พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพิ่มเติม: โจทก์ต้องนำสืบประเด็นสำคัญตั้งแต่ต้น หากละเลย ศาลไม่อนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งชื่อไทยและจีน ได้กู้เงินโจทก์ที่ฮ่องกงทำหลักฐานการกู้และลงลายมือชื่อไว้เป็นภาษาจีน จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ที่ฮ่องกง หลักฐานการกู้โจทก์ปลอมแปลงขึ้น ลายเซ็นชื่อในเอกสารไม่ใช่ลายมือขื่อของจำเลย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นาสืบว่าชื่อในหลักฐานการกู้เป็นชื่อของจำเลยและไม่ปลอม ทั้งขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้น จำเลยอยู่และหาหลักฐานให้โจทก์ที่ฮ่องกง ต่อเมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว ระหว่างการสืบพยานจำเลย โจทก์จึงเพิ่งยื่นคำร้องว่าที่จำเลยเบิกความว่าอ่านเขียนภาษาจีนไม่เป็น ไม่ได้ขื่อภาษาจีน ไม่ได้ไปฮ่องกงในปีที่ลงในสัญญากู้นั้น โจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบ สนับสนุนข้ออ้างของตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 แต่ปรากฏว่าในชั้นที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยาน แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้ว และเตรียมพร้อมที่จะนำสืบพิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวอันอยู่ในประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบมาแต่ต้นแล้ว แต่ในการนำสืบของโจทก์ โจทก์ก็มิได้แสดงหลักฐานเหล่านี้ต่อศาล ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างและขอนำสืบพยานเพื่อเพิ่มเติมคดีของโจทก์ กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าโจทก์ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าถึงข้อนำสืบของจำเลยหาได้ไม่ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องดังกล่าของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม, โจทก์ละเลยการตรวจสอบ, ศาลลดค่าเสียหาย
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการที่ประชาชนให้ความไว้วางใจย่อมต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละเอียดรอบคอบ การที่พนักงานของจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมและผิดเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็ค จึงเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถือว่าจำเลยผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยจะยกข้ออ้างว่า พนักงานของจำเลยโทรศัพท์สอบถามผู้จัดการของโจทก์เกี่ยวกับการลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเกินจำนวน และยกพฤติการณ์ในการเก็บรักษาเช็คพิพาทว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ ตลอดจนอ้างว่าโจทก์ผู้รับรองการถอนเงินตามเช็คเป็นการรับสภาพหนี้ ขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คปลอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดหาได้ไม่ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์มอบให้ผู้จัดการของโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาสมุดเช็คของโจทก์ไว้ผู้เดียว ซึ่งไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ที่ให้คณะกรรมการของโจทก์เก็บรักษาสมุดเช็คโจทก์ และการยอมให้กรรมการผู้มีอำนาจบางคนลงลายมือชื่อในเช็คไว้ล่วงหน้าทั้งการสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเงินจำนวนมากกลับจ่ายเป็นเช็คผู้ถือ โดยไม่ระบุชื่อผู้รับเงินและไม่ขีดคร่อมเช็คตามข้อบังคับของโจทก์รวมทั้งไม่ตรวจสอบรายการเดินบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยส่งให้ทราบทุกเดือน จนทำให้มีผู้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีโจทก์ถึง 44 ฉบับ ในช่วงระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยด้วย