คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทรเลข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5631/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้ทุนรัฐบาล: เริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การยอมรับหนี้ไม่เกิดขึ้นจากโทรเลข
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนของรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ภายใต้แผนโคลัมโบเพื่อไปศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีข้อสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องกลับมารับราชการกับโจทก์ หากไม่กลับมายอมคืนเงินค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนทันที โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2512 และโจทก์อนุมัติให้ลาศึกษาต่อที่ประเทศหกรัฐอเมริกาอีก 2 ปี หลังจากครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์ตามสัญญา ดังนี้ ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการอายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2514 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2532 จึงพ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164เดิมแล้ว
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาการที่จำเลยที่ 1 ส่งโทรเลขถึงโจทก์ว่า ได้ทราบข้อความในจดหมายแล้วจะกลับมาติดต่อกับโจทก์โดยเร็วนั้น ข้อความในโทรเลขเป็นเพียงการตอบโจทก์ว่าจะติดต่อกับโจทก์เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ และถือไม่ได้เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยว่ายอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2965/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การใช้เงินกู้ยืม และการชำระหนี้ทางโทรเลข
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไป 200,000 บาท จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วการที่จำเลยโอนเงินทางโทรเลขเข้าบัญชีของโจทก์ไม่เข้าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับ จึงเป็นการชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และนิติบุคคลต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการส่งโทรเลข
ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่บัญญัติให้ใช้พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช 2477 เท่าที่ไม่ขัดหรือแย่งกันนั้น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ดังกล่าวบัญญัติว่า "รัฐบาลไม่ต้องรับผิดในการสูญหายหรือเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งหากเกิดขึ้นเพราะเหตุที่เครื่องโทรเลขใช้การไม่สะดวก หรือพนักงานโทรเลขคนใดบกพร่องต่อหน้าที่อันเกี่ยวแก่การรับส่ง หรือการส่งมอบข่าวสารใด ๆ และพนักงานนั้น ๆ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายนั้น ๆ เว้นแต่ตนจะก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉล หรือโดยความประมาทเลินเล่อ"แสดงว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำที่เกิดจากปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของจำเลย ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่รวมถึงการที่พนักงานโทรเลขก่อให้เกิดขึ้นโดยเจตนาหรือโดยกลฉ้อฉลหรือโดยความประมาทเลินเล่อ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว
แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ก็เป็นพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาเมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่การงานโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ต้องร่ามรับผิดด้วย
การที่โจทก์ได้รับความเศร้าโศกเสียใจ เนื่องจากได้รับโทรเลขที่จำเลยที่ 1ปรุข้อความผิดเป็นว่าบุตรสาวโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วนั้น ความเศร้าโศกเสียใจของโจทก์เป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อทราบข่าวร้าย ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิโจทก์เรียกค่าเสียหายในเรื่องนี้ได้