คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะภาพพินัยกรรมจากการไม่ปฏิบัติตามแบบตามกฎหมาย และสิทธิในการจัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น เมื่อนาย ว. ซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมคนหนึ่งไม่รับรองลายมือชื่อของผู้ตายซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมและมิได้กระทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ดังนี้ พินัยกรรมฉบับนี้จึงมิได้ทำขึ้นตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกทอดได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความที่ได้รับการมอบอำนาจ การให้สัตยาบัน และผลของการไม่ทำตามแบบ
การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย โดยมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามโจทก์ เมื่อต่อมาโจทก์ได้แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความฟ้องร้องบังคับจำนองต่อจำเลย โจทก์ได้เบิกความยืนยันการมอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองต่อจำเลย ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อสังหาริมทรัพย์-สัญญาซื้อขาย-นิติกรรมอำพราง-สัญญากู้ยืม: การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ หากไม่ถูกต้องอาจเป็นนิติกรรมกู้ยืม
1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้นย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่ายอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญาโดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทนซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่นจึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือนถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ สัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะ
ผู้โอนมีหนังสือถึงบริษัทว่าผู้โอนประสงค์จะโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอน แล้วต่อมาผู้รับโอนก็มีหนังสือถึงบริษัทว่ามีความประสงค์จะรับโอนหุ้นดังกล่าว ขอให้บริษัทจัดการโอนหุ้นดังกล่าวดังนี้ หนังสือทั้งสองฉบับนี้เป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนแจ้งความประสงค์เพื่อให้บริษัทจัดการโอนหุ้นเท่านั้น หาใช่เป็นหนังสือโอนหุ้นที่ผู้โอนกับผู้รับโอนจะสมัครใจซื้อขายหุ้นกัน แต่มิได้จัดทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์จากการซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ตามแบบ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกัน แต่วินิจฉัยว่าแม้โจทก์ผู้ซื้อจะครอบครองที่ดินมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ จึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์คง พิพากษายกฟ้อง ยืนตามศาลชั้นต้น แต่ไปวินิจฉัยว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ เพราะทำไม่ถูกแบบ และฟังไม่ได้ว่าซื้อขายกัน ซึ่งไม่มีประเด็นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และไม่ปรากฎว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยความข้อนี้ผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จึงฝ่าฝืน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 243 (3) ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงข้อนี้ตามมาตรา 250 ศาลฎีกาคงฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นได้
ตกลงจะซื้อขายที่ดินกัน ชำระเงินราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว และส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อครอบครองมากว่า 10 ปีแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้เป็นที่เห็นได้ว่า คู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะแก้ทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียแล้ว ผู้ซื้อคงครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิในฐานที่ได้ครอบครองมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: พินัยกรรมไม่เป็นแบบ/มีแก้ไข, ดุลยพินิจศาล
พินัยกรรมฝ่ายเมืองนั้นแม้จะไม่ถูกต้องตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 ถ้าเป็นการถูกต้องอย่างพินัยกรรมแบบธรรมดาแล้ว ก็ต้องถือว่าพินัยกรรมนั้นสมบูรณ์ตามแบบธรรมดาได้
พินัยกรรมมีรอยขีดฆ่า แล้วมิได้เซ็นชื่อกำกับไว้ ถ้าปรากฏว่าข้อความที่ขีดฆ่านั้นเป็นข้อหยุมหยิมเล็กน้อย ไม่ใช่ข้อสำคัญมิได้ทำให้เสียถ้อยกะทงความตรงไหนแต่อย่างใด เพียงเท่านี้ หาทำให้พินัยกรรมทั้งฉบับนั้นเสียไปไม่ คงต้องถือว่าพินัยกรรมฉบับนั้นมีผลสมบูรณ์อยู่
ในกรณีที่คู่ความมิได้ต่อสู้ไว้ การที่ศาลจะยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเองนั้นศาลย่อมกระทำในเมื่อเห็นสมควร มิใช่ว่าถ้าเห็นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ฯลฯ แล้วศาลจะต้องยกขึ้นเองเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ต้องทำตามแบบ หากไม่ทำบังคับได้แค่ 3 ปี
ทำสัญญาเช่าที่ดินวันเดียวกัน 2 ฉบับมีกำหนดการเช่าฉบับละ 3 ปีอันเป็นเวลาต่อกันไปเป็น 6 ปีนั้น ถือว่าการเช่าที่เกิน 3 ปีขัดต่อมาตรา 538 จึงบังคับคดีได้เพียง 3 ปี
ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง และจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้าง หรือมิได้ให้การถึง ต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงนั้น ๆ จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องสืบอีกและในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ.