พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของศูนย์การค้าและผู้รับจ้างดูแลความปลอดภัยต่อการโจรกรรมรถยนต์ของผู้ใช้บริการ
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ ++
++ จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วย การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
++ จำเลยที่ 2 และบริษัท ธ. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ต พลาซ่า ร่วมกัน การที่บริษัท ธ. ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มาดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าดังกล่าว จึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของบริษัท ธ. และจำเลยที่ 2 ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังทำหน้าที่ส่งพนักงานรักษาความปลอดภัยไปดูแลรักษาความปลอดภัยที่ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่าที่เกิดเหตุ พฤติการณ์ของบริษัท ธ. กับจำเลยที่ 2 ที่ประกอบกิจการค้าร่วมกัน โดยมีชื่อจำเลยที่ 2 และชื่อศูนย์การค้าดังกล่าวติดอยู่ในอาคารเดียวกัน และมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยในศูนย์การค้านั้น ย่อมเป็นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของหรือได้ร่วมกับเจ้าของศูนย์การค้าดังกล่าวมอบหมายให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการด้วย การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของนาย ส. ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของตนในผลแห่งละเมิดต่อนาย ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของศูนย์การค้าดังกล่าว จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 420 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์ของผู้ใช้บริการ และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
ตามฟ้องของโจทก์มิได้ให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้ชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ เรื่องฝากทรัพย์จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ อาคารจอดรถของบริษัทจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทางทางออก 1 ทาง ปากทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงินพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา 5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยด้านหน้าบัตรมีข้อความว่า บริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังมีข้อความว่า ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออก มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับ บัตรและปล่อยรถออก แม้ผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็น ผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง อีกทั้งที่ด้านหลังบัตรมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือ เสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเอง ทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถ โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้มีบริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ ทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ อาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ไม่ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น ดังนี้ การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่รถยนต์ของโจทก์สูญหายไปจึงเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการ โจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 5 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา 425 คดีละเมิด แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยถึงจำนวนความเสียหายของโจทก์และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเสียใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์: หน้าที่ดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานความระมัดระวัง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิดเรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบแต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่1ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถจำเลยที่5เป็นเจ้าของอาคารจอดรถอาคารจอดรถของจำเลยที่5มีทางเข้า1ทางทางออก1ทางปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน5บาทพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5บาทโดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1.ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัวเพื่อป้องกันรถหาย2.กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถฯลฯ6.บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจและในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตราที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหายสำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออกพฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเองดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เองและที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่าหากมีการสูญหายหรือเสียหายใดๆเกิดขึ้นทุกกรณีผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตามแต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่5นี้มีบริการรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่5โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคารซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน5บาทเป็นค่าตอบแทนการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อนๆของจำเลยทั้งห้าก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่1มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไปไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้นการที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยที่2ถึงที่4ยืนเก็บเงินออกบัตรจดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถที่อยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่2ถึงที่4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรงซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถมีข้อความว่าผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถมิฉะนั้นบริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยันเมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียวหากจำเลยที่2ถึงที่4ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้การที่จำเลยที่2ถึงที่4ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่2ถึงที่4ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่2ถึงที่4เป็นลูกจ้างของจำเลยที่5กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่5จำเลยที่5นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ถึงที่4ต่อโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425 คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์แต่เป็นคดีข้อหาละเมิดแม้ว่าจำเลยที่3ถึงที่5จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไปซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าและผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรมรถยนต์ในลานจอดรถ
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่ขับรถเข้ามาซื้อสินค้าโดยจำเลยที่ 1 เคยกำหนดระเบียบให้ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่บริเวณทางเข้าห้างจำเลยที่ 1 และต้องคืนบัตรจอดรถให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ทางออกห้างจำเลยที่ 1 หากไม่คืนบัตรจอดรถลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถไปได้ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมทำให้ผู้มาใช้บริการจอดรถที่ห้างจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าที่จอดรถดังกล่าวจำเลยที่ 1 จัดให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่จะนำรถยนต์เข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าในห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาในครั้งก่อน ๆ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากที่จอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถยนต์จากการยกเลิกมาตรการรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ขายปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ มีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นจำนวนมาก แม้จำเลยที่ 1 จะต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ในการดำเนินธุรกิจของจำเลยที่ 1 มีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการโดยนำรถยนต์เข้าไปในห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นปกติ การจัดสถานที่จอดรถที่สะดวกและปลอดภัยนอกจากทำเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว ยังเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการอันส่งผลต่อรายได้ของจำเลยที่ 1 อีกด้วย ลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยของรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้าไปจอดในลานจอดรถที่จำเลยที่ 1 จัดไว้เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ดังกล่าวถูกโจรกรรมได้โดยง่าย
จำเลยที่ 1 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลบริเวณทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและเครื่องกั้นจราจรสกัดกั้นมิให้ขับรถยนต์ออกไปจากลานจอดรถได้โดยสะดวก ทำให้คนร้ายฉวยโอกาสนำรถยนต์ออกจากห้างสรรพสินค้าโดยแล่นย้อนศรสวนทางออกไปในช่องทางเข้าผ่านด้านหลังของกล้องวงจรปิดทำให้กล้องวงจรปิดไม่สามารถส่องเห็นใบหน้าคนขับ หากจำเลยที่ 1 จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่ในบริเวณทางเข้าและทางออก จำเลยที่ 1 ก็จะตรวจพบความผิดปกติของคนร้ายที่ขับรถย้อนศรออกไปทางช่องทางเข้าได้ในทันที เหตุรถยนต์สูญหายก็จะไม่เกิดขึ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 งดเว้นการที่จักต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมเป็นการกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 สำหรับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ดูแลทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและตามลานจอดรถตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ไปดูแลพื้นที่อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ไปดูแลบริเวณอื่นอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
จำเลยที่ 1 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลบริเวณทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและเครื่องกั้นจราจรสกัดกั้นมิให้ขับรถยนต์ออกไปจากลานจอดรถได้โดยสะดวก ทำให้คนร้ายฉวยโอกาสนำรถยนต์ออกจากห้างสรรพสินค้าโดยแล่นย้อนศรสวนทางออกไปในช่องทางเข้าผ่านด้านหลังของกล้องวงจรปิดทำให้กล้องวงจรปิดไม่สามารถส่องเห็นใบหน้าคนขับ หากจำเลยที่ 1 จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่ในบริเวณทางเข้าและทางออก จำเลยที่ 1 ก็จะตรวจพบความผิดปกติของคนร้ายที่ขับรถย้อนศรออกไปทางช่องทางเข้าได้ในทันที เหตุรถยนต์สูญหายก็จะไม่เกิดขึ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 งดเว้นการที่จักต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมเป็นการกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 สำหรับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ดูแลทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและตามลานจอดรถตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ไปดูแลพื้นที่อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ไปดูแลบริเวณอื่นอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้า: ตัวการ-ตัวแทน
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่นำมาจอดเพื่อใช้บริการของห้างจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างห้างจำเลยที่ 1 อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องมีที่จอดรถ จำเลยที่ 1 จึงต้องจัดสร้างที่จอดรถดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ในการดูแลรักษาความปลอดภัยห้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งในการนำรถยนต์เข้ามาจอด ต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 และเมื่อจะนำรถยนต์ออกต้องแสดงบัตรจอดรถที่ตรงกับหมายเลขทะเบียนรถต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ตรวจดูว่าถูกต้องจึงจะอนุญาตให้นำรถออกจากห้องของจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 ไม่เก็บค่าจอดรถ แต่ก็เป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้าตามพระราชบัญญัติของกฎหมาย และตามพฤติการณ์ยังเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของห้างจำเลยที่ 1 ที่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่น จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 3 ทั้งห้างของจำเลยที่ 1 มีลูกค้าขับรถยนต์มาจอดและเข้าซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากการดำเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยส่วนรวมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโจทก์ย่อมมีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาและแต่งตั้งให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้บริโภคขับรถยนต์พิพาทไปจอดที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยรับบัตรจอดรถฉบับบนจากจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ประจำอยู่ประตูทางเข้าของห้าง โดยจำเลยที่ 4 ได้เขียนกำกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของผู้บริโภคไว้ในบัตรจอดรถก่อนมอบให้ผู้บริโภค เมื่อจอดรถแล้วผู้เสียหายได้เข้าไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นประมาณ 50 นาที ผู้บริโภคได้กลับมาที่จอดรถ ปรากฏว่ารถยนต์พิพาทหายไปแล้ว โดยบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การออกบัตรจอดรถให้เจ้าของรถยนต์ที่ผ่านเข้ามาจอดในลานจอดรถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ โดยเขียนกำกับเฉพาะหมายเลขทะเบียนแต่ไม่ได้ระบุหมวดตัวอักษรหน้าหมายเลขทะเบียน และบัตรอ่อนไม่ระบุวันเดือนปีและเวลาที่รถยนต์เข้ามาจอด จึงง่ายต่อการปลอมแปลงและนำมาใช้ซ้ำ การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยปล่อยให้คนร้ายนำรถของผู้บริโภคออกจากลานจอดรถโดยไม่ระมัดระวังในการตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ถูกลักไป เป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างที่กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อผู้บริโภค
ตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ครอบคลุมเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างและลูกจ้างของผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่านอกจากจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วยังรวมตลอดถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรืออยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้ยังได้ระบุในสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ข้อ 7.3 ว่า "ประสานงานและให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การก่ออาชญากรรมทุกรุปแบบตลอดจนการก่อความวุ่นวาย การจลาจลต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง" ด้วย จึงย่อมรวมถึงรถยนต์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ที่มาจอดในบริเวณห้างและถูกคนร้ายลักไปเพราะการลักทรัพย์ถือเป็นการโจรกรรมและการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง จึงอยู่ในขอบเขตการว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนที่รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ในการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินในห้างจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดทำให้รถยนต์พิพาทของผู้บริโภคสูญหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้บริโภคขับรถยนต์พิพาทไปจอดที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยรับบัตรจอดรถฉบับบนจากจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ประจำอยู่ประตูทางเข้าของห้าง โดยจำเลยที่ 4 ได้เขียนกำกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของผู้บริโภคไว้ในบัตรจอดรถก่อนมอบให้ผู้บริโภค เมื่อจอดรถแล้วผู้เสียหายได้เข้าไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นประมาณ 50 นาที ผู้บริโภคได้กลับมาที่จอดรถ ปรากฏว่ารถยนต์พิพาทหายไปแล้ว โดยบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การออกบัตรจอดรถให้เจ้าของรถยนต์ที่ผ่านเข้ามาจอดในลานจอดรถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ โดยเขียนกำกับเฉพาะหมายเลขทะเบียนแต่ไม่ได้ระบุหมวดตัวอักษรหน้าหมายเลขทะเบียน และบัตรอ่อนไม่ระบุวันเดือนปีและเวลาที่รถยนต์เข้ามาจอด จึงง่ายต่อการปลอมแปลงและนำมาใช้ซ้ำ การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยปล่อยให้คนร้ายนำรถของผู้บริโภคออกจากลานจอดรถโดยไม่ระมัดระวังในการตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ถูกลักไป เป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างที่กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อผู้บริโภค
ตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ครอบคลุมเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างและลูกจ้างของผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่านอกจากจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วยังรวมตลอดถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรืออยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้ยังได้ระบุในสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ข้อ 7.3 ว่า "ประสานงานและให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การก่ออาชญากรรมทุกรุปแบบตลอดจนการก่อความวุ่นวาย การจลาจลต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง" ด้วย จึงย่อมรวมถึงรถยนต์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ที่มาจอดในบริเวณห้างและถูกคนร้ายลักไปเพราะการลักทรัพย์ถือเป็นการโจรกรรมและการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง จึงอยู่ในขอบเขตการว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนที่รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ในการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินในห้างจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดทำให้รถยนต์พิพาทของผู้บริโภคสูญหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425