พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งหลังทนายโจทก์ขอถอนตัว และผลของการไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ถอนตัวและให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา โดยทนายโจทก์ลงชื่อทราบคำสั่งและวันนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเช่นนี้ จึงเป็นความผิดของโจทก์และถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ส่วนการที่ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร ก็มิใช่คำแถลงที่มีความหมายในทางที่จำเลยประสงค์หรือตั้งใจจะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 เดิม ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6355/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ทนายขอถอนตัวก่อนเริ่มพิจารณา ไม่ถือว่าขาดนัด
ทนายจำเลยทั้งสองได้นำคำร้องขอถอนตนมายื่นต่อศาลแล้วกลับไปก่อนศาลออกนั่งพิจารณา ถือว่าฝ่ายจำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยานโดยได้แจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลแล้ว การที่ศาลไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยทั้งสองถอนตนแล้วลงมือสืบพยานโจทก์ไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี จำเลยทั้งสองจะขอพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความมีนัดอื่น ศาลถือว่าโจทก์ขาดนัดได้หากไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายความโจทก์จะมีนัดว่าความที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงพระนครเหนือรวม 2 เรื่องก็ตาม ทนายความโจทก์ก็มีทางแก้ไขโดยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีใดคดีหนึ่ง ซึ่งอาจทำได้ก่อนหรือในวันนัดพิจารณาโดยจะนำคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาไปยื่นเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้หรือในกรณีที่ไม่ต้องการเลื่อนคดี ทนายโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องหรือคำแถลงแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบได้ว่าทนายโจทก์มีนัดว่าความ 2 เรื่อง คือ ที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงพระนครเหนือ และทนายโจทก์ขอไปไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่ศาลแขวงพระนครเหนือก่อนก็ย่อมจะทำได้ การที่โจทก์ไม่ได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบก่อนเช่นนี้ เป็นกรณีโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาให้ศาลทราบก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งเหตุพยานมาสายและไม่ขอเลื่อนคดี ศาลชอบที่สั่งตัดพยานและดำเนินคดีต่อไปได้
ศาลนัดสืบพยานจำเลยเวลา 9.00 นาฬิกา ถึงเวลานัดทนายจำเลยมาศาลแต่พยานจำเลยยังไม่มา ทนายจำเลยรอพยานอยู่นอกห้องพิจารณาโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีต่อศาลหรือเจ้าหน้าที่ของศาล ศาลออกนั่งพิจารณาเวลา 9.33 นาฬิกา และสั่งว่า จำเลยไม่มาศาล โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนถือว่าไม่มีพยานมาสืบและนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้แสดงว่าศาลรอจำเลยเกินกำหนดนัดไป 33 นาที โดยจำเลยมิได้ดำเนินการอย่างใด จำเลยจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิดของทนายจำเลยว่าศาลจะพิจารณาคดีของตนเป็นเรื่องที่สองไม่ได้ เพราะจะทำให้กำหนดวันเวลาที่ศาลนัดไว้ไร้ประโยชน์ จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องขอสืบพยานของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4199/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา – ผลกระทบจากกฎหมายใหม่ – การแจ้งเหตุขัดข้อง – การพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทราบนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มาศาลตามนัด ศาลได้ชี้สองสถานไปโดยกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์และนำสืบพยานก่อน และนัดสืบพยานจำเลยพร้อมกับนัดฟังคำพิพากษา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดทั้งสองแล้วโดยศาลไม่ต้องแจ้งนัดแก่จำเลยอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้
ในวันนัดสืบพยานจำเลย หากทนายจำเลยติดว่าความในคดีที่ศาลอื่น จำเลยชอบที่จะแจ้งเหตุขัดข้องหรือยื่นคำขอเลื่อนคดีเสียในวันนัดหรือก่อนวันนัด แต่ก็หาได้กระทำไม่ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ทั้งการที่ไม่ทราบว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง มีการแก้ไขใหม่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะใช้เป็นเหตุเพื่อให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการมอบฉันทะทนายความขอเลื่อนคดีและการตัดพยานโจทก์เมื่อไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
การมอบฉันทะและการขอเลื่อนคดีในคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแทนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้นสำหรับกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการที่สำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจา จะต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความเท่านั้น หากตัวความหรือทนายความไม่อาจมาศาลได้ จะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษร และมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมายื่นต่อศาลผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอ เลื่อนคดีต่อศาล การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีต่อศาลด้วยวาจา ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้ขอเลื่อนคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ การที่ศาลมีคำสั่งตัดพยานโจทก์ที่เหลือ จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว.
ทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้นสำหรับกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการที่สำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจา จะต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความเท่านั้น หากตัวความหรือทนายความไม่อาจมาศาลได้ จะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษร และมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมายื่นต่อศาลผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอ เลื่อนคดีต่อศาล การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีต่อศาลด้วยวาจา ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้ขอเลื่อนคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ การที่ศาลมีคำสั่งตัดพยานโจทก์ที่เหลือ จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบฉันทะทนายขอเลื่อนคดี การแจ้งเหตุขัดข้อง และผลของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การมอบฉันทะและการขอเลื่อนคดีในคดีอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้ จึงต้องนำประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแทนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64เท่านั้นสำหรับกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการที่สำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจา จะต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความเท่านั้น หากตัวความหรือทนายความไม่อาจมาศาลได้ จะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษร และมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมายื่นต่อศาลผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอเลื่อนคดีต่อศาล การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีต่อศาลด้วยวาจา ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้ขอเลื่อนคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ การที่ศาลมีคำสั่งตัดพยานโจทก์ที่เหลือ จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว.
ทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64เท่านั้นสำหรับกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการที่สำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจา จะต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความเท่านั้น หากตัวความหรือทนายความไม่อาจมาศาลได้ จะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษร และมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมายื่นต่อศาลผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอเลื่อนคดีต่อศาล การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีต่อศาลด้วยวาจา ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้ขอเลื่อนคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ การที่ศาลมีคำสั่งตัดพยานโจทก์ที่เหลือ จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8381/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: ศาลฎีกาวินิจฉัยการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามนัด โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่ มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับโดยมาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี หากปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา 193 แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าการดำเนินคดีไม่มีข้อยุ่งยาก หากโจทก์ทราบนัดแล้วไม่ได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้