พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นตามกฎหมาย และต้องมีส่วนได้เสียโดยตรง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุแต่เพียงจำนวนเนื้อที่ที่แบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่นเป็นการแบ่งอย่างเลื่อนลอยไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินที่ได้รับแบ่งตั้งอยู่ส่วนใด มีอาณาเขตอย่างไร ผู้ได้รับส่วนแบ่งไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินกันได้ถูกต้อง จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลฎีกาส่งเรื่องคืนให้ศาลชั้นต้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินกันให้มีอาณาเขตแน่นอนว่าส่วนใดเป็นของใครบ้างนั้น ไม่เข้าเหตุหนึ่งเหตุใด ตามข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งโจทก์จะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาส่งมอบที่ดินตามคำขอให้แก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิ ถือเป็นการแบ่งที่ดินได้ ไม่เกินคำขอ
ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ทั้งเจ็ดขอให้บังคับจำเลยแก้ไขชื่อผู้ถือสิทธิตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) เลขที่ 150 และ 151 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่ง คำขอท้ายฟ้องเช่นนั้นมีความหมายว่า ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งนั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษา ให้จำเลยส่งมอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งเจ็ดกึ่งหนึ่งได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และเจตนาสมัครใจในการแบ่งที่ดิน
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งจำเลยแถลงไว้ว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของ ล. บิดาจำเลยและโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ต่อมา ล.ละทิ้งร้าง จำเลยได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมา จำเลยเคยจะแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า 5 ไร่ เนื่องจากเห็นแก่มารดา คำแถลงของจำเลยมิได้เกิดการถูกบังคับขู่เข็ญหรือหลอกลวง หากแต่จำเลยได้กระทำโดยสมัครใจ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: สิทธิครอบครองไม่ชัดเจน แบ่งที่ดินให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้ดำเนินการล่าช้า แต่สิทธิในส่วนแบ่งที่ดินยังคงมีอยู่
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 5 คน เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ศ. และขณะที่ ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน 2 คน โดยพี่น้องคนอื่น ๆอีก 5 คน ได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดก และโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้ว โจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1 ไร่ ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลย โดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาทเป็นการตอบแทน หากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า หลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้ว จำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลง แต่ล่าช้าเกินไป และโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสีย หาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่ เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใด ทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้ว โจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม จึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว เพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้น หาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง 3 งาน 30 ตารางวา ไม่ตรงตามที่ตกลงกัน เพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดิน โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก 70 ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง 70 ตารางวา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2) ส่วนเงินจำนวน40,000 บาท นั้น ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: บันทึกแบ่งที่ดินหลังจดทะเบียนใช้ได้ ยึดเจตนาการแบ่งตามที่ตกลง
ช.ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 26 ตารางวา แต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญ กว้างประมาณ10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบ แม้ ช.จะไม่ได้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตาม แต่ ช.ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้น หรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึก แต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ ช.จดทะเบียนการให้ ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้ว ทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไป บันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของ ช.แต่อย่างใดไม่ แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้ แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้น ช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 4 ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้น ที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ 10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน โดยศาลมีอำนาจสั่งแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 แม้ไม่มีการครอบครองส่วนสัดชัดเจน
เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามแนวแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับกันว่าจำเลยที่2และที่3ต่างมีบ้านพักปลูกอยู่บริเวณหมายเลข1และหมายเลข3ตามแผนที่พิพาทซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงการครอบครองเป็นส่วนสัดเฉพาะตัวบ้านอยู่แล้วส่วนโจทก์และจำเลยที่1ยังฟังไม่ได้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนใดเช่นนี้การที่ศาลล่างพิพากษาต้องกันให้ไปรังวัดแบ่งแยกอาณาเขตที่ดินตามส่วนในโฉนดที่ดินและตามแนวแผนที่พิพาทโดยกันส่วนของจำเลยที่2และที่3ออกส่วนที่เหลือให้แบ่งกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364จึงเป็นการชอบแล้วหาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโดยคำนึงถึงการอยู่อาศัยและหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอน
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสัดส่วนถ้าหากให้เอาที่ดินประมูลหรือขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนแล้วจำเลยอาจจะต้องรื้อบ้านของจำเลยที่ปลูกสร้างอยู่แล้วออกไปเป็นการเดือดร้อนแล้วศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยได้ส่วนแบ่งทางด้านของที่ดินที่บ้านจำเลยตั้งอยู่ได้ไม่จำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแล้วเอาเงินแบ่งกันดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจให้ส่วนแบ่งแก่จำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงความเดือดร้อนจากการรื้อถอนบ้าน
เมื่อศาลเห็นว่าหากการแบ่งที่ดินแปลงพิพาทซึ่งโจทก์ทั้งสามและจำเลยเป็นเจ้าของรวมถึงกับต้องให้จำเลยรื้อบ้านที่เป็นของจำเลยและจำเลยได้อาศัยอยู่ตลอดมาเป็นเวลานานเกินกว่า10ปีออกไปอันเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลยแล้วศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้แบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยตรงที่บ้านจำเลยปลูกอาศัยอยู่ได้โดยไม่ให้เกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยได้รับส่วนแบ่งหาจำต้องสั่งให้ทำการประมูลหรือขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ทั้งสามและจำเลยตามส่วนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ทุกกรณีไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา แบ่งที่ดินไม่ทันตามกำหนด โจทก์มีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวคือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ7(ก)และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3คนซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกันแต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกันต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลสำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งโจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30บาทซึ่งครบถ้วนตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา108และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่1ถึงที่3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่1ถึงที่3จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่4ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายโดยรับโอนมาจากโจทก์ที่3และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญากับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่4เสียหายพร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วยดังนี้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของข. แต่ละแปลงเนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง3ฉบับเป็นอย่างเดียวกันคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยการที่โจทก์ที่4ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลนั่นเองโจทก์ที่4จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของข. โดยโจทก์ที่4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายและจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของข. เมื่อโจทก์ที่4ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่4จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วยโจทก์ที่4จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ3ระบุว่า"ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อยทั้งนี้ภายในวันที่17เมษายน2531นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อยๆในนามเดิมและยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้าประปาโทรศัพท์การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่นๆที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง3แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อยๆด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการดังนั้นการที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อยๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขายทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใดๆจากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลยโจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้