พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์: การกระทำที่ไม่ได้มุ่งแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สิน
ก่อนเกิดเหตุ เวลาประมาณ 22 นาฬิกา จำเลยทั้งสามนั่งดื่มสุราอยู่ในร้านคาราโอเกะห่างจากโต๊ะผู้เสียหายที่นั่งดื่มสุราเช่นกันเพียงประมาณ 1 เมตร ระหว่างที่นั่งอยู่ในร้านคาราโอเกะจำเลยทั้งสามและผู้เสียหายต่างก็ร้องเพลงคาราโอเกะ ต่อมาเวลาประมาณ 1 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น ผู้เสียหายกลับบ้านก่อนจำเลยทั้งสามประมาณ 5 นาที จากนั้นจำเลยทั้งสามได้ไปหาผู้เสียหายที่บ้านและขอร้องให้ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์ไปส่งอย่างเปิดเผย ไม่ได้ปิดบังหรืออำพรางตัว ผู้เสียหายตกลงโดยให้จำเลยทั้งสามนั่งรถจักรยานยนต์ไปด้วย เมื่อรถวิ่งไปได้ประมาณ 100 เมตร จำเลยทั้งสามจึงทำร้ายผู้เสียหายโดยการเตะและกระทืบ ก่อนที่จะทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยทั้งสามไม่ได้เรียกร้องเอารถจักรยานยนต์หรือทรัพย์สินอื่นของผู้เสียหายก่อน หลังจากจำเลยทั้งสามทำร้ายผู้เสียหายแล้ว ได้ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายออกไปจากที่เกิดเหตุเพียง 100 เมตร ก็จอดรถทิ้งไว้โดยจอดไว้ริมถนนข้างบ้าน ว. ผู้ใหญ่บ้านท้องที่ที่เกิดเหตุโดยเปิดเผยและเสียบกุญแจรถคาไว้ทั้งที่จำเลยทั้งสามสามารถนำรถจักรยานยนต์ไปได้โดยสะดวก เพราะไม่มีผู้ใดติดตามและเป็นยามวิกาล จากนั้นจำเลยทั้งสามพากันไปนอนที่บ้านของจำเลยที่ 1 มิได้หลบหนีและเมื่อทราบว่าเจ้าพนักงานตำรวจติดตามหาตัวจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามก็ยินยอมให้ ว. พาไปมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนโดยดี และให้การต่อพนักงานสอบสวนว่า มีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ประสงค์จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสามมิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินโดยแท้จริง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ จำเลยทั้งสามคงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาขายทรัพย์สินของผู้น้อยโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ต้องขออนุญาตศาลหากเป็นการขายทรัพย์สิน ไม่ใช่การแสวงหาประโยชน์
จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทำสัญญาขายไม้เคี่ยมในส่วนที่เป็นของผู้เยาว์กับโจทก์ มิใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574(11) หากแต่เป็นการทำสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ขัดต่อมาตรา 1574 เพราะไม่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574 สัญญาซื้อขายไม้เคี่ยมมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการขุดทรายจากที่ดินผู้อื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ส.ตกลงให้จำเลยเป็นนายหน้าขายที่ดินของส.และที่ดินของโจทก์ร่วมโดยสัญญานายหน้ามีข้อตกลงว่า จำเลย จะต้องนำดินลูกรังมาถมในที่ดินดังกล่าวให้สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อให้ขายได้ราคาสูงขึ้น การที่จำเลย สั่งให้ ค. ขุดทรายแก้วในที่ดินของโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของตน และทำสัญญาขุดทรายกับ ค. โดยระบุว่าจำเลยได้รับมอบอำนาจมาจาก ว. และ ป. มิได้ระบุว่ารับมอบอำนาจมาจากโจทก์ร่วม เมื่อ ว. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว คงมีเพียง ป. เท่านั้นที่มีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาปกปิด ข้อเท็จจริงไม่ให้ ค. ทราบว่าที่ดินเป็นของโจทก์ร่วมปรากฏว่าจำเลยขายทรายแก้วที่ขุดได้ให้แก่ ค. ในราคาถึง87,000 บาท โดยมิได้นำเงินนั้นมอบแก่โจทก์ร่วม นับว่าเป็นการ กระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองแล้ว การกระทำของจำเลยมีเจตนาทุจริต มิใช่การกระทำตามสัญญาโดยอาศัยสิทธิอันชอบธรรม เพื่อ ผลประโยชน์ของคู่สัญญาอันเป็นเรื่องทางแพ่ง แต่เป็น ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการลอกเลียนแบบและแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM" กับรูปม้าบนอักษร"J" และ "STUGERON" กับรูปม้าบนอักษร "J" โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลาย จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือด และใช้ตัวยา "FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์ เครื่องหมายการค้า "STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM" คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน 9 ตัว อักษร 3 ตัวแรก ตรงกับอักษร 3 ตัวแรกของคำว่า "STUGERON" และอักษร 6 ตัวหลังตรงกับอักษร 6 ตัวหลังของคำว่า "SIBELIUM" ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะ ไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี 26 ตัว หากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อน โอกาสที่จะตรงกันถึง 9 ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก การที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM" แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUGERON" มาในฟ้อง โจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็น หาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้าง จะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์ 2 เครื่องหมาย มาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย และใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกัน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "STUBELIUM" ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SIBELIUM" ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: การตัดต่อเครื่องหมายเดิมและการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM""ไซบีเลี่ยม""สตูเจอร่อน""SIBELIUM"กับรูปม้าบนอักษร"J"และ"STUGERON"กับรูปม้าบนอักษร"J"โดยโจทก์ใช้กับสินค้ายารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจนเป็นที่แพร่หลายจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"หลังโจทก์หลายปีโดยใช้กับสินค้ายาขยายหลอดเลือดและใช้ตัวยา"FLUNARIZINE"ตัวเดียวกับยาของโจทก์เครื่องหมายการค้า"STUBELIUM"ของจำเลยเป็นการผสมของพยางค์""STU+BELIUM"คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน9ตัวอักษร3ตัวแรกตรงกับอักษร3ตัวแรกของคำว่า"STUGERON"และอักษร6ตัวหลังตรงกับอักษร6ตัวหลังของคำว่า"SIBELIUM"ซึ่งล้วนเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นเฉพาะไม่ใช่คำที่ใช้สามัญอักษรโรมันมี26ตัวหากจำเลยคิดประดิษฐ์เองโดยไม่ได้เห็นคำทั้งสองที่โจทก์ประดิษฐ์ใช้มาก่อนโอกาสที่จะตรงกันถึง9ตัวเรียงกันเช่นนั้นย่อมเป็นไปได้ยากการที่โจทก์นำสืบถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของจำเลยในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จะให้เหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUGERON"มาในฟ้องโจทก์ก็มีสิทธินำสืบและเป็นการนำสืบในประเด็นหาใช่นอกประเด็นไม่ กรณีพิพาทเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่างแต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันและเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันไม่ได้ต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและความสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้ากับสภาพแห่งท้องตลาดการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่แพร่หลายของโจทก์2เครื่องหมายมาตัดตอนหัวท้ายนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยและใช้กับสินค้ายารักษาโรคชนิดเดียวกันโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ลงทุนโฆษณาตามวิสัยทางการค้าเลยจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตการที่จำเลยลอกเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาตัดต่อเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมทำให้สาธารณชนสับสนอาจเข้าใจได้ว่าเป็นของโจทก์ได้ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"STUBELIUM"ของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"SIBELIUM"ของโจทก์ถึงขนาดเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากแสวงหาประโยชน์จากลูกจ้างของนายจ้าง ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหาร ในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่ง เป็นเวลานานประมาณ 10 วัน เป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น เกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ 47(1) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำกิจการแทนจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว คำบรรยายฟ้องของโจทก์และคำขอบังคับเป็นการฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง ทั้งข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองก็แถลงรับว่าจำเลยเริ่มผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนฟ้อง โดยโฆษณาว่าจำเลยเป็น ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทยการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ดังข้ออ้างตามคำฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) และ WOOLCO (วูลโก) และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์ และโจทก์ได้ใช้แพร่หลายในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต การที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD ที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน นอกจากมีคำหน้าว่า WOOL ตรงกับคำหน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับคำท้ายของเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) และ WOOLCO (วูลโก) และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์ และโจทก์ได้ใช้แพร่หลายในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนาให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต การที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1
เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD ที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน นอกจากมีคำหน้าว่า WOOL ตรงกับคำหน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับคำท้ายของเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA, WOOLWO และ WOOLWARD
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH (วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่1 เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำกิจการแทนจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว คำบรรยายฟ้องของโจทก์และคำขอบังคับเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองทั้งข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองก็แถลงรับว่าจำเลยเริ่มผลิตสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนฟ้องโดยโฆษณาว่าจำเลยเป็น ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทยการกระทำของจำเลยทั้งสอง อาจเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อ โจทก์ดังข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์จึง มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)และWOOLCO(วูลโก)และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ใช้แพร่หลาย ในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับ ผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็น ตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว ในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนา ให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้า ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริตการ ที่ จำเลยที่1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA,WOOLWO และ WOOLWARDที่จำเลยที่1ขอจดทะเบียนนอกจากมีคำหน้าว่า WOOLตรงกับคำหน้า ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของ เครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับ คำท้ายของเครื่องหมายการค้าWOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWAWOOLWO และWOOLWARD เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลย โดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชน เกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการกระทำของจำเลย เป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อ/เครื่องหมายคล้ายกัน ทำให้สาธารณชนสับสน และแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงผู้อื่น
จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้นามภาษาไทยว่า "บริษัทยอร์ค จำกัด" แม้จำเลยจะใช้นามเป็นภาษาอังกฤษซึ่งส่วนหนึ่งมีคำว่า "YORK" ตรงกับส่วนหนึ่งของนามโจทก์ที่ 2 แต่นามภาษาไทยและนามเต็มภาษาอังกฤษก็แตกต่างกับนามโจทก์ที่ 2 จำแนกได้ชัดแจ้งว่ามิใช่นิติบุคคลเดียวกัน อนึ่ง โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ ไม่ปรากฏว่าได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งไม่ได้ความว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ประการใด จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "YORK" ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า "YORK INC. LTD." สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า "YORK" ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า "INC. LTD." ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า "YORK" ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "YORK" ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวก 6 และ 18 ผู้อื่นจึงไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจำเลยใช้คำว่า "YORK INC. LTD." สำแดงให้ปรากฏกับสินค้าจำพวก 6 ประเภทเครื่องปรับอากาศที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย โดยคำว่า "YORK" ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่มีลักษณะเหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 คำว่า "INC. LTD." ใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก ได้ความว่า ส. กรรมการแต่ผู้เดียวของบริษัทจำเลยเคยเป็นตัวแทนช่วงจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยมาก่อน สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศของจำเลยก็มีรูปลักษณะส่วนใหญ่เหมือนของโจทก์ที่ 1 แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้ปรากฏควบคู่อยู่ด้วยแต่ก็เป็นตัวอักษรขนาดเล็ก พฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบกันฟังได้ชัดแจ้งว่าจำเลยมุ่งหวังใช้คำว่า "YORK" ให้เป็นที่สังเกตในลักษณะเครื่องหมายการค้า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 หรือโจทก์ที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ที่ 1 มีสิทธิขอให้ห้ามได้
ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่นั้น มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดมาตรา 151 และ 147: การแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ vs. การยักยอกทรัพย์
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ก็ต่อเมื่อ ผู้กระทำผิดมีหน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ แล้วใช้อำนาจในตำแหน่งแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาตัวทรัพย์ไป ไม่ใช่เพียงแต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นเท่านั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินงานควบคุมจัดการกิจการประปาของเทศบาล ได้ติดตั้งการใช้น้ำประปาให้ ส. กับพวก แล้วไม่ลงทะเบียนผู้ใช้น้ำประปา เรียกเก็บค่าใช้น้ำประปาทุกเดือน และออกหลักฐานจำนวนก๊อกน้ำประปาของผู้ติดตั้งน้อยกว่าความจริง แล้วเก็บเงินมากกว่าจำนวนค่าธรรมเนียมที่เทศบาลกำหนด และโจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงว่าจำเลยเบียดบังยักยอกเอาเงินรายได้ 3,955 บาท จากกิจการประปาของเทศบาลที่จำเลยรับไว้จาก ส. กับพวก ไว้เป็นประโยชน์ส่วตัว โดยทุจริต ดังนี้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 151 ด้วย