พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนรับช่วงงานแล้วไม่แบ่งกำไร ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก เป็นเรื่องผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับ จำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อ ประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ ดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับ ช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มอบให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1 ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำผิดหน้าที่ ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่อง ผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อม ไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการ ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: การแบ่งทรัพย์สินและกำไรต้องทำหลังชำระบัญชี
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สิน ย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามป.พ.พ. มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกำไรจากการร่วมกันรับเหมาต้องทำกับห้างหุ้นส่วน ไม่ใช่ตัวบุคคลโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนรับจ้างทำงานก่อสร้างจากทางราชการและมีผลกำไรจากการก่อสร้าง โจทก์จึงต้องแบ่งผลกำไรให้แก่จำเลยและเมื่อยอดเงินตามเช็คน้อยกว่าส่วนแบ่งผลกำไรของจำเลย โจทก์จึงต้องชำระเงินคืนแก่จำเลย ดังนี้ เมื่อผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างตามสัญญาจ้างดังกล่าวคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ซึ่งเป็นนิติบุคคลโจทก์เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งในการก่อสร้างนั้นหากจะมีกำไรจริง ผู้ที่ได้รับกำไรก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะถือว่าโจทก์มีกำไรไม่ได้เพราะเป็นคนละคนกัน เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวต่างหาก จำเลยหามีสิทธินำหนี้ตามเช็คที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์มาหักหนี้กับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการแบ่งกำไร ไม่ถึงขั้นเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 และที่ 3เพื่อทำการปลูกสร้างตึกแถวใหม่ในที่ดินดังกล่าว แล้วจะเสนอขายแก่บุคคลภายนอกทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายห้อง โดยในสัญญามีข้อตกลงว่า ถ้ามีความจำเป็นต้องฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมจำเลยที่ 2 จะฟ้องขับไล่เอง และจะไม่เรียกร้องจากจำเลยที่ 1เกี่ยวกับค่าทดแทนใด ๆ ที่จะให้ผู้เช่าเดิม ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้นไม่มีข้อตกลงตอนใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ผู้จะขายได้ร่วมประกอบกิจการในการปลูกสร้างตึกแถวใหม่กับจำเลยที่ 2 ที่ 3แม้ในสัญญาจะซื้อจะขายจะกำหนดต่อไปอีกว่า ผู้จะขายจะได้รับส่วนแบ่งจากการขายตึกแถวใหม่อีกร้อยละหกสิบของกำไรสุทธิก็เป็นเพียงข้อตกลงในการซื้อขายที่ดินที่ผู้จะซื้อยอมที่จะให้เพิ่มเติมอีกเท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายยอมรับแต่ผลกำไรอย่างเดียวไม่ต้องร่วมรับผิดเมื่อขาดทุนด้วย จึงไม่ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนแบ่งกำไร: สัญญาซื้อขายที่ดิน+หุ้นส่วน, การแบ่งกำไรตามสัดส่วนเงินลงทุน, ผู้ชำระบัญชีที่เป็นกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยกล่าวไว้ในฟ้องว่า ในการเข้าหุ้นส่วนค้าที่ดินและตึกแถวกันนี้จำเลยตกลงแบ่งกำไรให้โจทก์ร้อยละ 60 จำเลยขายที่ดินและตึกแถวไปหลายห้องไม่แบ่งกำไรให้โจทก์ ขอให้พิพากษาเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนและตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่หุ้นส่วน ศาลได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ ตกลงแบ่งผลกำไรกันเท่าใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกหุ้นส่วนกันหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกันอย่างไรจึงเป็นประเด็นวินิจฉัย ศาลพิพากษาให้แบ่งกำไรกันตามที่พิจารณาได้ความได้
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอฟอกกับการแบ่งกำไร ไม่เป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับความเสี่ยงขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้ว คิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร" ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย (ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้น หาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายปอฟอกที่มีข้อตกลงแบ่งกำไร ไม่ถือเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วน หากผู้ขายไม่รับผิดชอบขาดทุน
เอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 เป็นเรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายปอฟอกกัน แม้เอกสารหมาย จ.1 มีข้อความตอนหนึ่งว่า 'ปอจำนวนนี้ ข้าฯ จะส่งมาภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 เมื่อส่งครบจำนวนแล้วคิดตามราคาท้องตลาดเสร็จแล้วหักทุนออก เหลือเท่าไรจึงแบ่งฝ่ายละครึ่งของผลกำไร' ก็ตาม ก็เป็นข้อตกลงอีกอันหนึ่งว่า ภายหลังที่ขายปอให้กันแล้ว โจทก์ (ผู้ซื้อ) จะต้องแบ่งกำไรให้จำเลย(ผู้ขาย) ด้วยเท่านั้นหาทำให้สัญญาซื้อขายกลายเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนไปไม่ เพราะจำเลยยอมรับแต่ผลกำไรฝ่ายเดียว เมื่อขาดทุนไม่ต้องออกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกำไรหุ้นส่วนเลิกห้าง ต้องมีการชำระบัญชีหรือตกลงจัดการทรัพย์สินก่อน จึงจะฟ้องร้องได้
การฟ้องขอแบ่งทุนกำไรของหุ้นส่วนสามัญ ที่เลิก+กันแล้วนั้น จะต้องมีการชำระบัญชีหรือตกลงจัดการทรัพย์สินกันโดยวิธี+ก่อน จึงจะฟ้องขอ+ได้ การคิดบัญชีไม่เรียกว่าเป็นการชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนต่อหนี้ที่เกิดจากการกระทำของหุ้นส่วนอื่น
หุ้นส่วน
วัตถุประสงค์เพื่อแบ่งกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดในการที่พวกหุ้นส่วนทำไป +
วัตถุประสงค์เพื่อแบ่งกำไร ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดในการที่พวกหุ้นส่วนทำไป +
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้คำว่า 'กู้' และแบ่งกำไรเพื่อบำรุงหลาน ไม่ถือเป็นหุ้นส่วน
หุ้นส่วน สัญญากู้ กู้เงินให้ดอกเบี้ยและยอมแบ่งกำไรให้ผู้อื่นไม่เรียกว่าเปนหุ้นส่วนกัน