พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลผูกพันทายาทอื่น & การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสาม จำเลย และ ล. เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท ออกเช็คแล้วไม่จ่าย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ.และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหาย ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดก: การซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่น การแบ่งทรัพย์มรดก และการนำสืบพยานเพื่อแสดงความเป็นมาของทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อการที่โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทนส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่งหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่จำเลยฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมายจ.4เป็นคำมั่นจะให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6246/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก เจ้าของรวม และอายุความ คดีมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกเงินจำนวน 216,250 บาทก่อนที่จะแบ่งปันให้ทายาทต้องถือว่า ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแทนทายาททุกคน โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกดังกล่าวร่วมกันแล้ว และจำเลยที่ 1ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะเจ้าของรวม การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 โดยไม่มีอายุความมิใช่เป็นการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 รับเงินส่วนแบ่งมรดกไว้ ถือว่าจำเลยที่ 1 รับไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ถือว่ามีการผิดนัดจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์จนกว่ามีการบอกกล่าวทวงถามเงินส่วนแบ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดก สัญญาแบ่งทรัพย์มรดก และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้สละ
จำเลยให้การว่า โจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอม-ยอมความ คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดา และจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วย จึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าว และนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสาร ย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการบังคับคดี: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลงหากเจ้าของรวมตกลงแบ่งไม่ได้
ผู้ร้องและจำเลยกับพวกเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้มีการแบ่งส่วนเช่นนี้โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดไปได้ทั้งแปลงเพราะกรณีระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมถ้าไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์กันอย่างไรแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ก็ต้องขายไปทั้งแปลงโจทก์ทั้งหกขอขายทั้งแปลงผู้ร้องจึงขอให้กันส่วนของผู้ร้องออกจากการขายทอดตลาดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอดคดีแบ่งมรดก & ศาลต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วนเมื่อทายาทไม่ยินยอม
ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก, สิทธิในทรัพย์มรดก, และการแบ่งเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดที่ 5677 ซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้แก่โจทก์ไว้ จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินโฉนดที่ 5677 เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. สามีผู้ตาย โดยส.ให้น.ถือกรรมสิทธิ์แทนส. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้องหรือไม่เพียงใดย่อมหมายรวมถึงว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ด้วย เพราะหากว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นของผู้ตายก็ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในตัว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทมิได้เป็นมรดกของส. ซึ่งตกทอดแก่จำเลยที่ 2 ผู้ตายไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งเป็นของ ส. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าทรัพย์มรดก จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งตกได้แก่ ส. ผู้ตายไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินซึ่งมิใช่ของตนให้แก่ผู้ใดหาได้ไม่พินัยกรรมซึ่งผู้ตายทำจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้น ส. เบิกความไว้ในคดีอาญา สรุปได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะไปทำพินัยกรรมได้ปรึกษาหารือกับส. ที่บ้านเกี่ยวกับการจัดแบ่งทรัพย์สินแก่ทายาท ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง ส. จะไปด้วยหรือไม่จำไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ส. ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบว่า มีพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ ต่อมา ส. จำเลยที่ 2 โจทก์ และ ก. ไปฟังพินัยกรรม กรณีเป็นที่เห็นได้ว่า ผู้ตายไปทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดที่ 5677 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมทั้งสามคนโดย ส. รู้เห็นยินยอมด้วยเมื่อได้มีการอ่านพินัยกรรม ส. ก็มิได้คัดค้านหรือเรียกร้องที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนจากผู้รับพินัยกรรมทั้งสาม ทั้ง ส. ยังได้สละมรดกของผู้ตายตามหนังสือการสละมรดกอีก จากพยานหลักฐานและพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาแสดงว่า ส. มีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 5677พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่ผู้ตายตั้งแต่ก่อนที่ผู้ตายจะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองแล้ว และเนื่องจากโฉนดที่ดินมีชื่อผู้ตายแต่ผู้เดียว เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ผู้ตายจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาทและทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนให้แก่โจทก์ได้ โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกและค่าเช่าบ้านทรัพย์มรดกตามฟ้อง ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเสียค่าใช้จ่ายไป 58,700 บาท แต่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตาย 30,000 บาท นั้น เป็นจำนวนตามสมควรแล้ว สำหรับค่าจ้างทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกของผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก ซึ่งจำเลยที่ 1 กระทำแทนทายาทอื่นจึงต้องหักค่าจ้างว่าความ 300,000 บาท จากกองมรดกของผู้ตายสำหรับค่าไถ่ถอนจำนองจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรมเป็นเงิน 130,000 บาท โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับพินัยกรรม จึงต้องรับผิดชอบในการไถ่ถอนจำนองที่ดินตามพินัยกรรม สำหรับค่าซ่อมบ้านพิพาทตามสภาพบ้านพิพาทปลูกสร้างมาเป็นเวลานาน เมื่อมีการซ่อมแซมใหญ่ค่าซ่อมแซมจำนวน 20,000 บาท เป็นจำนวนอันสมควร ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ต้องรับผิดค่าซ่อมแซมบ้านพิพาท 20,000 บาท นั้น ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายผู้หนึ่งเท่านั้น ทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แต่อย่างใด โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัวยังไม่ได้รับส่วนได้ตามพินัยกรรมโจทก์ย่อมเรียกร้องทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1673 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาท และส่งมอบค่าเช่าบ้านพิพาทแก่โจทก์ กับขอให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวด้วยตนเองแม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแก่โจทก์ มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1แบ่งเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้ถูกเวนคืนไปแล้ว เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงขอให้บังคับโดยขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่ศาลชั้นต้นอายัดไว้จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ เพราะพฤติการณ์ซึ่งทำให้การโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเป็นอันพ้นวิสัยนั้นเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งเงินค่าทดแทน การจัดการมรดกนั้นเป็นประโยชน์ร่วมกันของกองมรดก โจทก์จึงต้องรับผิดชอบตามส่วนที่โจทก์ได้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดก การขายทรัพย์ส่วนหนึ่ง และสิทธิในการแบ่งทรัพย์ของทายาทที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตร กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นหลาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายที่พิพาทจึงตกได้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาท โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับมรดกคนหนึ่งและเป็นพี่ของโจทก์ทั้งสองร่วมด้วย อันเป็นการเข้ารับมรดกแสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่พิพาทในฐานะทายาทตามพินัยกรรมและเป็นการเข้าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจึงยังคงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการขายเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1และที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 ได้สิทธิไปเท่าที่จำเลยที่ 1 และที่ 2มีอยู่การครอบครองที่พิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสองจะถือว่าเป็นการแย่งการครอบครองไม่ได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์นั้นได้และจะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้