คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษต่ำกว่าขั้นต่ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7800/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดร่วมกันมียาเสพติดให้โทษ ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แม้โทษต่ำกว่าขั้นต่ำตามกฎหมาย
สายลับแนะนำให้ผู้ล่อซื้อรู้จักกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 3 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 แนะนำจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้รู้จักกับผู้ล่อซื้อ ส่วนเหตุการณ์ในขณะซื้อขายเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 3 ก็อยู่ด้วยและช่วยในการเจรจา ในที่สุดตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 4 หยิบตัวอย่างเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด มาให้ดู โดยนัดหมายกันว่าจำเลยที่ 1 จะนำเมทแอมเฟตามีนที่ตกลงซื้อขายกันมาส่งมอบให้ในวันรุ่งขึ้น หลังจากจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 บอกว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมาจากบ้านของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจึงไปค้นบ้านของจำเลยที่ 1 เมื่อไปถึงพบจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ที่นั่น ผลการตรวจค้นบ้านของจำเลยที่ 1 พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 360 เม็ด บรรจุอยู่ในขวดกาแฟซุกซ่อนอยู่บริเวณข้างบ้านและยังพบโทรศัพท์มือถืออีก 1 เครื่อง ที่ตัวจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เคยใช้โทรศัพท์ดังกล่าวติดต่อกับผู้ล่อซื้อในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนตอนแรก ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 3 ก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานนี้ให้จำคุกคนละ 11 ปี ก่อนลดโทษให้จึงต่ำกว่าโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4282/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีบุกรุกป่าสงวน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษต่ำกว่าขั้นต่ำและให้รอการลงโทษโดยพิจารณาพฤติการณ์
จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง และแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธาร เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 ประกอบด้วยมาตรา 31วรรคสอง (3) ซึ่งมาตรา 31 วรรคสอง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงเป็นการลงโทษต่ำกว่าโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินป่าสงวนและปลูกบ้านอยู่อาศัยมานานแล้ว และปลูกต้นไม้และผลอาสินทำมาหากินซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อนเห็นควรให้โอกาสจำเลยได้แก้ไขฟื้นฟูตนเองในสังคมภายนอก การรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยน่าจะเป็นมาตรการที่เหมาะสมมากกว่า แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยไม่เหมาะสมก็ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225