พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ายาเสพติด: การพิจารณาโทษจำเลยชาวไทยใหญ่ อ่อนทางความคิด และโทษสถานหนักจากปริมาณยา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสุดท้ายที่แก้ไขใหม่ไม่มีผลย้อนหลังไปกระทบกระทั่งถึงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่เจ้าพนักงานผู้จับได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 226 โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามกฎหมายเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีเสพยาเสพติด โดยคำนึงถึงกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และสิทธิในการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 19 ผู้ติดยาเสพติดที่จะได้รับการพิจารณาเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะต้องเป็นเพียงผู้ต้องหา มิใช่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลแล้ว
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่า โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่กฎหมายเดิมมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นได้ว่า โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เบากว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิม โทษจำคุกตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่า ส่วนโทษปรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าขั้นต่ำตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ต่อการพิจารณาโทษจำเลย และอำนาจศาลในการลงโทษจากคำรับสารภาพ
พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้นั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลล่างทั้งสอง จึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายืนโทษจำเลยคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร โดยศาลฎีกาเห็นว่าการรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนัก และไม่มีเหตุให้แก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงฟังไม่ขึ้น โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกระทงจากเหตุการณ์เดียวกัน: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีฆ่าและพยายามฆ่า
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตายกระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกันและกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่า ผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลย มีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้องแต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยในคดีอาญา โดยคำนึงถึงการล้างมลทิน และพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด
จำเลยกระทำผิดและเคยต้องโทษ ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 และพ้นโทษไปก่อนแล้ว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมพรรษา 60 พรรษา พ.ศ. 2530 มาตรา 4 ถือว่าจำเลยไม่เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าวจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการเข้าใจผิดเรื่องชู้: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ผู้เสียหายกับภริยาจำเลยเคยลักลอบได้เสียกันในทุ่งนามาแล้ว 2 ครั้ง ผู้ใหญ่บ้านได้เรียกผู้เสียหายมาว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้งผู้เสียหายก็รับปากว่าจะเลิกคบชู้กับภริยาจำเลย หากไม่เลิกยอมให้จำเลยยิงในวันเกิดเหตุจำเลยเห็นผู้เสียหายอยู่ตามลำพังกับภริยาจำเลยในป่าละเมาะจำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายกับภริยาจำเลยลักลอบเป็นชู้กันอีก จำเลยจึงเกิดโทสะใช้ปืนยิงผู้เสียหายดังนี้ เป็นการที่จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายลักลอบเป็นชู้กับภริยาจำเลยอีก อันเป็นการข่มเหงจำเลยด้วยเหตุร้ายแรงอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากปล้นทรัพย์เป็นชิงทรัพย์ และการพิจารณาโทษจำเลยทั้งสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่ายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จึงมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปล้นทรัพย์โดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสำหรับข้อหาปล้นทรัพย์ไม่ได้คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาชิงทรัพย์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษากลับกันมาเท่านั้น และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานปล้นทรัพย์นั้น ถือได้ว่าเป็นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาชิงทรัพย์ด้วยแล้ว เพราะการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากแก้ไขเล็กน้อย การริบของกลาง ไม่กระทบโทษจำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงว่า ไม่ริบอาวุธปืนลูกโม่พร้อมด้วยกระสุนปืน 5 นัด กับปลอกกระสุนปืน 1 ปลอกของนาย ช. ไม่ได้แก้บทแก้โทษที่ลงแก่จำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อคดีอื่น: ศาลพิพากษาให้นับโทษต่อเนื่องได้ หากปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดเจนแล้วว่าคดีก่อนหน้านั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยและขอให้นับโทษต่อจากคดีดำคดีอื่น.ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้และในคดีดำคดีอื่นในวันเดียวกัน. ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีดำคดีอื่นนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก. ศาลย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้.