คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แนวทางปฏิบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากรายการที่ล่าช้าและการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
โจทก์ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งป.รัษฎากร และการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 23แห่ง ป.รัษฎากรชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร แล้วแต่กรณี โดยถือแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน2527 ข้อ 3 แม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด: การประเมินราคาศุลกากรต้องอาศัยหลักฐานเปรียบเทียบและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา2นิยามคำว่า"ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด"ไว้หมายความว่า"ราคาขายส่งเงินสด(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด"นั้นเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหากผู้นำเข้าไม่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าราคาขายเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณเวลาที่นำเข้าสินค้าพิพาทและสถานที่ที่นำเข้าซึ่งเป็นความหมายของราคาอันแท้จริงในท้องตลาดว่าเป็นราคาเท่าใดจึงยังถือไม่ได้ว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าสำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการที่เจ้าพนักงานประเมินสินค้าของผู้นำเข้าโดยคิดพิจารณาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันกับสินค้าของผู้นำเข้าซึ่งมีผู้อื่นนำเข้ามาในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่โจทก์นำเข้าซึ่งปฏิบัติไปตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่47/2531อันเป็นแนวทางที่มีเหตุผลและเป็นวิธีที่ถูกต้องสามารถนำมาถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าของผู้นำเข้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การประเมินราคาอันแท้จริงตามหลักศุลกากรและแนวทางปฏิบัติของกรมศุลกากร
ราคาสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินถือตามเป็นราคาที่ผู้นำเข้าได้นำเข้าก่อนโจทก์ไม่นานนัก และบางรายก็ปรากฏว่าได้นำเข้าหลังโจทก์เพียง 1 วัน เป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามคำสั่งเฉพาะของกรมศุลกากรที่ 14/2524 และคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530 ซึ่งแม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็แสดงว่าเป็นการปฏิบัติที่มีแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมและกระทำโดยสุจริต เมื่อราคาที่นำเข้ามาก่อนกลับสูงกว่าที่โจทก์นำเข้าจึงมีเหตุให้น่าสงสัยว่า ราคาที่ซื้อมาอาจมิใช่ราคาอันแท้จริงหากราคาที่โจทก์ซื้อต่ำกว่าราคาที่บริษัทอื่นซื้อเพราะโจทก์เป็นลูกค้าประจำและโจทก์สั่งเข้ามาเป็นจำนวนมากหรือเพราะบริษัทผู้ขายย่อมขายให้ลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกัน ก็ย่อมแสดงว่าราคาที่โจทก์ซื้อเป็นราคาที่ได้หักทอนหรือลดหย่อน ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการลดหย่อนทั่ว ๆ ไป การลดหย่อนดังกล่าวจึงเป็นการลดหย่อนกรณีพิเศษเฉพาะราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 2 จะถือเอามาเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานประเมินและการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเกินกำหนด
วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2549 จำเลยแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี จึงไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง วันที่ 21 เมษายน 2551 จำเลยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร วันที่ 8 มีนาคม 2556 จำเลยมีหนังสือแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี คำสั่งแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรชอบแล้ว การปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่ แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้