พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5223/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเพื่อยืนยันความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กฎกระทรวงกำหนดให้ป่า ด. ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงด้วย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางพิพาท: แก้ไขแนวทางตามแผนที่จริงเพื่อความถูกต้องและไม่กระทบสิทธิผู้อื่น
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม แต่ก็อ้างว่าเป็นทางสาธารณะด้วย ก็เพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ส่วนทางพิพาทจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะก็สุดแล้วแต่ว่าข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าทางพิพาทเป็นทางชนิดใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตรโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50เมตร ตลอดแนวทาง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตรโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50เมตร ตลอดแนวทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แนวเขตทางพิพาทต้องเป็นไปตามแผนที่ หากศาลชั้นต้น/อุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงตามแผนที่ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม แต่ก็อ้างว่าเป็นทางสาธารณะด้วย ก็เพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ส่วนทางพิพาทจะเป็นทางภาระจำยอมหรือทางสาธารณะก็สุดแล้วแต่ว่าข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะต้องด้วยหลักเกณฑ์ของกฎหมายว่าทางพิพาทเป็นทางชนิดใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตร โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง2.50 เมตร ตลอดแนวทาง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ทางพิพาทมีความกว้าง 2.50 เมตร โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงเป็นอย่างอื่น จึงรับฟังได้เป็นยุติ แต่ตามแผนที่วิวาทแสดงชัดว่าทางพิพาทหาได้มีสภาพเป็นเส้นขนานทับแนวเขตที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นโดยล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กันไม่ เพราะบางตอนอาจกินเนื้อที่ของจำเลยน้อยหรือมากแตกต่างกันไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทำทางพิพาทลึกจากแนวเขตเส้นสีดำตามแผนที่วิวาทเข้าไปในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง 1.25 เมตร ตลอดแนวทางพิพาทจึงไม่ตรงกับแนวทางพิพาทตามที่ปรากฏในแผนที่วิวาท และอาจกระทบถึงที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วนคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็กำหนดแนวเขตชัดเจนเกินไปจนอาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแนวเขตทางพิพาทตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความมิได้โต้เถียงกันถึงความถูกต้องได้ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นว่า ให้จำเลยทำทางพิพาทเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยให้เป็นไปตามรูปแผนที่วิวาท โดยให้ทางพิพาทมีความกว้าง2.50 เมตร ตลอดแนวทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมายและแผนที่แนบท้าย หากเกินขอบเขตที่ระบุถือเป็นการละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน ... พ.ศ.2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา15 ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพ.ร.บ.ซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ให้แก่กรมทางหลวง แต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ระบุว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวา โดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้าย พ.ร.บ.เท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตรา พ.ร.บ.ขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้าย พ.ร.บ. และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ด้วย ดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์...พ.ศ.2532แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้
เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้อง การที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆ ในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์
เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้อง การที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆ ในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามแผนที่และบัญชีรายชื่อ หากเกินขอบเขตเป็นการละเมิด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่ จำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ของที่ดินซึ่งระบุไว้ ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งต้องเวนคืน แม้จะยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ ก็จะถือว่าที่ดินส่วนซึ่งจำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยคดีของโจทก์ทั้งสองว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปยึดถือครอบครอง ซึ่งหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเข้าครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท แสดงว่า โจทก์ทั้งสองมิได้สูญเสียที่ดินพิพาทไป โจทก์ทั้งสองจึง มิได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่ากับราคาที่ดินซึ่งโจทก์ ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก จำเลยทั้งสี่ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานเพียงพอ และการแบ่งทรัพย์สินรวมโดยอาศัยแผนที่ที่คู่ความรับรอง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงแผนที่ทางหลวงไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ จึงไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์
แผนที่ทางหลวงเป็นเอกสารราชการของกรมทางหลวง โจทก์ได้ขออนุมัติกรมทางหลวงเพื่อจัดพิมพ์ โดยโจทก์ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สวยงามเพื่อความเหมาะสมในการใช้ แต่โจทก์มิได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอันเป็นสาระสำคัญจากแผนที่เดิมแต่อย่างใด สำหรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบเข็มทิศและเส้นมาตราส่วน ตลอดจนแผนภูมิระยะทางระหว่างจังหวัดในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยก็เป็นสัญลักษณ์สากลและใช้กันทั่วไปในแผนที่ต่าง ๆ ซึ่งบุคคลทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้ งานที่โจทก์ทำจึงเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยโดยลอกเลียนมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วและใช้กันทั่วไป โจทก์ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เอง จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในสัญลักษณ์ แผนภูมิระยะทาง รูปเข็มทิศและมาตราส่วนในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทย การที่โจทก์เพียงแต่ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาแบ่งส่วนใหม่รวมเป็นรูปเล่มและให้สีเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ทางหลวงของกรมทางหลวงในสาระสำคัญถึงขนาดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันจะพอถือได้ว่าเป็นการดัดแปลง โจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในรูปแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 9ประกอบมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จากการดัดแปลงแผนที่เดิม ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ไม่ใช่เพียงการแบ่งส่วนหรือให้สีใหม่
แผนที่ทางหลวงเป็นเอกสารราชการของกรมทางหลวงโจทก์ได้ขออนุมัติกรมทางหลวงเพื่อจัดพิมพ์โดยโจทก์ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สวยงานเมื่อความเหมาะสมในการใช้แต่โจทก์มิได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอันเป็นสาระสำคัญจากแผนที่เดิมแต่อย่างใดสำหรับสัญลักษณ์ต่างๆรวมทั้งรูปแบบเข็มทิศและเส้นมาตราส่วนตลอดจนแผนภูมิระยะทางระหว่างจังหวัดในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยก็เป็นสัญลักษณ์สากลและใช้กันทั่วไปในแผนที่ต่างๆซึ่งบุคคลทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้งานที่โจทก์ทำจึงเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยโดยลอกเลียนมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วและใช้กันทั่วไปโจทก์ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เองจึงไม่มีลิขสิทธิ์ในสัญลักษณ์แผนภูมิระยะทางรูปเข็มทิศและมาตราส่วนในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยการที่โจทก์เพียงแต่ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาแบ่งส่วนใหม่รวมเป็นรูปเล่มและให้สีเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ปรับปรับแก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ทางหลวงของกรมทางหลวงในสาระสำคัญถึงขนาดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันจะพอถือได้ว่าเป็นการดัดแปลงโจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในรูปแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521มาตรา9ประกอบมาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7610/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: เนื้อที่ดินตามแผนที่จริงสำคัญกว่าการประมาณการในคำร้อง
คำร้องขอของผู้ร้องระบุเนื้อที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์มาว่าประมาณ 50 ตารางวา ปรากฏความกว้างยาว และรูปที่ดินพิพาทตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้องส่วนที่ระบายไว้ด้วยสีม่วงหรือแผนที่พิพาทนั้นเป็นการกะประมาณเอาเนื้อที่ที่แท้จริงของที่ดินอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า50 ตารางวาก็เป็นไป ความสำคัญอยู่ที่เนื้อที่ดินส่วนที่ระบายไว้ด้วยสีม่วงในแผนที่สังเขปท้ายคำร้องซึ่งผู้ร้องครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์นั้นว่ามีเท่าใดเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินทำการรังวัดที่ดินพิพาทตามหลักวิชาการแผนที่ ปรากฏว่ามีเนื้อที่ 1 งาน ก็ต้องถือว่าเป็นเนื้อที่ของที่ดินที่ผู้ร้องเรียกร้องนั่นเอง การที่ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน ตามแผนที่พิพาทเป็นของผู้ร้องจึงไม่เกินคำร้องขอและคำขอท้ายคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและหักทาง โดยการแบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่
ข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักทางฯจำเลยที่1ถึงที่3มิได้ประสงค์จะให้ที่ดินที่แบ่งแยกเป็นทางนั้นตกเป็นของผู้หนึ่งผู้ใดในระหว่าง เจ้าของรวมด้วยกันจำเลยที่1ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินที่มี กรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ให้แก่โจทก์นอกจากจะระบุเนื้อที่ดินที่จะยกให้ว่ามีเนื้อที่385ตารางวาแล้วยังกำหนดด้วยว่ายอมให้ทำถนนผ่านกว้าง3เมตรตามแผนที่ท้ายสัญญายอมที่สัญญายอมระบุว่าจำเลยที่1ยกที่ดินให้โจทก์385ตารางวาจึงเป็นเพียงการกะประมาณเนื้อที่ไว้มิได้รวมถึงที่ดินแปลงที่ระบุว่าหักทางด้วยแต่อย่างใดจำเลยที่1แบ่งแยกที่ดินให้เป็นไปตามแผนที่และจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ