พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอน แม้โครงสร้างแข็งแรง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ระบุใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้ แต่ในการดำเนินการ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 21 อีกด้วย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรจะต้องรื้อถอน