คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษประหารชีวิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตเมทแอมเฟตามีน-ครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษาโทษประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า ผลิต หมายความว่า เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ฯลฯ เมื่อมีการผสมปรุงจนเป็นเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้อยู่ในสภาพของเหลวก็ใช้เสพได้เลย การอัดของเหลวให้เป็นเม็ดเป็นเพียงทำให้สะดวกในการซื้อขายกำหนดราคาและปริมาณในการจำหน่ายกันต่อไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษสำเร็จแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9001/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาที่มีโทษประหารชีวิต จำเป็นต้องตั้งทนายความให้จำเลย แม้จำเลยจะไม่ต้องการ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีไว้อย่างเต็มที่ แต่คดีนี้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วแต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดี จำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดีสืบพยานโจทก์เสร็จไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าทนายความของจำเลยเข้าร่วมในกระบวนพิจารณาในครั้งนั้นแต่อย่างไร ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยจึงยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนนคดี อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษประหารชีวิตในคดีอาญา ความสำคัญของคำรับสารภาพที่ให้ความรู้แก่ศาล และการรวมโทษ
ผู้ตายถูกไม้ตีที่ศีรษะจนกระโหลกแตกละเอียดและยุบ และที่เนินดินจอมปลวกเหนือศพผู้ตายมีรอยยุบลักษณะถูกศีรษะคนกระแทก แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยได้กระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไรบ้าง เพราะโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็น การที่จำเลยจับศีรษะผู้ตายกระแทกกับเนินดินจอมปลวกและใช้ไม้ตีศีรษะผู้ตายจนกระโหลกแตกละเอียด น่าเชื่อว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายในทันทีเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อให้ผู้ตายได้รับความเจ็บปวดทรมานจนกระทั่งขาดใจตาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฆ่าผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
คำรับสารภาพของจำเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่ลงแก่จำเลยได้ การพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีนี้ปรากฏว่าโจทก์มีพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุและพยานพฤติเหตุแวดล้อมแน่นหนามั่นคง โดยเฉพาะเลือดที่ติดอยู่ที่กางเกงชั้นในของจำเลยมี DNAHLADQoc ชนิด 1.2,1.2 ตรงกับผู้ตาย แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ศาลก็ได้อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงและพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยอีก ทั้งตามรูปคดีที่โจทก์นำสืบก็มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน หาใช่รับสารภาพเพราะสำนึกในความผิดไม่ คำรับสารภาพของจำเลยทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 อันจะพึงลดโทษให้แก่จำเลยได้
เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยแล้ว ก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในความผิดกระทงอื่นของจำเลยมารวมอีกได้ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) มาใช้กับกรณีที่ศาลลงโทษประหารชีวิตจำเลยในความผิดกระทงที่หนักที่สุดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพาอาวุธโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลฎีกายืนโทษประหารชีวิต
การที่จำเลยกับพวกมายืนรออยู่หน้าปากซอยที่เกิดเหตุ เมื่อผู้ตายขับรถยนต์มาจอดที่ปากซอย จำเลยก็เข้าไปใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเช่นนี้ เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้เตรียมการมาเพื่อที่จะฆ่าผู้ตายไว้ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จะฟังได้ว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและในชั้นสืบพยานจำเลย จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ว่า จำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีหรือพกพาอาวุธปืนมาก่อนก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ คงลงโทษได้เพียงฐานพาอาวุธไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกหรือประหารชีวิตสำหรับข้าราชการ/พนักงานรัฐที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษข้าราชการในคดีจำหน่ายยาเสพติด: การใช้ดุลพินิจกำหนดโทษประหารชีวิตเมื่อกฎหมายกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิต
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มาตรา 100 บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตเมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มลดโทษและวิธีคำนวณที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่ผิดพลาด
ปัญหาเรื่องวิธีเพิ่มโทษและการคำนวณลดโทษเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยย่อมยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้และแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจจะยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 ในการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงให้ศาลตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มหรือลด ถ้า มีทั้งการเพิ่มและการลดโทษที่จะลง ให้เพิ่มก่อนแล้วจึงลดจากผลที่เพิ่มแล้วนั้นเมื่อศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 แล้ว แม้โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ศาลก็เพิ่มโทษ จำเลยที่ 1 อีกมิได้เพราะเป็นโทษประหารชีวิตจึงคงต้องลดโทษให้จำเลยที่ 1 สถานเดียวจะไม่เพิ่มไม่ลดเพราะเหตุที่ส่วนของการเพิ่มเท่ากับส่วนของการลดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษประหารชีวิตและลดโทษจากรับสารภาพ: ข้อจำกัดในการเพิ่มโทษตามมาตรา 340 ตรี
การกระทำของจำเลยทั้งสองต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้าย มาตรา 340 ตรี ซึ่งมาตรา 340 ตรีเป็นเรื่องที่จะต้องวางโทษจำเลยหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่งหาใช่เป็นเรื่องการเพิ่มโทษไม่ สำหรับคดีนี้จำเลยทั้งสองได้รับโทษถึงประหารชีวิตตามมาตรา 340 วรรคท้าย แล้วจึงไม่อาจวางโทษให้หนักขึ้นกว่านี้อีกกึ่งหนึ่งได้กรณีไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 มาปรับแก่คดีนี้ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพอันเป็นเหตุบรรเทาโทษก็ต้องลดโทษให้จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิต: ศาลมีอำนาจลงโทษต่ำกว่า 12 ปีได้
โทษกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิต คือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 12 ปีถึง20 ปี แต่การลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิตนั้น มิใช่ว่าจะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 12 ปีไม่ได้ การที่ศาลลงโทษจำคุก 10 ปี ก็เป็นการลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษประหารชีวิต
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฆ่าโดยทารุณโหดร้ายจากการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกายืนโทษประหารชีวิตจำเลย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเองเป็นผู้ใช้มีดเชือดคอเด็กหญิงอายุ 5 ขวบถึงแก่ความตาย และจำเลยยังร่วมกับจำเลยอื่นกระทืบเด็กชายอายุ 8 เดือน ทั้งได้ใช้ผ้าอุดจมูกจนหายใจไม่ออกตาย นอกจากนี้ยังใช้ยาพิษกรอกปากกับใช้มีดเชือดคอมารดาของเด็กทั้งสองผู้ตายจนหลอดเสียงขาดเพื่อจะฆ่าให้ตายด้วย การกระทำของจำเลยดังกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289
of 2