พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งงานภายในหน่วยงานทางทหาร และความรับผิดในความเสียหายจากสิ่งอุปกรณ์สูญหาย โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่มีหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 จงใจไม่เก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์อย่างไร จำเลยที่ 1 รับสิ่งอุปกรณ์มาจำนวนเท่าใด จากใคร เมื่อใด และสิ่งอุปกรณ์ได้สูญหายหรือขาดบัญชีไปอย่างไร แต่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าในชั้นสืบพยาน โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นชัดแจ้งถึงการแบ่งและมอบอำนาจหน้าที่ของฝ่ายพลาธิการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่ ประกอบกับโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏในมูลเหตุแห่งกรณีและรายละเอียดแห่งข้อหาอันเป็น หลักฐานแห่งฐานความผิด เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลงต่อสู้คดีและเสียเปรียบ ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลา ที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นั้นเป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้ เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ ของโจทก์สูญหาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อพ้นระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดการละเมิด คดีจึงขาดอายุความ แต่เหตุที่อ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลา ที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ว่าจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์นั้นเป็นคนละประเด็นกับที่จำเลยที่ 1 ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งกองทัพบกโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเกี่ยวกับ สิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการไว้ แต่เมื่อคำสั่งจังหวัดทหารบกขอนแก่น อันเป็นคำสั่งภายในหน่วยงานของจำเลยที่ 1 กำหนดหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการให้เป็นของผู้ช่วยพลาธิการจังหวัดทหารบกขอนแก่นเสียแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ และมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการแล้ว การปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนปัญหาที่ว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกันจะใช้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจังหวัดทหารบกขอนแก่น ไม่เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ความเสียหายของโจทก์จึงมิได้ เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดทำให้สิ่งอุปกรณ์ ของโจทก์สูญหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การแบ่งงานเป็นส่วนๆ และอายุความในการเรียกร้องค่าจ้าง
ข้อกำหนดในการชำระเงินตามสัญญาจ้างข้อ 6.1 ระบุว่าผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ ตามปริมาณงานที่ทำแล้วเสร็จตามแบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีข้อความระบุให้เห็นชัดว่าโจทก์และจำเลย ได้ตกลงแบ่งเนื้องานที่จะรับส่งกันเป็นส่วนอย่างไร มีปริมาณงานแต่ละส่วนเท่าใด และระบุค่าจ้างของงานแต่ละส่วนเป็นจำนวนเท่าใด ตารางรายละเอียดมูลค่าจ้างเหมาก็เป็นเพียงวิธีการคิดจำนวนค่าจ้าง ไม่ใช่การแบ่งเนื้องานออกเป็นส่วน ๆ ประกอบกับสัญญาจ้างข้อ 6.2 ระบุว่าให้ผู้รับจ้างต้องรายงานผลการปฏิบัติงานที่แล้วเสร็จทุกวันสิ้นเดือนเพื่อส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้าง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จนั่นเอง ไม่ใช่กรณีการจ้างเหมาที่มีกำหนดว่าจะส่งรับงานกันเป็นส่วน ๆ และได้ระบุสินจ้างไว้เป็นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างได้เมื่อจำเลยรับมอบงานที่เป็นผลสำเร็จแห่งการที่โจทก์ทำตามมาตรา 587
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงร่วม: การแบ่งงานและขอบเขตความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
บุคคลสองคนทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างร่วมกันในการวางท่อประปาตามถนนให้แก่กรมโยธาเทศบาลและยอมรับผิดชอบร่วมกันและเป็นรายตัวสำหรับบรรดาข้อสัญญาทั้งมวล แต่ผู้รับจ้างสองคนนั้นแบ่งงานกันทำ โดยคนหนึ่งเป็นผู้จัดหาวัสดุ และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินงานวางท่อประปา ถึงแม้ผู้รับจ้างคนที่ดำเนินงานวางท่อประปาจะกระทำละเมิดขุดท่อระบายน้ำของเทศบาลเสียหาย แต่ผู้รับจ้างทั้งสองก็มิใช่ลูกจ้างนายจ้าง หรือตัวแทนตัวการซึ่งกันและกัน ผู้รับจ้างอีกคนหนึ่งซึ่งมิได้ร่วมกระทำละเมิด จึงหาจำต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้นด้วยไม่ เพราะมิใช่ความรับผิดชอบตามสัญญาต่อผู้ว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหรือคนงานของจำเลยขุดถนน เป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ขุดหรือให้คนงานของจำเลยขุดถนนเป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบว่า บุคคลอื่นเป็นผู้ทำให้โจทก์เสียหายได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่จำต้องรับผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหรือคนงานของจำเลยขุดถนน เป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ขุดหรือให้คนงานของจำเลยขุดถนนเป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบว่า บุคคลอื่นเป็นผู้ทำให้โจทก์เสียหายได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่จำต้องรับผิดตามฟ้อง