พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาเป็นตัวแทนจำหน่ายและการรับผิดในสัญญาซื้อขายรถยนต์
จำเลยที่ 1 อ้างแก่โจทก์ว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการขายรถยนต์ จำเลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำหน่ายรถยนต์ซึ่งหัวกระดาษเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และลูกค้าทั่ว ๆ ไป ที่มาซื้อรถยนต์ จำเลยที่ 2 ทราบแต่ไม่ได้ทักท้วงหรือสั่งห้ามจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์พิพาทขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้อง รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทางนิติกรรมโดยปริยาย (การเชิดตัวแทน) และผลผูกพันตามกฎหมาย
ทางพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต่อมาจำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาทออกเป็น10 แปลง เนื้อที่แปลงละ 50 ตารางวา โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 1 แปลง และผ่อนชำระเงินจนครบถ้วนแล้วโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะการที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นเป็นเงินรายละ 20,000 บาท โดยบางครั้งจำเลยที่ 2เป็นผู้รับชำระค่าที่ดินนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินค่าผ่อนชำระราคาที่ดินจากผู้ซื้อและรับชำระเงินค่าผ่อนที่ดินแทน และฝ่ายจำเลยที่ 1 เพิ่งจะไม่ยอมตกลงยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะหลังจากจำเลยที่ 2ตกลงทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วถึง20 กว่าวัน เป็นการแสดงออกของจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2ออกเป็นตัวแทน หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินของจำเลยที่ 1ตลอดมาได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำบันทึกยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยคิดค่าตอบแทนจากโจทก์และผู้ซื้อที่ดินรายอื่นแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้รับประโยชน์ต้องแสดงเจตนาและชำระหนี้ตามกำหนด จึงมีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับออกไป โดยอ้างว่าเพื่อประโยชน์แก่ความยุติธรรม ดังนี้มิใช่คำร้องขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่เป็นเรื่องขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลายื่นฎีกาและคำร้องขอทุเลาการบังคับให้ใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะอนุญาตได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ช. บิดาโจทก์ที่ 4 และจำเลยที่ 1เป็นบุตรของ ฉ. โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ฉ. ได้ความตามที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า ฉ. ขอยืมเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้ว สัญญายกที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท คนละ 15 ไร่ 1 งาน โดยให้ทายาททุกคนชำระเงินคนละ 4,400 บาทแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ ถือว่า ฉ. กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ทำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงมิใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช. บิดาของโจทก์ที่ 4มิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และเสนอจะชำระเงินคนละ 4,400 บาท ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และโจทก์ที่ 4 บุตรของ ช. จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาส่วนโจทก์ที่ 1 แม้จะไปยื่นคำขออายัดที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินอ้างว่าได้เตรียมเงินจำนวน 4,400 บาทไปชำระตามข้อกำหนดในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงโจทก์ที่ 1 น่าจะต้องระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำขออายัด โจทก์ที่ 1 จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ตามสัญญาเช่นเดียวกันและเมื่อโจทก์ทั้งสี่หมดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 แบ่งที่ดินพิพาทให้ดังกล่าวแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสัญญาและการแสดงเจตนาของตัวแทน กรณีจำเลยต่างชาติมีสาขาในไทย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อตกลงในคำร้องขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณของโจทก์ที่จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยคำร้องดังกล่าวมีข้อความว่า ข้าพเจ้ายอมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพื่อนำเรือเข้ามาจอด ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เรือซัมเมอร์เบย์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1ในประเทศไทย และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว และการที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1ในประเทศไทย และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว และการที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยแสดงเจตนาโอนสิทธิการเช่าได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าห้องพิพาทตามสัญญาขายสิทธิการเช่าอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การโอนสิทธิการเช่าจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้ยินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: การบังคับให้โอนสิทธิการเช่าและการแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่า
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาขอรับรถคืนก่อนศาลสั่งริบ เป็นหลักฐานแสดงความบริสุทธิ์ของผู้ร้องว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
การที่ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาและขอรับรถยนต์บรรทุกและรถกึ่งพ่วงของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อก่อนที่ศาลสั่งริบรถยนต์บรรทุกและรถกึ่งพ่วงของกลางในคดีนี้แล้วนั้น แสดงว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญา, ตัวแทนไม่มีอำนาจ, อายุความหนี้, และผลของการกระทำโดยตัวแทนที่ขัดกับประโยชน์ของต้นสังกัด
จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาขายลดเช็คกับธนาคารโจทก์สาขาลองจำเลยทั้งสามจึงต้องผูกพันตามที่แสดงออกมานั้น แม้ในข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสามจะมิได้เจตนาผูกพันตนตามที่แสดงออกมาก็ไม่ทำให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะเว้นแต่โจทก์จะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา117 เดิม (มาตรา 154 ที่แก้ไขใหม่) แม้ ส. ผู้จัดการโจทก์สาขาลองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นรู้ความจริงว่าส. กับป. ต้องการขายลดเช็คเองโดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คส. ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 80 เดิม (มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) ความรู้ของ ส. ว่าจำเลยทั้งสามเป็นเพียงตัวแทน ส. และ ป. จึงถือเป็นความรู้จากโจทก์ด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค สิทธิเรียกร้องต้นเงินตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) คือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: การสละสิทธิจากการไม่แสดงเจตนาภายในกำหนด
จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินมาก่อนที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อจำเลยได้ทราบประกาศให้ที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยไม่ยื่นแสดงสิทธิของจำเลยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีสิทธิอยู่ในเขตป่าสงวนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ จึงถือว่าจำเลยได้สละสิทธิหรือประโยชน์นั้นแล้วตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อป่าไม้อำเภอแจ้งว่าจำเลยบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติให้ออกไป จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกโดย ยังคงยึดถือครอบครองที่ดินนั้นต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 14,31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล การแสดงเจตนาและการแจ้งคำสั่ง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 22 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อไว้ และศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำ ส่งสำเนาให้โจทก์ใน 7 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 21มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่ง ศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับว่าจะมาฟังคำสั่ง ในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 เมื่อจำเลยที่ 2 เพิกเฉย ไม่ จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ฎีกาของจำเลยที่ 3 มีข้อความประทับด้วยตรายางของ ศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 23 มีนาคม 2533ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" แต่ผู้ที่ลงลายมือชื่อ ไว้ ใต้ตราประทับดังกล่าวไม่ใช่จำเลยที่ 3 หรือทนายจำเลยที่ 3 ทั้งไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 หรือ ทนายจำเลยอย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้ จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ใน 7 วัน แต่เป็นการสั่งในวันที่ 21 มีนาคม 2533 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจาก จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่ง ศาลชั้นต้นแล้ว แม้จำเลยที่ 3 ไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)