พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนการกระทำผิดเจ้าพนักงานและโทษจำกัด
จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 161 อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 6 ปี 8 เดือน ส่วนมาตรา 162อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 4 ปี 8 เดือน อายุความฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 95(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: แยกความผิดเป็นกรรมต่างได้ หากมีโทษไม่เกินอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328,83ต่อศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องแยกเป็น3ข้อแต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา15ประกอบด้วยมาตรา22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ตามฟ้องข้อ1นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ2และข้อ3จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน200,000บาทเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพผูกพัน-โทษจำกัดตามกฎหมาย: ศาลฎีกาไม่ปรับโทษลดลง
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้อง ฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยมีเจตนากระทำผิดดัง โจทก์ฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ต้องห้าม ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยฐาน นำเงินตราไทยออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัตศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักกว่าพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ต้องด้วย พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 โดย กฎหมายมาตรานี้บัญญัติเกี่ยวกับโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดว่า...สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่ง ได้ รวมค่าอากรด้วย แล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปีหรือทั้งปรับทั้งจำ คดีนี้ศาลชั้นต้นปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของจำนวน เงินตรา ที่นำออกไปนอกราชอาณาจักรตาม กฎหมายแล้ว ซึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวมิได้ให้ดุลพินิจ ศาลที่จะใช้ อำนาจปรับให้น้อยกว่านั้นหรือเป็นอย่างอื่นได้ ศาลฎีกาไม่อาจปรับให้น้อยลง หรือลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับต้องมีคำสั่งชัดเจน หากศาลไม่สั่งกักขังเกินหนึ่งปี แม้ปรับเกินสองหมื่นบาท และการคำนวณค่าปรับตามกฎหมายศุลกากร
การกักขังแทนค่าปรับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ศาลมีอำนาจให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีได้แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้งหากศาลไม่ได้สั่งไว้โดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891-893/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษรวมคดีหลายสำนวน ศาลมีดุลยพินิจจำกัดโทษไม่เกิน 20 ปี และประเด็นการจดบัญชี
ลงโทษหลายคดีไม่เกิน 20 ปีอยู่ในดุลยพินิจของศาล