พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษซ้ำซ้อนและการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในระหว่างที่คดีอาญาอีกคดีหนึ่งของจำเลยยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่จะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลฎีกายกประเด็นโทษจำคุกเป็นสองเท่า แม้ไม่มีการอุทธรณ์
จำเลยกระทำผิดในคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2544 และจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ลงโทษปรับในความผิดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 แสดงว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ก่อนที่จะต้องคำพิพากษาให้ลงโทษในคดีดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่ผู้กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบห้าปีกลับมากระทำความผิดอีกตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งซ้ำและการฟ้องซ้ำในความผิดขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
เจ้าพนักงานมีคำสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณประโยชน์จำเลยขัดขืนจนถูกฟ้องศาล ๆ ลงโทษไปแล้ว แต่จำเลยก็ยังคงไม่ยอมออกไปเจ้าพนักงานจะออกคำสั่งใหม่ให้จำเลยออกไปจากที่นั้นแล้วมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำซ้อน: การพิจารณาโทษรวมจากความผิดหลายฐานและระยะเวลา
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษมาแล้วหลายครั้งที่เปนโทษรวมความผิดหลายอย่างต่างฐานกัน+ละอัตราโทษก็มิได้แยกไว้ตามฐานความผิดว่าฐาน+มีอัตราโทษเท่าไรแน่นอนดังนี้จะเพิ่มโทษ+เลยตาม ม.74 มิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษซ้ำซ้อนในสำนวนคดี: ข้อจำกัดและเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์
ถูกลงโทษแลเพิ่มโทษในสำนวนหนึ่งแล้วจะเพิ่มโทษในอีกสำนวน 1 ได้หรือไม่ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.3-9 ฎีกาที่คู่ความอ้าง เป็นข้อกฎหมายขึ้นมานั้นจะต้องแสดงไว้ให้ชัดเจนในฎีกามิฉะนั้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีค้ามนุษย์ข้ามชาติ และการพิจารณาโทษซ้ำซ้อนจากคำพิพากษาต่างประเทศ
คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยพา ร. ผู้เสียหายจากประเทศไทยส่งออกไปนอกราชอาณาจักรยังประเทศญี่ปุ่น แล้วหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้และจัดให้อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ผู้เสียหายทำการค้าประเวณีที่สถานที่การค้าประเวณีที่ประเทศญี่ปุ่นโดยการฉ้อฉลและใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหาย เพื่อบังคับข่มขู่ให้ผู้เสียหายกระทำการค้าประเวณี หรือเพื่อสนองความใคร่หรือสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นการมิชอบ เพื่อจำเลยจะได้แสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ยินยอมและไม่สามารถขัดขืนได้ เหตุเกิดที่ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นหลายท้องที่เกี่ยวพันกัน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6, 52 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 ป.อ. มาตรา 283 การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษตามกฎหมายไทยและได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทยด้วย ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า อัยการสูงสุดมอบหมายให้พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทำการสอบสวน โดยให้พนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญาร่วมทำการสอบสวน และให้ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์หรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ดังนี้ พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ จึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15450/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและนับโทษต่อในคดียาเสพติด: ความผิดกรรมเดียวฯ และการพิจารณาโทษซ้ำซ้อน
คดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 นั้น ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กรณีฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในครั้งหลังจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่อย่างไรเพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษต่อได้ จึงนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่อย่างไรเพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษต่อได้ จึงนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาโทษซ้ำซ้อนจากความผิดเดิม, ผลกระทบจากกฎหมายใหม่ที่ยกเลิกกฎหมายเก่า, และขอบเขตความผิดฐานจำหน่ายวีดิทัศน์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ. นี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.นี้อีก ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" แม้จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ศาลรอการกำหนดโทษจำเลยในคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้ก็ไม่ใช่การกระทำความผิดเมื่อพ้นโทษในคดีก่อนแล้ว จึงไม่อาจจะวางโทษจำเลยในคดีนี้เป็นสองเท่าได้
นอกจากนี้เมื่อมี พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นได้ชัดเจนว่า แผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) และแผ่นซีดีรอมเพลง (เอ็มพี 3) รวมทั้งสิ้น 113 แผ่น ตามฟ้องเข้าลักษณะของวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องตามนิยามของคำว่าภาพยนต์ หรือเข้าลักษณะของวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น หรือคาราโอเกะที่มีภาพประกอบตามนิยามคำว่าวีดิทัศน์ แม้ในส่วนที่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับแผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) จำนวน 16 แผ่นนั้น อาจจะเข้านิยามของวีดิทัศน์ในส่วนที่เกี่ยวกับ "คาราโอเกะ" แต่ตามกฎหมายใหม่ก็บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็น "คาราโอเกะที่มีภาพประกอบ" เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่า เป็นคาราโอเกะที่มีภาพประกอบหรือไม่ กรณีจึงไม่อาจสันนิษฐานไปเองว่าเป็นคาราโอเกะที่มีภาพประกอบดังนิยามคำว่าวีดิทัศน์ตามกฎหมายใหม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องในส่วนที่อ้างว่าประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน และจำหน่ายแผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) และแผ่นซีดีรอมเพลง (เอ็มพี 3) ซึ่งบันทึกภาพและเสียงงานดนตรีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 113 แผ่น อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจเป็นการประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ได้ เมื่อตามกฎหมายใหม่มาตรา 3 (4) ให้ยกเลิกกฎหมายเก่า การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดตามกฎหมายเก่าจึงถูกยกเลิกความผิดไปทั้งยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายใหม่อีกด้วย จึงต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
นอกจากนี้เมื่อมี พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นได้ชัดเจนว่า แผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) และแผ่นซีดีรอมเพลง (เอ็มพี 3) รวมทั้งสิ้น 113 แผ่น ตามฟ้องเข้าลักษณะของวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องตามนิยามของคำว่าภาพยนต์ หรือเข้าลักษณะของวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น หรือคาราโอเกะที่มีภาพประกอบตามนิยามคำว่าวีดิทัศน์ แม้ในส่วนที่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับแผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) จำนวน 16 แผ่นนั้น อาจจะเข้านิยามของวีดิทัศน์ในส่วนที่เกี่ยวกับ "คาราโอเกะ" แต่ตามกฎหมายใหม่ก็บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็น "คาราโอเกะที่มีภาพประกอบ" เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่า เป็นคาราโอเกะที่มีภาพประกอบหรือไม่ กรณีจึงไม่อาจสันนิษฐานไปเองว่าเป็นคาราโอเกะที่มีภาพประกอบดังนิยามคำว่าวีดิทัศน์ตามกฎหมายใหม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องในส่วนที่อ้างว่าประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน และจำหน่ายแผ่นวิดีโอซีดีเพลง (คาราโอเกะ) และแผ่นซีดีรอมเพลง (เอ็มพี 3) ซึ่งบันทึกภาพและเสียงงานดนตรีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 113 แผ่น อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่อาจเป็นการประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ได้ เมื่อตามกฎหมายใหม่มาตรา 3 (4) ให้ยกเลิกกฎหมายเก่า การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดตามกฎหมายเก่าจึงถูกยกเลิกความผิดไปทั้งยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายใหม่อีกด้วย จึงต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง