คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบบแปลน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดแบบแปลนและคำสั่งรื้อถอน การใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำการติดตั้งบันใดเลื่อนจากชั้นใต้ดินไปชั้นที่ 1 และใช้บริเวณชั้นใต้ดินเพื่อการอื่นโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบแปลนโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โดยโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยใช้บริเวณชั้นใต้ดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่าบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างนั้นต้องทำเป็นลานจอดรถแต่จำเลยได้ใช้ลานจอดรถดังกล่าวเพื่อการอื่น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณชั้นใต้ดินดังกล่าวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: เจ้าของอาคารและผู้ควบคุมงานมีส่วนร่วมความผิดได้ แม้สร้างผิดเฉพาะแบบแปลน
ผู้กระทำผิดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้จำกัดเฉพาะผู้ควบคุมงานเท่านั้น แต่หมายความถึงผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารผิดไปจากแผนผัง บริเวณแบบแปลน ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดตามมาตรานี้ด้วย ส่วนตามบทบัญญัติของวรรคสอง มาตราเดียวกันนี้หมายถึงว่า ผู้ควบคุมงานก็มีความผิดด้วย และเป็นตัวการร่วมกันกับผู้จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ผู้กระทำผิดตามมาตรา 31 นี้ เพียงแต่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ระบุไว้เพียงประการเดียวก็เป็นความผิดแล้ว คือ กระทำการดังกล่าวให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณ ผิดไปจากแบบแปลน ผิดไปจากรายงานประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต หาจำเป็นจะต้องกระทำการทุกอย่างร่วมกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การคิดค่าจ้างงานที่ไม่ได้ทำตามแบบ
จำเลยจ้าง โจทก์ก่อสร้างตึกแถว 2 ชั้น จำนวน 4 คูหา โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้ชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร กำหนดค่าจ้างงานงวดที่ 2 คือหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยเป็นเงิน 120,000บาท แต่โจทก์เขียน แบบแปลน และก่อสร้างเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร ผิดไปจากข้อตกลง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อได้เลิกสัญญากัน ส่วนการงานอันโจทก์ได้กระทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้คืน แต่งานงวดที่ 2 ดังกล่าว โจทก์จำเลยมีหลักการคิดค่าจ้างแตกต่างกัน คือ โจทก์คิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวเพียงห้องละ 5 เมตร แต่จำเลยคิดค่าจ้างหล่อเสาและเทพื้นชั้นลอยมีความยาวห้องละ 8 เมตร ดังนั้นการคิดราคาชั้นลอยที่โจทก์ได้กระทำไปจึงไม่อาจกระทำได้ ต้องคิดค่าชั้นลอยที่โจทก์ก่อสร้างขาดไปนั้นเป็นเงินเท่าใดแล้วนำไปหักออกจากเงินค่าจ้างงานงวดที่ 2 จำนวน 120,000 บาท เหลือเท่าใดจึงจะเป็นค่าจ้างสำหรับงานที่ได้กระทำไปแล้วในงวดนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและการกำหนดแบบแปลนก่อสร้าง: เจตนาของคู่สัญญาและกฎหมาย
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญา แต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถวจำนวน 12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลและต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ต้องถือว่าแบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาลและได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลยจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญา การก่อสร้างตึกแถว และการผูกพันตามแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติ
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญาแต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถว12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ ต้องถือว่า แบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาล และได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลย จะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกันเมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัด และถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่า ไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็น คุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหาย ในมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบร่วมจากก่อสร้างก่อนขออนุญาต และความเสียหายจากแบบแปลนที่ไม่ตรงกัน
โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างอาคารโดยให้จำเลยลงมือก่อสร้างไปก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากเทศบาล ต่อมาแบบแปลนที่เทศบาลอนุญาตนั้น มีรายการผิดไปจากที่ได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว โจทก์จำเลยต้องร่วมกันเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการก่อสร้างผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างไม่สมบูรณ์ หากไม่ตกลงในแบบแปลนและรายละเอียดสำคัญ
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างมีข้อความระบุว่า ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนแผนผังและรายการละเอียดการก่อสร้างที่แนบกับสัญญาและแต่ละฝ่ายถือสัญญาไว้คนละฉบับพร้อมด้วยแบบแปลนแผนผังและรายการละเอียดการก่อสร้างอันได้ลงนามกำกับไว้ทุกแผ่น แบบแปลนแผนผังและรายการละเอียดการก่อสร้างจึงเป็นสารสำคัญของสัญญาซึ่งจะต้องตกลงกันในขณะที่ทำสัญญา ดังนั้นแม้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 จะได้ลงนามในสัญญาเป็นผู้รับจ้างในนามของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่ส่งแบบแปลนแผนผังและรายการละเอียดการก่อสร้างไปให้จำเลยลงนามกำกับทุกแผ่นดังระบุไว้ในสัญญา ก็ต้องถือว่าโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้ในเรื่องแบบแปลนแผนผังและรายการละเอียดการก่อสร้างอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาทั้งยังปรากฏว่าข้อกำหนดในเรื่องวันทำการและเริ่มต้นวันทำการก่อสร้างอันเป็นสารสำคัญส่วนหนึ่งของสัญญาก็ยังตกลงกันไม่เป็นที่เรียบร้อยและถูกต้อง กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ถือว่าโจทก์จำเลยยังไม่ได้มีสัญญาต่อกัน