พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักลดหย่อนบุตรของคู่สมรสที่แยกยื่นภาษี: สามีภริยาต่างมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรคนละกึ่งหนึ่ง
ผู้มีเงินได้สามารถนำบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ไปหักลดหย่อนจากเงินได้พึงประเมินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 เพราะกฎหมายมุ่งหมายที่จะบรรเทาภาระภาษีให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกันสำหรับภริยาที่มีเงินได้และแยกยื่นรายการและเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) นั้น มาตรา 57 เบญจ วรรคสอง (2) กำหนดให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้สำหรับบุตรที่หักลดหย่อนได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 47(1)(ค)และ(ฉ) คนละกึ่งหนึ่ง ปรากฏว่าในปีภาษีที่พิพาท โจทก์และ อ. เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายและต่างก็มีเงินได้ โดย อ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แบบ ภ.ง.ด. 91 ตามมาตรา 40(1) โจทก์และ อ. จึงต่างมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรทั้งสามซึ่งเกิดจากภริยาเดิมของโจทก์ได้คนละกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9759/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรณีสามีภริยาแยกยื่นภาษี: สิทธิของแต่ละฝ่ายและความถูกต้องของการประเมิน
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี หลักในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยา ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมา กฎหมายถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ
แม้โจทก์จะเคยเสียภาษีมาในฐานะคนโสดแต่ภายหลังมีภริยาและต้องเสียภาษีในฐานะมีคู่สมรสมิใช่ในฐานะคนโสดอีกต่อไป ทั้งภริยาของโจทก์มีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ จึงไม่ถือว่าเงินได้ของภริยาโจทก์นั้นเป็นเงินได้ของโจทก์ด้วยตามมาตรา 57 เบญจ โจทก์และภริยาจึงต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ)กึ่งหนึ่ง ตามบทบัญญัติของมาตรา 57 เบญจ (6) ส่วนจำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากรให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่วิธีการหักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 57 เบญจ (6) ซึ่งให้สิทธิภริยาหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) กึ่งหนึ่ง ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภริยาโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และได้แยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ภริยาโจทก์จึงมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม แม้หากในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีภริยาของโจทก์มิได้หักค่าลดหย่อนส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้องเสียภาษีเกินไป ก็มีสิทธิขอคืนได้และกรมสรรพากรก็มีหน้าที่ต้องคืนให้โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เพียง 5,000 บาท
แม้โจทก์จะเคยเสียภาษีมาในฐานะคนโสดแต่ภายหลังมีภริยาและต้องเสียภาษีในฐานะมีคู่สมรสมิใช่ในฐานะคนโสดอีกต่อไป ทั้งภริยาของโจทก์มีเงินได้ซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ จึงไม่ถือว่าเงินได้ของภริยาโจทก์นั้นเป็นเงินได้ของโจทก์ด้วยตามมาตรา 57 เบญจ โจทก์และภริยาจึงต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ)กึ่งหนึ่ง ตามบทบัญญัติของมาตรา 57 เบญจ (6) ส่วนจำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากรให้หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่วิธีการหักต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 57 เบญจ (6) ซึ่งให้สิทธิภริยาหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) กึ่งหนึ่ง ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภริยาโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และได้แยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีต่างหากจากโจทก์ มิใช่กรณีที่ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ภริยาโจทก์จึงมีสิทธิหักค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม แม้หากในการยื่นรายการเพื่อเสียภาษีภริยาของโจทก์มิได้หักค่าลดหย่อนส่วนนี้ไว้ ทำให้ต้องเสียภาษีเกินไป ก็มีสิทธิขอคืนได้และกรมสรรพากรก็มีหน้าที่ต้องคืนให้โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เพียง 5,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นภาษีของคู่สมรส: เงินได้บางส่วนต้องรวมคำนวณภาษีกับคู่สมรส
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (4) (ก) นั้น ถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์