พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ที่ศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องแปลงหนี้ใหม่ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาทำนองเดียวกับที่อุทธรณ์ขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้มูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิฟ้องได้ทันที ไม่ต้องทวงถาม และข้อจำกัดการยกเหตุแปลงหนี้ใหม่
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนไม่ เจ้าของรถผู้ถูกกระทำละเมิดย่อมเป็นเจ้าหนี้ ชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถที่ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่ต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226 และ 880 การที่ ก. ผู้เอาประกันภัยทำความตกลงกับจำเลยผู้ขับรถชนให้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ของ ส.แต่ก.ได้ให้ส. ซ่อมส่วนที่เสียหายอย่างอื่นที่มีอยู่ก่อนเกิดเหตุด้วยทำให้ระยะเวลาในการซ่อมเนิ่นนานออกไปอันทำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมต่ออีกครั้งหนึ่งก็ดี และการที่ ก. ตกลงกับจำเลยให้นำรถยนต์เข้าซ่อมดังกล่าวเป็นการผิดข้อตกลงกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก. ก็ได้แต่โจทก์กลับยอมตนเข้าชดใช้ค่าเสียหายโดยเสี่ยงภัยเอาเอง อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยได้ก็ดีนั้น หาใช่ข้อต่อสู้ในเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ปัญหาดังกล่าวจำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่, การโอนสิทธิจำนอง, ดอกเบี้ยทบต้น, สัญญาแปลงหนี้
ผู้แทนโจทก์ในคดียื่นสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นฟ้องและในวันนัดพิจารณา โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต่อศาลซึ่งจำเลยได้แถลงรับว่าถูกต้องเป็นความจริง และรับว่าผู้รับมอบได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และมีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจช่วงได้จริงดังนี้ เป็นการปฏิบัติชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้วผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป ส่วนประกันของหนี้เดิมอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้เช่นจำนอง ถ้าคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่มิได้ตกลงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมระงับไปด้วยเช่นเดียวกัน
มาตรา 352 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เท่านั้น การโอนสิทธิจำนองของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่แปลงใหม่ จึงทำเป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่ก็ใช้ได้ โดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองซ้ำอีกอย่างจำนองธรรมดาที่เป็นหลักทั่วไป
หนี้เดิมเป็นหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ เมื่อหนี้เดิมระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ การคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนก็ต้องระงับไปตั้งแต่วันทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ vs. แปลงหนี้ใหม่ และอายุความพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165
หนังสือสัญญารับใช้เงิน มีข้อความแสดงอยู่ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าโจทก์อยู่จริง และรับว่าคงค้างชำระอยู่ 2 จำนวน คือ 19,406.61 บาท และ 8,043 บาท ขอผัดชำระไป 6 เดือน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงสารสำคัญในหนี้เดิมอย่างใด จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
องค์การ อ.จ.ส.โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ.2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
องค์การ อ.จ.ส.โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ.2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แปลงหนี้ใหม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด กรณีสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้เดิม
การที่โจทก์และจำเลยที่ 3 แถลงร่วมกันต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของจำเลยที่ 1 เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่ ถ้าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์และโจทก์แก้อุทธรณ์ในประเด็นอื่นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องร่วมรับผิด และเปลี่ยนประเภทหนี้ เป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และตกลงที่จะผูกพันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง มีผลให้หนี้เดิม คือ หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้ง 16 ฉบับ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและการไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้
การแปลงหนี้ใหม่เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป แม้โจทก์จะยอมรับเช็คของจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นการชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ตามเช็คก็มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ไปเป็นจำเลยที่ 2 แต่เป็นเพียงจำเลยที่ 2 เข้าไปเป็นผู้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้เดิมเท่านั้น หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์