พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่แถลงผลการส่งหมายนัดภายในกำหนด และผลของการประทับข้อความ 'ให้มาทราบคำสั่ง'
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2545 จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 ว่า "รับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้ ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน" เมื่อคำแถลงของจำเลยฉบับดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2545 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2545 ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายโดยศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก แม้จำเลยจะขอให้ส่งโดยวิธีปิดหมายแต่ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการส่งหมายตามมาตรา 79 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดหมายอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่าได้นำหมายไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 20 ตุลาคม 2545 แต่ส่งให้ไม่ได้ การที่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเจรจาประนีประนอมแล้วไม่ตกลง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง หากทนายแถลงเหตุผลให้ศาลทราบ
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีว่า ทนายคู่ความได้แถลงร่วมกันว่ามีความประสงค์จะประนีประนอมข้อพิพาท โดยทนายโจทก์และทนายจำเลยทั้งสี่จะได้แจ้งตัวความให้กำหนดผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นผู้ร่วมเจรจากันเพื่อหาข้อยุติให้ทันก่อนวันนัดหน้า หากยังไม่ได้ข้อยุติทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งเป็นผู้เจรจาฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้น เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้ถึงอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงขอไม่มาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้วเมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า"ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย"ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วันตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวัน มิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลา ที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดหลังส่งหมายเรียกไม่ได้ ศาลฎีกาชี้ว่าคำสั่งยืนยันคำสั่งเดิม และโจทก์ทราบคำสั่งแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องว่า รับคำฟ้อง หมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยไม่มีผู้รับโดยชอบ และไม่มีภูมิลำเนาแห่งอื่นให้ปิดหมาย ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในรายงานการเดินหมายอีกว่าให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ก็เป็นเพียงการยืนยันถึงคำสั่งในคำฟ้องเท่านั้น ซึ่งหากศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งในรายงานการเดินหมาย โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในคำฟ้องอยู่เช่นเดิมโดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องแจ้งคำสั่งในรายงานการเดินหมายให้โจทก์ทราบอีกครั้งหนึ่งแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดจึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้อง: ศาลยืนยันคำสั่งให้โจทก์แถลงหลังส่งหมายไม่ได้ แม้ไม่มีการแจ้งซ้ำ โจทก์ทราบคำสั่งจากคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องว่า รับคำฟ้อง หมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยไม่มีผู้รับโดยชอบ และไม่มีภูมิลำเนาแห่งอื่นให้ปิดหมายถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ และข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งหมายเรียกด้วยกัน เมื่อส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในรายงานการเดินหมายอีกว่าให้โจทก์แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ก็เป็นเพียงการยืนยันถึงคำสั่งในคำฟ้องเท่านั้นซึ่งหากศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งในรายงานการเดินหมาย โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในคำฟ้องอยู่เช่นเดิม โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องแจ้งคำสั่งในรายงานการเดินหมายให้โจทก์ทราบอีกครั้งหนึ่งแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเห็นใจจำเลยไม่ถือเป็นการยอมความ ศาลฎีกามีอำนาจลดโทษได้
โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์เห็นใจและให้อภัยจำเลยแล้ว ไม่ติดใจเอาโทษจำเลยต่อไป คำแถลงดังกล่าวเป็นการแถลงขอให้ศาลปรานีจำเลย เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษเท่านั้น มิใช่เป็นการยอมความ สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
คดีที่จำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจใช้ดุลพินิจลดโทษจำเลยให้เบาลงได้
คดีที่จำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจใช้ดุลพินิจลดโทษจำเลยให้เบาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงของทนายแทนโจทก์มีผลผูกพัน การสืบพยานโจทก์ถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ หากไม่มาศาลถือว่าสละสิทธิ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์รอพยานอยู่จนเวลา 10.30 น. พยานโจทก์ก็ยังไม่มาศาล ทนายโจทก์แถลงว่านัดกับ ร. พยานโจทก์แล้วว่าจะมา แต่ไม่มา ไม่ทราบจะทำประการใด ขอให้ศาลสั่งต่อไป ดังนี้เป็นการแถลงของทนายโจทก์ซึ่งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปตามที่จำเลยแถลงขอสืบพยาน จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว การที่วันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์ใหม่ โดยอ้างว่าความจริงในวันนัด ร. มาศาลเมื่อเวลา 10.15 น. แต่มิได้เข้าฟังการพิจารณาเพราะดูในกระดานนัดความของศาลไม่พบชื่อบริษัทโจทก์ ก็จะนำมาลบล้างคำแถลงของทนายโจทก์โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ทั้งเป็นการล่วงเลยเวลาสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะสืบพยานโจทก์ใหม่ ศาลชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสีย กรณีเช่นนี้ข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ตามคำร้องของโจทก์ชัดแจ้งแล้ว ศาลหาจำต้องไต่สวนคำร้องนั้นอีกไม่ และมาตรา 21 ก็ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลไม่ให้โอกาสเต็มที่แก่คู่ความที่จะมาฟังการพิจารณาและใช้สิทธิเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาตามมาตรา 103 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเสร็จและมีคำพิพากษาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะใช้อำนาจตามมาตรา 243(2) ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อนแล้วสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องมีการโต้แย้งในศาลชั้นต้น การแถลงก่อนมีคำสั่งไม่ใช่การโต้แย้ง
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ในศาลชั้นต้น จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
การที่คู่ความยกเหตุผลข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ไม่เรียกว่าได้มีการโต้แย้งคำสั่งศาลตามความหมายในมาตรา 226 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่คู่ความยกเหตุผลข้อโต้แย้งต่าง ๆ ขึ้นแถลงต่อศาลก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ไม่เรียกว่าได้มีการโต้แย้งคำสั่งศาลตามความหมายในมาตรา 226 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง