พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมที่สมบูรณ์: ผู้เขียนและพยานเดียวกันได้หรือไม่
พ. ทำพินัยกรรมเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะนั้น และได้ลงลายมือชื่อของตนไว้ต่อหน้า ส. ผู้เขียนและ ท. พยานในพินัยกรรมส. ได้ลงลายมือชื่อในขณะนั้นเช่นกันเพียงแต่ไม่มีข้อความต่อท้ายว่าเป็นพยาน เช่นนี้ก็ถือว่า ส. เป็นพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมตลอดมาแต่ต้นคือเป็นทั้งผู้เขียนพินัยกรรมและเป็นพยานในพินัยกรรมต้องด้วยความประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบบพินัยกรรมตามกฎหมาย: การยื่นคำร้องขอทำพินัยกรรมนอกสถานที่ มิใช่สาระสำคัญของแบบพินัยกรรม
กฏกระทรวงมหาดไทยที่ว่า ผู้ใดจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ให้ทำคำร้องแสดงความจำนงตามแบบของเจ้าพนักงานยื่นต่อกรมการอำเภอนั้น เป็นแต่เพียงระเบียบไม่เกี่ยวกับเรื่องแบบแห่งพินัยกรรม ฉะนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้ยื่นคำร้องเอง ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของพินัยกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมที่ทำผิดแบบแต่เป็นไปตามแบบอื่นได้ใช้บังคับได้ และข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยศาลตามมาตรา 142(5)
แม้พินัยกรรมจะทำผิดแบบพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามความประสงค์เดิมของผู้ทำพินัยกรรมก็ดี แต่ก็ทำขึ้นถูกต้องตามแบบพินัยกรรมธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1656 ทุกประการ ดังนี้ ศาลย่อมยกความสมบูรณ์ตามแบบพินัยกรรมอย่างหลังนี้ ขึ้นใช้บังคับได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้นจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นนั้น ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2492)
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) นั้นจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นนั้น ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมพิมพ์ที่ไม่ลงชื่อผู้พิมพ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่ผิดแบบพินัยกรรม
พินัยกรรม์ซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ธรรมดาแต่ผู้พิมพ์มิได้เซ็นชื่อเป็นผู้พิมพ์ไว้นั้นไม่ตกเป็นโมฆะ