คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แลกเปลี่ยน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็ค: ผลกระทบต่อสิทธิฟ้องคดีอาญา
การที่ผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน 25 ฉบับ เป็นการแลกเปลี่ยนกับเช็คพิพาท โดยยอมคืนเช็คพิพาทแก่จำเลยที่ 1 แต่ยังไม่อาจคืนให้ในขณะรับเช็ค25 ฉบับ และผู้เสียหายนำเช็คบางฉบับของจำนวน 25 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินแล้วแสดงว่าผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวและสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาเอากับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คด้วย ข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการยอมความกัน ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินตามเช็คจำนวน 25 ฉบับ ตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็ค ไม่ทำให้สิทธิดำเนินคดีอาญาในเช็คพิพาทซึ่งระงับไปแล้วเปลี่ยนแปลงไป เพราะผู้เสียหายสามารถที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ออกเช็คจำนวน 25 ฉบับ เป็นคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความแลกเปลี่ยนเช็คทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คเดิมระงับ
การที่ผู้เสียหายยอมรับเช็คจำนวน25ฉบับเป็นการ แลกเปลี่ยนกับเช็คพิพาทโดยยอมคืนเช็คพิพาทแก่จำเลยที่1แต่ยังไม่อาจคืนให้ในขณะรับเช็ค25ฉบับและผู้เสียหายนำเช็คบางฉบับของจำนวน25ฉบับไปเรียกเก็บเงินแล้วแสดงว่าผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิตามเช็คดังกล่าวและสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาเอากับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คด้วยข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการยอมความกันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่ผู้เสียหายไม่ได้รับเงินตามเช็คจำนวน25ฉบับตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนเช็คไม่ทำให้สิทธิดำเนินคดีอาญาในเช็คพิพาทซึ่งระงับไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปเพราะผู้เสียหายสามารถที่จะดำเนินคดีแก่ผู้ออกเช็คจำนวน25ฉบับเป็นคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่หากมีการส่งมอบทรัพย์สินและชำระหนี้บางส่วนแล้ว ย่อมบังคับใช้ได้
ทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ และทำสัญญากันโดยที่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนกับจำเลย ได้ส่งมอบที่ดินในส่วนที่ตกลงแลกเปลี่ยนให้แก่จำเลยแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพราะได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากันบางส่วนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์นำมาฟ้องบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ หลังจากโฉนดที่ดินพิพาทได้ออกแล้ว โจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ และจำเลยก็ได้ไปยังสำนักงานที่ดินเมื่อเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2522 เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ขาดสิทธิครอบครองแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฟังว่าสัญญาแลกเปลี่ยนไม่เป็นโมฆะ ใช้บังคับได้ การที่จะวินิจฉัยต่อไปว่า สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ตามฎีกาของจำเลยย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยแลกเปลี่ยนไม่ได้กรรมสิทธิ์ แม้ครอบครองนานแค่ไหน ก็เป็นเพียงการครอบครองแทน
จำเลยเอาที่นาของจำเลยมาแลกกันทำกินกับที่พิพาทของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองทำกินในที่พิพาทมาช้านานเพียงใดจำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทเพราะการครอบครองของจำเลยเป็นการครอบครองแทนและโดยอาศัยสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยเสน่หาเพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินอื่น ไม่อาจถอนคืนได้แม้มีเหตุเนรคุณ
โจทก์ฟ้องขอถอนคืนที่ดินที่ยกให้จำเลยเพราะเหตุเนรคุณเมื่อได้ความว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพราะจำเลยยินยอมโอนที่ดินแปลงอื่นให้แก่บุตรโจทก์อีกคนหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกัน กรณีเช่นนี้จะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณเมื่อเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
โจทก์ฟ้องขอถอนคืนที่ดินที่ยกให้จำเลยเพราะเหตุเนรคุณเมื่อได้ความว่าโจทก์ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยเพราะจำเลยยินยอมโอนที่ดินแปลงอื่นให้แก่บุตรโจทก์อีกคนหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกัน กรณีเช่นนี้จะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การนำสืบเจตนาจริงเพื่อบังคับตามสัญญาแลกเปลี่ยน แม้ฟ้องขอให้บังคับขาย
คู่ความย่อมนำสืบเจตนาอันแท้จริงเรื่องนิติกรรมอำพรางได้ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้ขายเมื่อทางพิจารณาปรากฏว่าเป็นเรื่องแลกเปลี่ยน โจทก์จะขอให้ศาลบังคับให้แลกเปลี่ยนโดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับเช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเงินปลอมหลังรู้ว่าเป็นของปลอม มีความผิดตาม ม.204
ได้เงินปลอมมาโดยไม่รู้สึก ภายหลังรู้ว่าเป็นเงินปลอมมีผิดตาม ม.204

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21414/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในนิติกรรม: การยกที่ดินโดยเข้าใจผิดว่าเป็นแลกเปลี่ยน ทำให้โมฆะและเพิกถอนได้
การกระทำของ ส. ที่ดำเนินการเพื่อให้ได้ที่ดินของโจทก์มาแต่ต้นก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดในขณะนั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว การที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาที่ดินไว้จากโจทก์ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่ง ส. ทำไว้แทนตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันข้อสัญญาที่นายสมหมายให้ไว้ต่อโจทก์ว่าจะหาที่ดินมาแลกเปลี่ยนกับที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายห้องชุดที่สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินและการแลกเปลี่ยนห้องชุดโดยมีผลผูกพัน
ในการตกลงซื้อห้องชุดทั้ง 8 ห้อง ของโจทก์จากจำเลยนั้น โจทก์มีความประสงค์จะได้ห้องที่อยู่ชั้นบนสุด การที่จำเลยขออนุญาตดัดแปลงอาคารชุดจากที่มีเพียง 27 ชั้น เป็น 30 ชั้น ในภายหลังจากที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยแล้ว โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและต่อมาโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวจากจำเลยโดยเข้าใจว่าห้องที่รับโอนมาอยู่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์ของโจทก์ที่ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยมาแต่แรก นิติกรรมการโอนห้องชุดดังกล่าวระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญหากโจทก์ทราบว่าห้องชุดที่รับโอนกรรมสิทธิ์มามิใช่ชั้นสูงสุดตามความประสงค์โจทก์คงจะไม่ยอมรับโอน ดังนั้น นิติกรรมการโอนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 แต่โจทก์มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในห้องชุดทั้ง 8 ห้องดังกล่าวยังคงเป็นของโจทก์อยู่ การที่โจทก์ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้นที่ 26 และ 27 ทั้ง 8 ห้อง คืนให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดชั้นที่ 29 และ 30 ให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าคู่กรณีต่างตกลงโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันอันเป็นการแลกเปลี่ยนตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 ซึ่งมาตรา 519 ให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายมาใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วยดังนั้น การแลกเปลี่ยนห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น ค่าฤชาธรรมเนียมการโอนโจทก์และจำเลยจึงพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457