คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรส: แม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล ก็ทำได้หากคดีเดิมค้างพิจารณา
เมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอแบ่งสินสมรส หากมีสินสมรสอยู่ที่โจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้นก็ตาม ทั้งนี้โจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสแม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล เมื่อโจทก์ฟ้องก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่า โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอให้แบ่งสินสมรส จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้น ประกอบกับโจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4 (1) และมาตรา 4 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและขอบเขตพินัยกรรม: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส และการที่พินัยกรรมเกินสิทธิ
โจทก์ได้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสที่โจทก์และ ข มีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอมด้วย ข. จึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทเกินกว่าส่วนของตนให้แก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสกรณีที่ดินมีบ้านพักส่วนตัวและตึกแถวให้เช่า ศาลชี้ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินสมรสอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยมีเพียงตึกแถว 2 หลัง การจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งมีบ้านพักอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่อีก 1 หลังย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวม แต่หากจะให้ขายทอดตลาดเฉพาะตึกแถว 2 หลัง ที่เป็นสินสมรสแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็คาดหมายได้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อ หรือถึงจะขายได้ก็จะได้ราคาที่ไม่เหมาะสม เพราะผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงเห็นควรแบ่งทรัพย์โดยให้ตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรส เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และนำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสินสมรสอันจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12569/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังคู่สมรสถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาคดี
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งทรัพย์สินถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณา การถึงแก่กรรมของคู่สมรสย่อมทำให้การสมรสสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 และต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายตามมาตรา 1625 ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องโจทก์ต่อไป ศาลล่างยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และจำหน่ายคดี จึงเป็นการชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สิน: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง สิทธิของผู้ร้องขอปล่อยทรัพย์
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิ ดังกล่าวร่วมกัน ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม เนื้อที่ 2 ไร่ 47 ตารางวา หากจำเลยไม่ยอมแบ่งแยกให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วนจำเลยไม่ยอมแบ่งแยกและการแบ่งแยกไม่อาจกระทำได้ โจทก์ทั้งสามจึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคดีที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งกันตามส่วน การยึดทรัพย์ในกรณีนี้มิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็น การร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยผู้เป็นเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง ฉะนั้น ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน: การยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดไม่ใช่การบังคับคดีตามปกติ
ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาทและให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม หากจำเลยไม่ยอมปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วน ซึ่งต่อมาการแบ่งแยกที่ดินไม่อาจทำได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังกล่าว ซึ่งการยึดทรัพย์กรณีนี้มิใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เพื่อแบ่งทรัพย์สินของผู้มีสิทธิร่วมกัน มิใช่การบังคับคดีตามปกติ ผู้ไม่มีส่วนได้เสียยื่นขอปล่อยทรัพย์ไม่ได้
การที่โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนมิใช่เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากแต่เป็นการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้มีสิทธิร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง ผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวม: ฟ้องแบ่งได้แม้มีปัญหาความขัดแย้ง แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การแบ่งทรัพย์สินในเวลานั้นจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมคนอื่น การที่โจทก์และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โดย หจก. อ. ที่มีโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนและได้เลิกกิจการไปแล้วเปิดดำเนินกิจการอยู่ในอาคารบนที่ดินทั้งโจทก์และจำเลยมีปัญหากันถึงขนาดจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา โจทก์จึงมิได้เข้าไปในที่ดินและอาคารพิพาทอีก แม้จะปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินและอาคารพิพาท แต่ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียว มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวจะฟังว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ได้บัญญัติกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า หากทำลงโดยรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจากการบังคับคดี
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ไม่ว่าจะมีการบังคับคดีแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
of 25