พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ต้องโต้แย้งทันที หากไม่ทำจะถูกห้ามอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้า เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงานและยักยอกทรัพย์ การพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับจำนองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์คดีนี้ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และคดีดังกล่าวศาลยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบ เพียงแต่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีดังกล่าวมารับฟังในคดีนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันคืนทรัพย์แก่โจทก์หรือไม่ ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ใหม่โดยให้โจทก์และจำเลยทั้งห้านำพยานเข้าสืบต่อไปนั้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยก็จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งห้าต่อไป เมื่อคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จึงต้องโต้แย้งคำสั่งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใดจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ (ที่ถูกยก) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา มิได้ขอให้โจทก์ชนะคดีตามคำฟ้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8613/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกคดีที่อ้างสิทธิเหนือทรัพย์สิน
แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ก่อนไต่สวนคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้คัดค้านเพื่อให้มีโอกาสคัดค้านแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีมีสิทธิพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) เพราะผู้คัดค้านเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ และชอบที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านเพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านให้ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซ้ำ โดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้อความในฎีกาของโจทก์ล้วนมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นโดยคัดลอกจากข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมด ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไรและไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องของโจทก์ต่อไปด้วย ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปได้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยมิโต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรกถือเป็นการยอมรับ จึงไม่มีเหตุอุทธรณ์เรื่องอำนาจ
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวแล้วเสนอปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด คดีนี้เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง จนกระทั่งยื่นคำให้การแล้วจำเลยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งแต่อย่างใด ครั้นถึงวันนัดชี้สองสถาน ศาลแพ่งกำหนดประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การไว้ 2 ประเด็น ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์มา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย: จำเลยมิได้โต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรก จึงถือว่ายอมรับ
จำเลยมีโอกาสโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตั้งแต่จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งจนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงโต้แย้งเขตอำนาจศาลแพ่งว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยโต้แย้งอำนาจศาลภายหลังการดำเนินกระบวนการพิจารณา ถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลเดิม
จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลแพ่งชี้สองสถานกำหนดประเด็นและนัดสืบพยานแบบต่อเนื่อง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์: ต้องปฏิบัติตามก่อนแล้วค่อยโต้แย้งด้วยการฎีกาหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วันนับแต่วันรับหมายนั้น เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์และคำขอให้บังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากในคดีชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงป่าไม้เขตแพร่ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่จำเลยที่ 1 ยืมมานั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เอง กรณีเช่นนี้ถือว่ามิใช่เป็นการยืม แต่เป็นการนำทรัพย์สินของตนเองไปใช้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่มิได้ยกข้อนี้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ กลับยกข้ออ้างขึ้นใหม่ว่ารถยนต์บรรทุกดังกล่าวไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันไฟป่า ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสี่มิได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ชอบอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยืมหรือเช่ามาใช้เป็นการชั่วคราว จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การโต้แย้งคำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการประวิงคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง (2) ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยยื่นคำแถลงไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลก่อนฟ้องคดีแรงงาน: นายจ้างต้องวางเงินตามจำนวนที่โต้แย้ง หรือชำระส่วนที่ไม่โต้แย้งก่อน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาลซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือบางส่วนก็ได้ และในกรณีที่เป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเพียงบางส่วน นายจ้างจะต้องชำระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นเงินรวม 90,512.17 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ควรจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 เพียง 6,560 บาท เท่านั้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 แต่อย่างใด ฉะนั้น หากโจทก์ต้องการนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว โจทก์ต้องนำเงินจำนวน 90,512.17 บาท ไปวางต่อศาลแรงงานก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง มิใช่วางเงินเพียง 6,560 บาท ตามที่โจทก์อ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นเงินรวม 90,512.17 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ควรจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 เพียง 6,560 บาท เท่านั้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 แต่อย่างใด ฉะนั้น หากโจทก์ต้องการนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว โจทก์ต้องนำเงินจำนวน 90,512.17 บาท ไปวางต่อศาลแรงงานก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง มิใช่วางเงินเพียง 6,560 บาท ตามที่โจทก์อ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ชอบแล้ว