พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่: การผลิตประกอบสำเร็จถือเป็น 'ผลิต' ตามกฎหมาย และสิทธิลดหย่อนภาษี
โจทก์นำเข้าแบตเตอรี่ลักษณะเป็นก้อน เรียกกันทั่วไปว่าถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อน สามารถนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้ทั่วไป โจทก์ได้นำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาจัดเรียงต่อแบบอนุกรม และเชื่อมขั้วแบตเตอรี่แต่ละอันให้ครบวงจรแล้วประกอบเข้ากับกล่องพลาสติก และต่อสายไฟแบตเตอรี่เข้ากับขั้วไฟฟ้าภายในกล่อง การกระทำดังกล่าวเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ต้องตามคำนิยาม "ผลิต" ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4
โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตจากแบตเตอรี่ในฐานะผู้นำเข้า ต่อมานำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตในฐานะผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
การออกกฎกระทรวงว่าด้วยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีเพื่อกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีได้ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 5 และมาตรา 101 วรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีอำนาจกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายได้ว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตจากแบตเตอรี่ในฐานะผู้นำเข้า ต่อมานำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตในฐานะผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
การออกกฎกระทรวงว่าด้วยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีเพื่อกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีได้ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 5 และมาตรา 101 วรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีอำนาจกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายได้ว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530-1532/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการขายแบตเตอรี่และการชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง
หนี้ค้างชำระอันเกิดจากการขายแบตเตอรี่ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปขายต่อเพื่อแสวงหากำไรอันเป็นการประกอบธุรกิจการค้าของลูกค้ามีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มิใช่กรณีลูกค้าซื้อไปเพื่อใช้เองอันมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยทวงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หนี้ที่ค้างชำระยังไม่ครบอายุความ 5 ปี แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะทวงหนี้จากลูกหนี้ไม่ครบทุกรายและเมื่อลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 2 ปีแล้ว โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ตั้งสำรองหนี้สูญอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม แต่ผลเสียหายที่จำเลยติดตามหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระไม่ได้เกิดจากจำเลยเข้าใจผิดว่าหนี้ที่ลูกค้าค้างชำระนั้นมีอายุความ 2 ปี และขาดอายุความแล้วจึงไม่ได้ฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ติดตามฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ มิใช่เป็นผลมาจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ทวงหนี้ และไม่ตั้งสำรองหนี้สูญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินบำเหน็จของโจทก์ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ผู้เสียหายจากการเบิกถอนแบตเตอรี่ และอายุความการฟ้องละเมิด
เมื่อกรมสารบรรณทหารได้ซื้อแบตเตอรี่จากโจทก์ และขอฝากแบตเตอรี่ที่ซื้อไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยังมิได้กำหนดแบ่งแยกไว้แน่นอนว่าจะขายแบตเตอรี่หม้อใดให้ แบตเตอรี่จึงยังเป็นของโจทก์เพราะกรรมสิทธิ์ในแบตเตอรี่ยังไม่โอนไปยังกรมสารบรรณทหารผู้ซื้อตามป.พ.พ. มาตรา 460 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชดใช้แบตเตอรี่ที่เอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว โจทก์เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม ผู้อำนวยการเป็น ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ กระทรวงกลาโหมสั่งตั้งกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริง และพิจารณาหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวน ทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่าจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และได้เสนอความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึงรัฐมนตรีฯ รัฐมนตรีฯ ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการและ ได้มีการแจ้งให้ผู้อำนวยการโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2526 ถือว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 1 พึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม2526.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของพนักงานต่อความเสียหายจากการถอนแบตเตอรี่โดยมิชอบ และอายุความฟ้องร้อง
กรมสารบรรณทหารซื้อแบตเตอรี่จากโจทก์และฝากแบตเตอรี่ ที่ซื้อ ไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยังมิได้กำหนดแบ่งแยกไว้แน่นอนว่าจะขายแบตเตอรี่หม้อใดให้กรรมสิทธิ์ในแบตเตอรี่จึงยังไม่โอนไปยังกรมสารบรรณทหารตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 เมื่อแบตเตอรี่ยังเป็นของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จำเลยจะปฏิบัติตามวิธีที่มีการปฏิบัติกันมาก่อน แต่เมื่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยก็จะอ้างเอาการปฏิบัติดังกล่าวซึ่งผิดต่อระเบียบปฏิบัติที่โจทก์วางไว้มาเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ โจทก์เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้โจทก์จะรู้เรื่องละเมิดก่อน วันที่21 พฤษภาคม 2525 แต่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและ พิจารณาหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งทำการสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จำเลยจะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และได้เสนอความเห็นไปยัง ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแจ้งให้ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบ เมื่อ วันที่ 19ธันวาคม 2526 ถือได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยพึงต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2526 โจทก์ฟ้อง จำเลยเมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2527 ยังไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์จึง ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ซื้อขายแบตเตอรี่: สัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาตัวแทน, หนังสือผัดหนี้ไม่ทำให้เกินอายุความ
เมื่อจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์ ส. ก็ไปเป็นพยานในสัญญา นอกจาก ส.จะเป็นภริยาจำเลยที่ 2 และเป็นมารดาจำเลยที่ 3 แล้ว ยังใช้ชื่อ ส. เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1และหัวกระดาษผัดหนี้ก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปี ข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165 (2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165 (1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย(จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165 (1) แล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปี ข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165 (2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165 (1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย(จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165 (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การนำเข้าแบตเตอรี่เป็นสินค้าแยกจากเครื่องสำรองไฟฟ้า ทำให้ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
สินค้าที่โจทก์นำเข้าถูกระบุในใบกำกับสินค้าโดยชัดแจ้งว่าเป็นสินค้าประเภทแบตเตอรี่ แสดงให้เห็นว่าสินค้าพิพาทเป็นแบตเตอรี่โดยสภาพ ซึ่งตรงกับพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2540 ประเภทที่ 08.90 (4) ส่วนที่โจทก์อ้างว่าแบตเตอรี่ที่นำเข้าเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องสำรองไฟฟ้าครบชุดบริบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ข้อ (3) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 คำเบิกความของพยานโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเข้าแบตเตอรี่พิพาทเพื่อสำหรับผลิตหรือประกอบเข้ากันเป็นเครื่องสำรองไฟฟ้าเป็นการเฉพาะเจาะจง เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วเสร็จแล้วแบตเตอรี่จะเปลี่ยนสภาพเป็นส่วนที่นำไปประกอบกับส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นเครื่องสำรองไฟอย่างแท้จริง อันจะถือว่าเป็นสินค้าครบชุดบริบูรณ์ และที่โจทก์อ้างว่า แบตเตอรี่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่องสำรองไฟฟ้าได้ โจทก์ก็ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า แบตเตอรี่พิพาทต้องประกอบอยู่ในตัวเครื่องสำรองไฟฟ้าจนไม่อาจแยกออกจากกันได้ และไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองนอกจากประกอบเข้ากับเครื่องสำรองไฟ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังได้ว่า แบตเตอรี่ที่โจทก์นำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำรองไฟฟ้าครบชุดบริบูรณ์ อันจะทำให้แบตเตอรี่ที่นำเข้าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
โจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นแบบพิมพ์เดียวกัน โจทก์คงสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรและภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุรหัสสินค้าสรรพสามิตที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต อันจะทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามุ่งหมายจะยื่นรายการภาษีสรรพสามิตด้วย ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตมาแต่แรกนั้น ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่เคยมีเจตนาจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตมาก่อน กรณีของโจทก์จึงเป็นกรณีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 48 (3) และแม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต แต่มูลค่าของสินค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าที่แสดงในแบบรายการภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีสรรพสามิตภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษีตามมาตรา 83 (3)
โจทก์ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นแบบพิมพ์เดียวกัน โจทก์คงสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรและภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ไม่ได้ระบุรหัสสินค้าสรรพสามิตที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิต อันจะทำให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่ามุ่งหมายจะยื่นรายการภาษีสรรพสามิตด้วย ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตมาแต่แรกนั้น ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ไม่เคยมีเจตนาจะยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตมาก่อน กรณีของโจทก์จึงเป็นกรณีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 48 (3) และแม้หากจะฟังได้ว่าโจทก์ยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต แต่มูลค่าของสินค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าที่แสดงในแบบรายการภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินภาษีสรรพสามิตภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบรายการภาษีตามมาตรา 83 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
UPS ไม่เป็นแบตเตอรี่ ภาษีสรรพสามิตถูกต้อง ศาลสั่งคืนดอกเบี้ย
เครื่องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่หรือ UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ เครื่อง UPS ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4)
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
UPS ไม่ใช่แบตเตอรี่: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย
เครื่อง UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ นอกจากนี้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ ดังนั้น เครื่อง USP จึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4) จึงเก็บภาษีสรรพสามิตตามการประเมินในรายการของเครื่อง UPS ไม่ได้
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ