปจากกำหนดเดิม โดยวันที่ออกหนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันประชุม และวันที่ผู้ถือหุ้นได้รับหนังสือดังกล่าวจะมีเวลาน้อยกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมใหม่ที่เลื่อนออกไปก็ตาม ก็ต้องถือว่าการบอกกล่าวเรียกประชุมครั้งนี้ได้มีการแจ้งถึงผู้ถือหุ้น ตั้งแต่คราวแรกแล้ว หนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแจ้งเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมตามหนังสือที่แจ้งเดิมเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเปลี่ยนแปลงวันประชุมผู้ถือหุ้นต้องยึดการแจ้งครั้งแรก แม้การแจ้งเปลี่ยนแปลงมีระยะเวลาน้อยกว่าที่กำหนด
หนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นที่ได้ออกในคราวแรกนั้น ได้กำหนดระเบียบวาระการประชุม วันเวลาและสถานที่ประชุมโดยได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกินกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทแล้วแม้ต่อมาจะได้มีการเลื่อนวันประชุมออกไปจากกำหนดเดิม โดยวันที่ออกหนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันประชุม และวันที่ผู้ถือหุ้นได้รับหนังสือดังกล่าวจะมีเวลาน้อยกว่า 7 วัน นับถึงวันนัดประชุมใหม่ที่เลื่อนออกไปก็ตาม ก็ต้องถือว่าการบอกกล่าวเรียกประชุมครั้งนี้ได้มีการแจ้งถึงผู้ถือหุ้น ตั้งแต่คราวแรกแล้ว หนังสือแจ้งกำหนดเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแจ้งเปลี่ยนแปลงวันเวลาประชุมตามหนังสือที่แจ้งเดิมเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์มีผลสมบูรณ์เมื่อทำสัญญา แม้ยังมิได้แจ้งเปลี่ยนชื่อกับองค์การโทรศัพท์
จำเลยทำสัญญาโอนขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ให้แก่ผู้ร้อง ได้ชำระเงินและรับมอบเครื่องโทรศัพท์กันแล้วตั้งแต่วันทำสัญญา การโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสร็จ การที่จะไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าโทรศัพท์มาเป็นชื่อผู้ร้องเป็นแต่เพียงแบบพิธีการเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654-655/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเปลี่ยนแปลงคำร้องเดินทางออกนอกประเทศไม่เป็นความเท็จ และการอยู่ต่อโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้แจ้งขอเดินทางออกจากประเทศไทยและได้รับอนุมัติให้เดินทางออกนอกประเทศไทยได้ ต่อมาจำเลยได้แจ้งถอนคำขอดังกล่าวและขออยู่ต่อ ก็ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยต่อไปอีกชั่วคราวได้ การแจ้งข้อความเปลี่ยนแปลงเพิกถอนคำแจ้งความที่ขอเดินทางออกนอกประเทศไทยของจำเลยนั้นไม่ทำให้ผู้ใดได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137และการอยู่ต่อมาของจำเลยก็เป็นการอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเขียนข้อความในบัตรแสดงการออกจากประเทศไทยแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง แต่เมื่อข้อความนั้นไม่ถือเป็นความเท็จ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
of 2