คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แต่งตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนต้องชัดเจน การรับมอบรถโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของ ไม่ถือเป็นการเป็นตัวแทน
การตั้งตัวแทนจะต้องมีการแต่งตั้งจากตัวการโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 797 บัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์แต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทน แต่จำเลยร่วมให้การว่าเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถคันที่ให้เช่าซื้อให้แก่บุคคลภายนอก บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมทำไว้ต่อกันก็เป็นเพียงแต่จำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยร่วมครอบครองรถคันที่เช่าซื้อต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยร่วมไปดำเนินการ การที่จำเลยร่วมรับมอบรถคันที่เช่าซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการรับมอบในฐานะตัวแทนหรือนายหน้าของจำเลยที่ 1 ในการขายรถให้แก่บุคคลภายนอก มิใช่ในฐานะตัวแทนของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดส่งมอบรถคันพิพาทให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความของพนักงานอัยการต้องมีการแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญา แม้การแต่งตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย สัญญาจ้างยังผูกพัน
คำให้การของจำเลยข้อ 1.1 และ 1.2 อ้างว่าผู้บริหารของจำเลยไม่มีอำนาจทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ส่วนคำให้การข้อ 1.4 อ้างว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งรองอธิการบดีไปแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป เป็นการยอมรับว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งรองอธิการบดีตามสัญญาจ้างแต่ปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาสิ้นผลผูกพันคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกัน เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยโดยอธิการบดีของจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งรองอธิการบดี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 90,000 บาท ก่อนถึงวันเริ่มงานตามสัญญาทบวงมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้จำเลยอยู่ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยจำเลย แม้หลังจากนั้นอธิการบดีของจำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นรองอธิการบดีโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการควบคุมฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาสถาบันแต่งตั้งตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยก็ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมา จึงเป็นกรณีที่จำเลยเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาจ้างแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว และ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมฯ ที่จะแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาจ้างได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่คณะกรรมการควบคุมฯ เคยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำหน้าที่อาจารย์ประจำ และปฏิบัติภาระหน้าที่อื่นตามที่จำเลยมอบหมายโดยปรับอัตราเงินเดือนโจทก์ใหม่เป็นเดือนละ 60,000 บาท โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมจึงไม่อาจใช้บังคับโจทก์ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามอัตราเดิมตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างอันเป็นสภาพการจ้างที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีทนายความแต่งตั้งเป็นหนังสือ หากไม่มีการแต่งตั้ง ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12046/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมใหญ่ในการถอดถอนกรรมการ แม้มีมติแต่งตั้งตลอดไป ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ตามหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทผู้คัดค้านในข้อ 6 กำหนดว่า คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนไม่ตำกว่า 3 นาย ซึ่งแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ฯลฯ แม้จะไม่มีข้อความห้ามมิให้เป็นกรรมการตลอดไป แต่ตามข้อบังคับดังกล่าวก็มิได้กำหนดถึงเรื่องการถอดถอนกรรมการไว้ จึงต้องนำข้อบังคับว่าด้วยหลักทั่วไปตามข้อ 1 ซึ่งกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัดมาใช้แก่บริษัทผู้คัดค้านซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1151 กำหนดให้มติที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งได้ การที่เคยมีมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 3/2533 ตั้งให้ผู้ร้องเป็นกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านตลอดไป ก็มิได้หมายความว่ามติดังกล่าวจะลบล้างบทบัญญัติมาตรา 1151 ได้ การที่บริษัทผู้คัดค้านมีมติที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 37 ให้ถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงมีผลเท่ากับว่ามติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 3/2533 เมื่อไม่ปรากฏว่า มติครั้งที่ 37 เป็นการลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทผู้คัดค้านจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 37

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10468/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดในสัญญาร่วมทุน และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทตามกฎหมาย
สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่ง และบริษัท อ. อีกฝ่ายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นมาให้มีฐานะเป็นบริษัทร่วมทุน และกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ แต่จำเลยหามีฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนไม่ ดังนั้น แม้ในสัญญามีข้อกำหนดว่า ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติสัญญานี้และคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด ก็เป็นข้อบังคับใช้ระหว่างโจทก์กับพวกและบริษัท อ. เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงาน นายจ้างไม่ต้องจัดประชุมหารือ
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงานธนาคาร อ. กำหนดว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน คณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้ สหภาพแรงงานธนาคาร อ. มีคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไว้ จำนวน 16 คน เมื่อการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 7 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม คณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยจึงไม่ชอบจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างจำเลยกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366-8678/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงานและการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ และ ข้อกำหนดว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดี มิได้กำหนดว่าการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์จะต้องแนบ บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ผู้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์มาด้วย การที่โจทก์ได้ใช้แบบพิมพ์ รง. 7 มีรายชื่อและลายมือชื่อโจทก์ทั้งหมดแนบเสนอต่อศาลแรงงานเป็นการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ที่ชอบแล้ว
บันทึกการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ตามแบบพิมพ์ รง. 7 เป็นแบบพิมพ์ของราชการที่โจทก์แต่งตั้งให้โจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแรงงานที่ศาลแรงงานแทนโจทก์ที่แต่งตั้ง มิใช่เป็นใบมอบอำนาจตามข้อ 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ แบบพิมพ์ รง. 7 จึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366-8378/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ไม่ต้องแนบบัตรประชาชนหรือปิดอากรแสตมป์ หากเป็นไปตามข้อกำหนดศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 2 และข้อ 3 มิได้กำหนดว่าการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์จะต้องแนบบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ผู้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์มาด้วย ที่โจทก์ใช้แบบพิมพ์ รง.7 มีรายชื่อและลายมือชื่อโจทก์ทั้งหมดแนบเสนอต่อศาลแรงงานกลาง แม้ไม่มีบัตรประชาชนแนบมาด้วยก็เป็นการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
บันทึกการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ตามแบบพิมพ์ ร.ง.7 นี้ เป็นแบบพิมพ์ของทางราชการที่เป็นไปตามข้อกำหนดของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้โจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแรงงานที่ศาลแรงงานแทนโจทก์ที่แต่งตั้ง มิใช่เป็นใบมอบอำนาจตามข้อ 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จึงไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104
of 11