พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การแต่งฟ้องโดยผู้มิได้เป็นทนายความ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความให้ผู้ต้องขังชาย บ. ทำฟ้องอุทธรณ์แทนให้โดยผู้ต้องขังชาย บ. ลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการเห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง"นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน ทั้งพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33ก็ระบุชัดเจนห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่งให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบกลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องฎีกาโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้ฎีกานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
น.มิได้เป็นผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามวรรคสองของมาตรา 36 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 การที่น.ได้เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 37 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องโดยผู้ไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ทนายความ ถือเป็นฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลไม่รับฟ้อง
ผู้อื่นใดที่มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความหรือตัวความหามีอำนาจแต่งฟ้องได้ไม่
เมื่อผู้เรียงคำฟ้องไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้อง ศาลจะรับไว้ดำเนินคดีต่อไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2499)
เมื่อผู้เรียงคำฟ้องไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้อง ศาลจะรับไว้ดำเนินคดีต่อไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความหรือตัวความ ไม่มีอำนาจแต่งฟ้อง ทำให้ฟ้องไม่เป็นฟ้อง
ผู้อื่นใดที่มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความหรือตัวความหามีอำนาจแต่งฟ้องได้ไม่
เมื่อผู้เรียงคำฟ้องไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้อง ศาลจะรับไว้ดำเนินคดีต่อไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2499)
เมื่อผู้เรียงคำฟ้องไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ฟ้องโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้อง ศาลจะรับไว้ดำเนินคดีต่อไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตแต่งฟ้อง ย่อมเป็นแจ้งความเท็จ แม้จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายก็ไม่เป็นเหตุ
เมื่อจำเลยขาดต่ออายุใบอนุญาตทนายความแล้วยังไปแต่งฟ้องและจดข้อความในฟ้องว่าเป็นทนายความดังนี้เป็นผิดฐานแจ้งความเท็จ +กระทำความผิดแล้วจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้เป็นทนายความ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี รวมถึงการพิจารณาโทษคดีบุกรุกป่าสงวน
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์กรของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่จำเลยที่ 2 เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งฟ้องฎีกาโดยผู้มิได้มีใบอนุญาตทนายความและมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" ตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากทนายความและข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่แล้ว ข้อความตอนท้ายที่ว่า "ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" หมายถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เท่านั้น ที่จะทำการเป็นทนายความรวมถึงแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้อง หรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. แต่งฟ้อง ฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกา ได้ แต่ ส. มิใช่คู่ความตามความหมายที่ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) บัญญัติไว้ และเมื่อไม่ปรากฏว่า ส. จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ หรือเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ย่อมไม่อาจแต่งฟ้องฎีกาได้ การที่ ส. ลงชื่อเป็นผู้เรียงในฎีกาของโจทก์ ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้แต่งฟ้องฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ชอบ