พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงแหล่งกำเนิดสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้า และความรับผิดของผู้จัดการห้างหุ้นส่วนในการละเลยป้ายน้ำมัน
โจทก์ร่วมทำสัญญากับจำเลยซึ่งประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน โดยให้จำเลยมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องซื้อน้ำมันจากโจทก์ร่วมมาจำหน่ายเท่านั้น จำเลยผิดสัญญาโดยไปซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นมาจำหน่าย โจทก์ร่วมบอกเลิกสัญญาให้จำเลยส่งคืนสถานีบริการน้ำมันแก่โจทก์ร่วม รวมทั้งเพิกถอนความยินยอมให้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม แต่จำเลยก็ยังคงประกอบการค้าต่อไปโดยซื้อน้ำมันจากที่อื่นมาจำหน่าย และยังคงติดป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมัน โดยมิได้แสดงเครื่องหมายให้ประชาชนเข้าใจว่าสถานีบริการน้ำมันนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำมันของโจทก์ร่วม แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าที่จำเลยจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นการขายของโดยหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดแห่งของอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 271
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยเฉพาะในส่วนที่จำเลยได้ขายน้ำมันให้แก่ ส. และ อ. ซึ่งเป็นผู้ไปทำการล่อซื้อน้ำมันดังกล่าว โดยที่ ส. และ อ. มิได้หลงเชื่ออยู่แล้วว่าน้ำมันที่จำเลยนำออกจำหน่ายนั้นเป็นน้ำมันของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล อันเป็นการพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 80
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 49 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งละเลยไม่ปิดป้ายเครื่องหมายไว้ ณ ที่ที่เห็นได้ง่ายตามมาตรา 9 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สำหรับการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงคือห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2474 มาตรา 9 , 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนในแหล่งกำเนิดสินค้า แม้มีอักษรที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การที่เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรก จากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวอักษรเดียวกัน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าตามเครื่องหมายการค้าทั้งสอง แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน และเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 13 ทั้งจำพวก และได้มีการต่ออายุเรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงยังคงถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 117 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้