คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีถึงที่สุดผูกพันการครอบครอง การแย่งการครอบครองต้องแสดงเจตนาชัดเจน การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้ว ในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาทจำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57 (1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่งแล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินเนื่องจากฉ้อฉล แม้ไม่ได้ยกประเด็นในชั้นชี้สองสถาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีก่อน จำเลยทั้งสองและทายาทของ จ.นางแจ่มได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยการสมยอม ทำให้ที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงและโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1ได้ครบถ้วนตามคำพิพากษา เป็นการฉ้อฉลโจทก์ และโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4445 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2534ระหว่างจำเลยทั้งสอง กับให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดพิพาทเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 หรือให้ลบชื่อจำเลยที่ 2 ที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มาด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการฉ้อฉลโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวซึ่งทำไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2530 ด้วยได้แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดตามคำขอดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม เพราะเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การโดยตรง มิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น และกรณีหาใช่โจทก์สละประเด็นข้อพิพาทในกรณีตามคำขอส่วนนี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาพิพาทเกินเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช.เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว โจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000 บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผูกพันจำเลยแม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินโดยตรง
ป.พ.พ.มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น แต่ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่ หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ก. ซึ่งที่ดินส่วนของ ก.นี้ ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการรุกล้ำดังกล่าวมิได้เกิดจากการที่จำเลยเป็นผู้สร้างโรงเรือน หากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม กรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 1312 ดังกล่าวข้างต้น
ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตน ซึ่งทั้ง ก.และส.เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้ว คงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำ แม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลย เพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของ ท.ก็ตาม แต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของ ท.เจ้าของรวมคนหนึ่ง และแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี 2502 และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่ เมื่อ ก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9302/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินหลังแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ข้อตกลงรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างยังผูกพัน แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312เป็นบทบัญญัติเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นแต่ตามข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินก่อนที่จะมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมขณะปลูกสร้างยังไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันอย่างไรหรือไม่หลังจากแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้วจึงทราบว่าส่วนที่เป็นครัวของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของก. ซึ่งที่ดินส่วนของก.นี้ต่อมาได้ขายให้แก่โจทก์จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการหากแต่เกิดจากการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมกรณีตามข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312ดังกล่าวข้างต้น ก่อนมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่างมีข้อตกลงกันให้เจ้าของรวมแต่ละคนรื้อถอนบ้านสิ่งปลูกสร้างไปปลูกในที่ดินส่วนของตนซึ่งทั้งก. และส. เจ้าของรวมต่างก็ได้รื้อถอนบ้านจากที่เดิมไปปลูกในที่ดินส่วนของตนแล้วคงเหลือแต่จำเลยเท่านั้นที่ยังไม่ได้รื้อถอนครัวที่รุกล้ำแม้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยเพราะจำเลยมิได้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเพียงแต่มีสิทธิในที่ดินส่วนของท. ก็ตามแต่การที่จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวได้ต่อมาก็โดยอาศัยสิทธิของท.เจ้าของรวมคนหนึ่งและแม้จำเลยจะปลูกสร้างโรงเรือนมาตั้งแต่ปี2502และครัวที่รุกล้ำปลูกสร้างมาก่อนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก็หาทำให้ข้อตกลงในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ผูกพันจำเลยไม่เมื่อก.เจ้าของที่ดินเดิมและโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท โดยคำนึงถึงการครอบครองพื้นที่เฉพาะตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาท ซึ่งคู่ความรับกันว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข 1 และหมายเลข 3 ตามแผนที่พิพาท ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใด เช่นนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดิน และตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ออก ส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1364 จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นข้อพิพาทต่างกัน แม้คดีก่อนเกี่ยวข้องกรรมสิทธิ์เดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่พิพาทซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินส่วนที่โจทก์ครอบครอง ขอให้ห้ามจำเลยกระทำการใด ๆบนที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจดทะเบียนให้ที่พิพาทซึ่งค.และจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างค. กับโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายและว่าไม่เคยมีการแบ่งแยกการครอบครอง จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การจดทะเบียนให้ระหว่าง ค. กับโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่พิพาทจากจำเลย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีทั้งสองจึงต่างกัน เหตุที่นำมาวินิจฉัยคนละเหตุจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6394/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนที่ศาลเคยพิพากษาตามยอมแล้ว
ประเด็นแห่งคดีเดิมคือ โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนที่โจทก์และจำเลยแต่ละคนจะได้รับซึ่งระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้อง ประเด็นแห่งคดีนี้คือ โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามส่วนในบันทึกและแผนที่การรังวัดที่ได้ตกลงกันขึ้นใหม่ท้ายฟ้อง ซึ่งบันทึกและแผนที่การรังวัดที่ได้ตกลงกันขั้นใหม่คือส่วนที่โจทก์และจำเลยแต่ละคนจะได้รับตามที่ระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้องคดีก่อนที่ศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว เมื่อคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนระบุไว้ชัดเจนว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับตามที่ระบุไว้ในฟ้องและแผนที่การครอบครองที่ดินท้ายฟ้อง คดีนี้จะเบี่ยงเบนว่าให้แบ่งตามบันทึกข้อตกลงและแผนที่การรังวัดท้ายฟ้องที่ทำขึ้นใหม่โดยที่ฝ่ายจำเลยคดีนี้ไม่ยอมด้วยหาได้ไม่ คดีนี้จึงมีประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ไม่ต้องบรรยายการทำประโยชน์ อายุความเริ่มนับแต่ซื้อ
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากจำเลย มิใช่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยตั้งแต่เมื่อใด ทั้งปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ได้ถูกต้องครบถ้วน มิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลมิอาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาเจ้าของกรรมสิทธิ์
วิธีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์กึ่งหนึ่งก็ตาม แต่จะพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่ได้
of 2