พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงตรวจสอบแนวเขตที่ดิน การยอมรับผลการรังวัด และผลผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138
โจทก์จำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ ส. เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบโดยขุดหาคานคอนกรีตเดิมซึ่งเป็นเขตที่ดินที่มีการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย หากพบว่าคานเป็นเส้นตรงและกำแพงตั้งบนคานตรงกับคานที่วัด โจทก์ยอมรับว่าเป็นแนวเขตที่ดินของจำเลย แต่หากพบว่าคานโค้งรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยยินยอมรื้อถอนกำแพงที่สร้างใหม่ออกไปทั้งหมด ส. นำช่างแผนที่ออกไปตรวจสอบแล้ว การที่ ส. ให้ความเห็นว่า "สันนิษฐานว่าในเมื่อกำแพงโค้งคานน่าจะโค้งตามกำแพง" นั้น เกิดจากข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะทำการรังวัดเท่านั้นมิใช่เป็นการคาดคะเนของ ส. ดังนั้น เมื่อ ส. ตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่ากำแพงตั้งอยู่บนคานเดิมตลอดแนว กำแพงโค้งตามคาน จึงทำให้กำแพงและคานตามรูปแผนที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตรงตามคำท้าแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรังวัดสอบเขตที่ดินเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ และการวินิจฉัยแนวเขตโดยศาล
เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถรังวัดสอบเขตที่ดินตามที่โจทก์ยื่นคำขอได้ เนื่องจากจำเลยชี้อาณาเขตล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ถือว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่
ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อตกลงท้ากันรังวัดที่ดิน: สิ่งปลูกสร้างต้องอยู่ในแนวเขตที่ดินทั้งหลัง มิใช่เพียงล้ำเข้าไป
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลย ยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจาก เขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไปตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน" หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัย ไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดคลองติดแนวเขตที่ดิน การละเมิด และอายุความของคำฟ้อง
"คลอง"คือสิ่งอื่นที่คล้าย"คู"จึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342ที่ต้องขุดห่างแนวเขตที่ดินข้างเคียงหนึ่งเมตรหรือกว่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจัดการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินของโจทก์ที่ติดต่อกับที่ดินที่จำเลยขุดคลองมิใช่เรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรงจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีหน้าที่สั่งรังวัดแก้ไขแนวเขตที่ดินเมื่อเจ้าของที่ดินโต้แย้งสิทธิกันเอง
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงยังคงโต้เถียงกันว่าแนวเขตที่ดินอยู่ตรงไหนและต่อมาจำเลยที่1เจ้าพนักงานที่ดินให้จำเลยที่2ช่างรังวัดที่ดินออกมาตรวจที่ดินได้พบหลักเขตล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เท่านั้นเจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสั่งนายช่างรังวัดให้ถอนหลักเขตที่ล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์แล้วนำไปฝังใหม่ตามที่โจทก์ฟ้องการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่ผู้เช่า: ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่มีแผนที่แนวเขตที่ดิน และการมอบอำนาจไม่จำต้องระบุศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกสร้างตึกแถวต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงได้บอกเลิกการเช่าและให้รื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินที่เช่าในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปด้วย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงถึงสภาพแห่งข้อหาคือสัญญาเช่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์ไม่ประสงค์จะให้เช่าต่อไป และได้บอกเลิกการเช่าแล้ว คำขอบังคับคือให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวและขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโจทก์ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว และจำเลยก็เข้าใจคำฟ้องได้ดี ดังที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินจำเลยมิได้เช่าที่ดังกล่าวจากโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมที่โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยเช่าที่ดินตรงทิศไหน มุมไหน หรือส่วนไหนของโฉนด ไม่ทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่อ้างว่าจำเลยเช่าแนบมากับฟ้องนั้น ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่จำต้องระบุว่าให้ฟ้องที่ศาลไหนเพราะการจะฟ้องคดีที่ไหนนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับแนวเขตที่ดินเดิมทำให้การครอบครองปรปักษ์สิ้นสุดลง แม้ครอบครองก่อนแต่สละเจตนาแล้ว
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินของตน ได้ชี้แนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยตามหลักเขตที่จำเลยนำชี้ไว้เดิม จำเลยลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ว่าถูกต้อง เชื่อได้ว่าจำเลยยอมรับมาแต่แรกว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ดังนั้น แม้จะฟังตามที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน ก็ถือว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองแล้ว การครอบครองที่มีมาก่อนย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 การครอบครองของจำเลยซึ่งเริ่มใหม่หลังจากวันที่จำเลยรับรองแนวเขตที่ดินของโจทก์ถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระวังแนวเขตที่ดินสาธารณะ: การยึดหลักเขตเดิมเป็นเกณฑ์ และการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของเจ้าหน้าที่
จำเลยมีหน้าที่ดูแล ที่สาธารณะภายในเขตรับผิดชอบ และการระวังแนวเขตบึงทรายกองดินด้าน ที่ติด กับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้ปฏิบัติตาม คำสั่ง กระทรวงมหาดไทย ที่วางระเบียบปฏิบัติไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและถูกต้อง แล้วการคัดค้านแนวเขตที่ดินพิพาทเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมายและสุจริต จำเลยทั้งสี่มิได้ทำละเมิดสิทธิของโจทก์ เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้อง มีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้นฉะนั้น นอกจากเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ ว่า กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบปฏิบัติในการระวังแนวเขตที่สาธารณะไว้อย่างไร แม้เอกสารเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่อ้างเป็นพยานจะฟังไม่ได้เพราะไม่ใช่ต้นฉบับ และผู้ รับรอง สำเนาก็มิใช่ผู้มีอำนาจ แต่ พยานบุคคลที่จำเลยนำเข้าสืบรับฟังได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่กรณี หากประเด็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ศาลต้องยกฟ้อง
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำกันไว้ในคดีแรกยอมรับกันว่าที่ดินโจทก์ทางด้านทิศเหนือมีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้ เช่นนี้เท่ากับโจทก์ยอมรับแล้วว่าแนวเขตที่ดินของจำเลยถูกต้องมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ เมื่อคดีแรกได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกโดยกล่าวอ้างว่า โฉนดที่ดินจำเลยด้านทิศใต้ออกทับที่ดินโจทก์ด้านทิศเหนือ ประเด็นในคดีแรกกับประเด็นในคดีหลังจึงเป็นประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในคดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดสอบเขตที่ดินที่ถูกต้องตามคำท้าของคู่ความ มีผลผูกพันในการวินิจฉัยคดี หากมิได้ทำตามคำท้า จะนำแผนที่พิพาทมาใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างบ้านและรั้วบนที่ดินสาธารณะปิดหน้าที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า บ้านและรั้วตั้งอยู่บนที่ดินที่ติดกับที่ดินของจำเลย มิได้อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย คู่ความท้ากัน ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลย หากได้ความว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและไม่ใช่ที่สาธารณะโจทก์ยอมแพ้คดี หากที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของจำเลยและเป็นที่สาธารณะ จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินมิได้รังวัดสอบเขตตามคำท้า แต่กลับรังวัดทำแผนที่พิพาทไปตามเขตที่ครอบครองซึ่งโจทก์จำเลยนำชี้ โดยจำเลยนำชี้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของตนซึ่งนอกคำให้การดังกล่าวข้างต้น แผนที่พิพาทจึงมิได้เกิดจากการที่เจ้าพนักงานที่ดินสอบเขตที่ดินตามคำท้า ฉะนั้น แนวเขตเส้นสีแดงในแผนที่พิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นแนวเขตที่ดินตามโฉนดของจำเลย ทั้งตามหนังสือนำส่งแผนที่พิพาทของ เจ้าพนักงานที่ดินก็มีข้อความว่า ไม่สามารถระบุได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เนื่องจากผู้แทนประธานสุขาภิบาลไม่สามารถชี้เขตที่ดินสาธารณะที่แน่นอนได้ แสดงว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำท้าที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ จึงไม่อาจนำแผนที่พิพาทมาใช้เป็นหลักฐานในการวินิจฉัยตามคำท้าได้ จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป.